รู้เขา รู้เรา รู้ปัญหาพื้นที่ แก้ปัญหา 100 ครั้ง ตรงจุดทุกครั้ง



คอลัมน์​ : อปท.เพื่อชุมชนปลอดบุหรี่

รู้เขา รู้เรา รู้ปัญหาพื้นที่ แก้ปัญหา 100 ครั้ง ตรงจุดทุกครั้ง

ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมามูลนิธิรณรงค์ฯ มีภารกิจสำคัญหนึ่งในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้กำหนดนโยบายในระดับท้องถิ่น ขับเคลื่อนงานควบคุมการบริโภคยาสูบ เพื่อลดอัตราการสูบบุหรี่ที่ยังมีอยู่สูงในแต่ละพื้นที่ โดยมีการวางแผนการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมต่อเนื่องและยั่งยืน ทั้งนี้ได้ร่วมกับทีมนักวิชาการ พัฒนาหลักสูตร “การควบคุมการบริโภคยาสูบในระดับท้องถิ่น” ขึ้น ประกอบไปด้วย 3 กิจกรรม ดังนี้

1) อบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้เครื่องมือเพื่อจัดเก็บข้อมูลสถานการณ์การสูบบุหรี่ของพื้นที่

2) อบรมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาแผนปฏิบัติการจากฐานข้อมูลสถานการณ์การสูบบุหรี่เฉพาะของพื้นที่

3) เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดำเนินโครงการ

และเมื่อวันที่ 3 - 4 สิงหาคม และ 17-18 สิงหาคม ที่ผ่านมา มูลนิธิฯ ได้เปิดให้องค์กรปกครองท้องถิ่น (อปท) เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้เครื่องมือเพื่อจัดเก็บข้อมูลสถานการณ์การสูบบุหรี่ของพื้นที่ ทั้งนี้เกิดจากประสบการณ์การขับเคลื่อนโครงการที่ผ่านมา พบว่า การกำหนดแผนปฏิบัติการที่พัฒนาจากข้อมูลเฉพาะเกี่ยวกับสถานการณ์การสูบบุหรี่ของพื้นที่นั้น จะนำไปสู่การแก้ปัญหาที่สอดรับกับบริบทของพื้นที่ได้จริง รวมทั้งการวางแผนอย่างเป็นระบบในการวัดผลสำเร็จที่มีประสิทธิภาพด้วย โดยเครื่องมือที่ใช้เพื่อประเมินความสำเร็จในการดำเนินงานควบคุมการบริโภคยาสูบระดับพื้นที่ (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) ประกอบด้วย 3 ส่วน

1. แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการสูบบุหรี่

2. แบบสังเกตการปฏิบัติตามกฎหมายของร้านค้า/สถานที่จำหน่ายบุหรี่ (โดยวิธีการสังเกต)

3. แบบสังเกตสถานที่สาธารณะปลอดบุหรี่ (โดยวิธีการสังเกต) อย่างไรก็ตามตลอดการอบรม วิทยากรหลัก ได้แก่ ผศ.ดร.ศรัณญา เบญจกุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, อาจารย์ ดร.สาโรจน์ นาคจู คณะสาธารณะสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และ นายอภิชาติ ธัญญาหาร กองสถิติสังคม สำนักงานสถิติแห่งชาติ

ได้เน้นย้ำปัญหาสำคัญของการเก็บข้อมูล ที่มักพูดกันเสมอว่า “ใส่ขยะเข้าไป ก็จะได้ขยะออกมา” หมายถึง หากเก็บข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ไม่มีคุณภาพ ผลของข้อมูลย่อมไม่ถูกต้อง และไม่มีคุณภาพตามไปด้วย เพื่อย้ำเตือนให้ผู้เก็บข้อมูลระมัดระวังในทุกกระบวนการเก็บข้อมูล ให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพ และเมื่อได้ผลออกมา สามารถนำไปพัฒนาเป็นแผนงานแก้ปัญหาการสูบบุหรี่ในพื้นที่จริง

 

ข้อมูลโดย : อุรพี จุลิมาศาสตร์

Smartnews เผยแพร่วันที่ 26 สิงหาคม 2563

topic

  • "ปฏิญญาร่วมกัน" สร้างสังคมปลอดบุหรี่
  • ศูนย์เยาวชน Gen Z ภาคตะวันออกชี้แจงแนวทางปฏิบัติตามกฎหมายบุหรี่ใหม่
  • ฉากบุหรี่ในหนัง จำเป็นไหม?
  • "เลิกได้ ถ้าใจพร้อม"
  • รวมพลังสร้างครอบครัวไทย ให้ปลอดบุหรี่
  • "โคราช 2+7 คุ้มครองเด็กและเยาวชน"
  • "มะเร็งปอด ยังคงครองแชมป์"
  • "สื่อสร้างสรรค์สังคมไทย โดยเยาวชนเพื่อเยาวชน"
  • เขามากับสายฝน
  • เขามากับสายฝน (ตอนจบ)
  • พัฒนาสื่อมวลชนส่วนภูมิภาคให้เป็นนักขับเคลื่อนนโยบายด้านการควบคุมการบริโภคยาสูบ
  • เมืองพัทยาประกาศ “พัทยาปลอดบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า และกัญชาในสถานศึกษา”
  • 69 องค์กรสื่อ จาก 4 ภาค ผนึกกำลังขับเคลื่้อนงานรณรงค์ไม่สูบบุหรี่
  • รวมพลคนพันธ์ุ GenZ กทม. รู้กฎหมาย เฝ้าระวังบุหรี่ไฟฟ้า
  • พัฒนาทักษะการเฝ้าระวังและบังคับใช้กฎหมายควบคุมการบริโภคยาสูบ โดยกลไกของ อปท.
  • ตลกหญิง ป่วยเป็นมะเร็งปอด ทั้งที่ไม่เคยสูบบุหรี่
  • พัฒนาศักยภาพนักเรียน สังกัด สพม.เขต 1 กรุงเทพมหานคร
  • ลงนามความร่วมมือ (MOU) รณรงค์สวนพฤกษาสวรรค์ จังหวัดกระบี่เป็นเขตปลอดบุหรี่
  • 3 เเสนคนทำได้เเล้ว คุณรออะไรอยู่? "เลิกสูบ คุณทำได้"
  • 5 เหตุผลที่ทำให้เรารู้สึกเหนื่อยตลอดเวลา
  • "5 ตลาด ในเทศบาลเมืองชุมพร ปลอดบุหรี่"
  • ตลาดเกษตรกร จังหวัดราชบุรี ใส่ใจสุขภาพผู้ใช้บริการ ประกาศเป็นเขตปลอดบุหรี่
  • รู้เขา รู้เรา รู้ปัญหาพื้นที่ แก้ปัญหา 100 ครั้ง ตรงจุดทุกครั้ง
  • มะเร็งลิ้น เป็นอย่างไร?
  • พัฒนาแกนนำ Gen Z Gen Strong 39 โรงเรียนปลอดบุหรี่ ในเพชรบูรณ์
  • โครงการชู "อ่าวมะนาว" เป็นแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบ ปลอดภัยถูกกฎ ลดเสี่ยง บุหรี่ สุรา
  • "สสส.ถอดบทเรียนสู้ภัยเหล้า/บุหรี่ปกป้องเยาวชน โมเดลรณรงค์เลิกบุหรี่ในโรงเรียน"
  • สสส.พุ่งเป้ามหาวิทยาลัย ไร้คณะแพทย์ปลอดบุหรี่ 100% ปี 64