ม.มหิดลประกาศนโยบาย “งดรับทุนทุกรูปแบบจากบริษัทบุหรี่และเครือข่ายของบริษัทบุหรี่”



คอลัมน์ : จับกระแส

ม.มหิดลประกาศนโยบาย

“งดรับทุนทุกรูปแบบจากบริษัทบุหรี่และเครือข่ายของบริษัทบุหรี่”

มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดให้มีการแถลงข่าว “เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพมหาวิทยาลัยมหิดลร่วมใจสร้างจุดยืนไม่รับทุนวิจัยและการสนับสนุนจากบริษัทบุหรี่” โดยมีการให้ข้อมูลและร่วมประกาศเจตนารมณ์เพื่อสร้างระบบธรรมาภิบาลภายในองค์กร ที่จะงดรับทุนจากบริษัทบุหรี่ทุกรูปแบบ ณ ห้องประชุม บุญศิริ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา

ศ.นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า มหาวิทยาลัยมหิดลเล็งเห็นถึงปัญหาการแทรกแซงของบริษัทบุหรี่และองค์กรที่เกี่ยวข้อง ในการเข้ามาสร้างความสัมพันธ์ ผ่านการให้ทุนการทำวิจัย การศึกษาดูงาน และการอุปถัมภ์อื่น ๆ ที่จะนำมาซึ่งผลประโยชน์ทับซ้อนในการดำเนินกิจการหลักของมหาวิทยาลัย ในการผลิตข้อมูลความรู้และชี้นำสังคมอย่างเป็นกลาง มีอิสระทางวิชาการ มหาวิทยาลัยจึงจัดการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน เพื่อประกาศว่า “มหาวิทยาลัยมหิดลไม่ร่วมมือกับบริษัทบุหรี่และเครือข่ายของบริษัทบุหรี่ในการดำเนินกิจกรรมใด ๆ ทั้งสิ้น” และจะถือโอกาสเชิญชวนมหาวิทยาลัยทุกแห่งในประเทศไทย มาร่วมกันแสดงเจตนารมณ์ที่จะไม่ร่วมมือกับบริษัทบุหรี่เช่นกัน

รศ.ดร.นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ รองอธิการบดี ฝ่านวิเทศสัมพันธ์ และสื่อสารองค์กร ให้ข้อมูลเพิ่มเติมถึงนโยบายของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่เน้นย้ำบทบาทของการเป็นมหาวิทยาลัยที่มีพันธกิจสำคัญในการให้ความรู้ทางด้านสุขภาพและยังยึดมั่นในการช่วยสื่อสารกับสังคมเพื่อรณรงค์การไม่รับทุนจากบริษัทยาสูบในกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยมหิดลจะขับเคลื่อนการเผยแพร่ความรู้และข้อมูลทั้งภายในมหาวิทยาลัยและภายนอกมหาวิทยาลัยเพื่อต่อยอดการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งสุขภาพ (Healthy University)

ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ประธานมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า ในประเทศไทย มีพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 มาตรา 35 ที่ห้ามผู้ประกอบการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ให้การอุปถัมภ์ บุคคล กลุ่มบุคคล หน่วยการของรัฐ ซึ่งรวมถึงมหาวิทยาลัยด้วย การประกาศงดรับทุนทุกรูปแบบจากบริษัทบุหรี่จึงสอดคล้องกับกฎหมายไทย

นางบังอร ฤทธิภักดี ผู้อำนวยการศูนย์ธรรมาภิบาลในการควบคุมการบริโภคยาสูบ กล่าวว่า การที่มหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วโลก ประกาศไม่ร่วมมือทุกรูปแบบกับบริษัทบุหรี่นี้ เป็นไปตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ (Framework Convention on Tobacco Control; WHO FCTC) ซึ่งเป็นกฎหมายระหว่างประเทศฉบับแรกที่องค์การอนามัยโลกจัดทำขึ้นเพื่อช่วยในการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบอันเป็นสินค้าที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งคร่าชีวิตคนทั่วโลกถึงปีละ 8 ล้านคน

ที่มา : https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2631424

SMART NEWS เผยแพร่ 22 มีนาคม 2564

topic

  • พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ฉบับใหม่ พ.ศ.2560
  • ไม่สูบบุหรี่ในบ้าน : เลิกสูบง่ายขึ้น
  • ควันบุหรี่ในหนังอังกฤษ 2 เรื่อง
  • บทบาทสำคัญของ อสม.กับการรณรงค์และช่วยคนเลิกบุหรี่
  • วันละมวน เสี่ยงสารพัดโรคเท่าสิงห์อมควัน
  • สร้าง อสม.รุ่นจิ๋ว ช่วยเลิกบุหรี่ในผู้สูงอายุ
  • กิจกรรมเฝ้าระวังและเปิดโปงกลยุทธ์บริษัทบุหรี่ในภูมิภาคอาเซียน
  • เทศบาลเมืองกระบี่ จับมือภาคีเครือข่าย หนุนต้นแบบปลอดบุหรี่เป็นรูปธรรม
  • ชมรมฟุตบอลปลอดบุหรี่
  • "กล้าทำดี" รายการสำหรับวัยรุ่นวัย Gen Z
  • ศิลปินแบบอย่าง คนรุ่นใหม่ไม่สูบบุหรี่
  • พัฒนาศักยภาพเยาวชน สู่ ผู้นำเยาวชน รู้ทันบริษัทบุหรี่
  • โรงเรียนวัดปากบ่อ เคลื่อนงาน 7 มาตรการเพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่ 100 เปอร์เซ็นต์
  • สพม.เพชรบูรณ์ ร่วมกับจุดจัดการเพชรบูรณ์ เพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่ มอบโล่ประกาศเกียรติคุณให้กับโรงเรียน 47 แห่ง
  • GenZ Academy 4 : Creative คลิปอย่างไรให้ปัง โดนใจ GenZ
  • ม.มหิดลประกาศนโยบาย “งดรับทุนทุกรูปแบบจากบริษัทบุหรี่และเครือข่ายของบริษัทบุหรี่”
  • ดูหรือยัง !! รายการ “ฮัลโหล..เพื่อน” สาระบันเทิงร่วมสร้างคนรุ่นใหม่รักสุขภาพ
  • ท้องถิ่นปลอดบุหรี่ ปลอดบุหรี่ทั่วท้องถิ่นไทย
  • ชวนวัยรุ่นนักดื่มและนักสูบ “ลด ละ เลิก” เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
  • ประกาศเจตนารมณ์ คนไทยไม่เอาบุหรี่ไฟฟ้า ภาคเหนือและภาคใต้