WHO : การผลิตยาสูบส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมมหาศาล



คอลัมน์คุณหมอนักต่อสู้

WHO... เผยการผลิตยาสูบส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมมหาศาล

5 มิถุนายน เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก "การผลิตยาสูบเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมมหาศาลอย่างไร?) ในคอลัมน์นี้ มีข้อมูลสำคัญนำมาฝากตั้งแต่กระบวนการปลูกจนถึงกระบวนการผลิต มาสู่การบริโภคทุกขั้นตอนเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น.. * การทำไร่ยาสูบต้องใช้ต้นไม้ 11.4 ล้านตันต่อปีในการบ่มใบยา ซึ่งประมาณเท่ากับต้องใช้ต้นไม้ 1 ตันต่อการผลิตบุหรี่ซิกาแรท 300 มวน ทำให้ต้องมีการใช้ฟืนภายในประเทศเป็นจำนวนมาก

   

โดยส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกคำนวณเป็นต้นทุนของการผลิต เช่น ในประเทศมาลาวี ซิมบับเวย์ และฟิลิปปินส์ เป็นสาเหตุหนึ่งของการทำลายป่า

* การทำไร่ยาสูบต้องใช้ปุ๋ยเป็นจำนวนมากกว่าการปลูกพืชชนิดอื่น เนื่องจากต้นยาสูบต้องการในโตรเจน ฟอสฟอรัสเป็นจำนวนมาก ทำให้สภาพดินเสื่อมเร็วยิ่งขึ้น
* ผู้สูบบุหรี่ หนึ่งพันล้านคน สูบบุหรี่ 6.25 ล้านล้านมวนทั่วโลกต่อปี ทำให้เกิดควันที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญ
* แต่ละปีมีขยะจากผลิตภัณฑ์ยาสูบ 340 ถึง 680 ล้านกิโลกรัม ถูกทิ้งเข้าสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งขยะเหล่านี้มีสารพิษหลายร้อยชนิด รวมทั้งสารก่อมะเร็ง ที่ปนเปื้อนและสะสมในสิ่งแวดล้อม
* แต่ละปี มีการใช้กระดาษ เซลโลเฟน ก้นกรอง 2 ล้านตันในการผลิตบุหรี่ กลายเป็นขยะตามถนน ลำคลอง แม่น้ำ
* สารพิษจากก้นบุหรี่ที่มีทั้งนิโคติน อาเซนิค และโลหะหนัก จากขยะบุหรี่จะปนเปื้อนในแหล่งน้ำเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ เช่น ปลา
* บริษัทผู้ผลิตบุหรี่ยอมรับว่า ขบวนการผลิตยาสูบเป็นขั้นตอนที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด
* โครงการสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ สรุปว่า อุตสาหกรรมหลายประเภท รวมทั้งการผลิตยาสูบ หากมีการรวมมูลค่าผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย และให้ผู้ผลิตยาสูบรับผิดชอบ จะเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่สามารถที่จะมีกำไรในการประกอบธุรกิจ
* บริษัทบุหรี่ข้ามชาติพยายามลดต้นทุนในการประกอบการ โดยการย้ายการทำไร่ยาสูบจากประเทศที่มีรายได้สูง มาอยู่ในประเทศที่มีรายได้น้อย ทำให้ปัจจุบันนี้ ร้อยละ 90 ของการทำไร่ยาสูบ อยู่ในประเทศที่รายได้น้อย ผลเสียของการทำไร่ยาสูบจึงตกอยู่กับประเทศที่ยากจน
* ไม่มีคำว่า "ความเป็นกลาง" ต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับการทำธุรกิจยาสูบ บริษัทบุหรี่พยายามที่จะไม่กล่าวถึง หรือพยายามปกปิดความสูญเสียต่อสิ่งแวดล้อมที่แท้จริง และจุดยืนของบริษัทบุหรี่ คือ ขยะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นความรับผิดชอบของผู้สูบบุหรี่
* การที่บริษัทบุหรี่ไม่ต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม จากขบวนการผลิตยาสูบ และผลักภาระความเสียหายนี้ให้แก่ผู้เสียภาษี เท่ากับบริษัทบุหรี่ได้ประโยชน์จากการสนับสนุนของสังคมอย่างแอบแฝง

อ้างอิงข้อมูล : มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ วันที่ 8 มิถุนายน 2560

topic

  • เยาวชนอาเซียนผนึกกำลัง ร่วมกันสร้างสังคมอาเซียนปลอดบุหรี่
  • "สื่อมวลชนกระบี่อาสาฯ รวมพลังหยุดภัยบุหรี่"
  • "กลยุทธ์บริษัทบุหรี่ในประเทศเวียดนาม"
  • WHO : การผลิตยาสูบส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมมหาศาล
  • "บุหรี่" เลิกยาก...แต่เลิกได้
  • "รพ.จุฬาฯ จัดเขตปลอดบุหรี่"
  • พิธีอุปสมบท "เลิกบุหรี่ สร้างสุขภาพดี เป็นราชพลี ถวายองค์ราชัน"
  • สัมมนาสื่อมวลชน สถานีวิทยุกระจายเสียง ทบ. 1
  • ภารกิจ "End Game" เพื่อชาว Gen Z Strong : คนรุ่นใหม่ไม่สูบบุหรี่
  • อปท. : คืออนาคตและความหวังการควบคุมยาสูบในท้องถิ่น
  • 20th Century Women
  • “ลมหายใจดี ปลอดควันบุหรี่ตั้งแต่เริ่มเดินทาง” นครนายกสู่การเป็นจุดเริ่มต้นแห่งสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน
  • โรงเรียน กทม.ดูแลนักเรียนดุจลูกหลาน มุ่งเป็นโรงเรียนสีขาวปลอดอบายมุข
  • บุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัย-ไร้อันตราย เป็นเพียงวาทกรรมของบริษัทบุหรี่เท่านั้น
  • สสส. และสถาบันยุวทัศน์ ฯ จับมือศูนย์การเรียน 6 แห่ง บรรจุเนื้อหาภัยบุหรี่ไฟฟ้าในหลักสูตร
  • รวมพลัง ร่วมกันสร้างสิ่งแวดล้อมปลอดบุหรี่ : บุหรี่ทำลายสิงแวดล้อม
  • “ลมหายใจดี ปลอดควันบุหรี่ตั้งแต่เริ่มเดินทาง” นครนายกสู่การเป็นจุดเริ่มต้นแห่งสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน
  • เลิกสูบ ...คุณทำได้ เพื่อลูก เพื่อคนที่รัก
  • ผวจ.แม่ฮ่องสอนลงนามสถานที่สาธารณะปลอดบุหรี่
  • พศจ.ชัยนาท ร่วมกับศูนย์ข่าวปลอดควันจังหวัดชัยนาท ประกาศให้ทุกวัดในจังหวัดปลอดบุหรี่
  • ชวนเรียนรู้สนุก สาระจัดเต็มผ่านเว็บไซต์ Tyiquiz.Com ในหัวข้อ “ผลกระทบจากการสูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า”
  • บุหรี่ส่งผลต่อสมรรถภาพทางเพศ
  • 5 ดาราชาย แบบอย่างวัยรุ่นยุคใหม่ ไม่ยุ่งเกี่ยวบุหรี่และเหล้า
  • คผยจ. ร้อยเอ็ด ขับเคลื่อนงานงดเหล้า ลดนักสูบหน้าใหม่
  • สื่อมวลชนตาก ขับเคลื่อน "กาดนั่งยองคล้องย่าม"
  • จับมือ 5 มหาวิทยาลัย ร่วมสร้างสุขภาพดีในกลุ่มนิสิตนักศึกษา