อินโดนีเซียเข้าร่วมสัญญาควบคุมยาสูบ

มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่                    

ACTION  ON  SMOKING  AND  HEALTH  FOUNDATION

คำอธิบาย: logo-smoke

Press Release

ศูนย์ข่าว มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่

วันที่  22 พฤศจิกายน 2556
วันที่ข่าวตีพิมพ์  สามารถเผยแพร่ได้ทันที

อินโดนีเซียเข้าร่วมสัญญาควบคุมยาสูบ

          มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่  เปิดเผยข่าวที่รัฐมนตรีสาธารณสุขอินโดนีเซีย นาฟเซียห์    เอ็มบอย  ประกาศว่าอินโดนีเซียจะลงสัตยาบันอนุสัญญาควบคุมยาสูบ  องค์การอนามัยโลกในสิ้นปีนี้

            ทั้งนี้อินโดนีเซียเป็นประเทศเดียวในอาเซียนและเป็นหนึ่งใน 19 ประเทศในโลกที่ยังไม่ได้ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาควบคุมยาสูบโลก  ซึ่งขณะนี้มี 177 ประเทศทั่วโลกซึ่งครอบคลุมร้อยละ 87.9 ของประชากรโลกได้ให้สัตยาบันแล้ว  และมี 19 ประเทศที่ยังไม่ได้ลงสัตยาบัน  โดยในหกภูมิภาคขององค์การอนามัยโลก  มีภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกตะวันตกที่ลงสัตยาบันครบทุกประเทศ  ภูมิภาคอเมริกายังไม่ลงสัตยาบัน 6 ประเทศ ได้แก่ อาเจนตินา  คิวบา  โดมินีกันรีพับบลิค เอลซัลวาดอลร์ ไฮติและสหรัฐอเมริกา  ภูมิภาคอัฟริกามี 5 ประเทศได้แก่ เอธิโอเปีย  มาลาวี  โมซัมบิค  ซิมบับเวย์ และ อิริเทรีย  ภูมิภาคเอ็มโร ได้แก่ โทรอคโค  โซมาเรีย  และซูดานโต้ ภูมิภาคยุโรป 4 ประเทศ ได้แก่ แอนดอรา  ลิชเทนสไตน์ โมนาโคและสวิสเซอร์แลนด์ และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้แก่อินโดนีเซีย

            ศ.นพ.ประกิต  วาทีสาธกกิจ  เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่  กล่าวว่า  เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่อินโดนีเซียจะลงสัตยาบันอนุสัญญาควบคุมยาสูบฯ  เพราะจะทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นรัฐภาคีอนุสัญญาครบทุกประเทศ  ทำให้ความร่วมมือในการควบคุมยาสูบของภูมิภาคอาเซียนมความเป็นเอกภาพมากยิ่งขึ้น เพราะที่ผ่านมา  อินโดนีเซียจะเข้าร่วมประชุมเวทีอนุสัญญาในฐานะประเทศผู้สังเกตการณ์  ทำให้มีบทบาทส่วนร่วมน้อย  ซึ่งประเทศที่ร่วมลงสัตยาบันมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติมาตรการต่าง ๆ ของอนุสัญญาเพื่อคุ้มครองสุขภาพทั้งชนรุ่นปัจจุบันและในอนาคตจากอันตรายร้ายแรงของยาสูบ   การลงสัตยาบันจะเป็นประโยชน์ต่ออินโดนีเซียเองที่ขณะนี้มีผู้สูบบุหรี่ถึง 60 ล้านคน  สูงมากเป็นอันดับที่สามของโลก       รองจากจีนที่มีผู้สูบบุหรี่กว่า 300  ล้านคน  และอินเดียที่สูบบุหรี่ 130 ล้านคนและเคี้ยวยาเส้น 90 ล้านคน 

ศ.นพ.ประกิต  กล่าวเพิ่มเติมว่าสำหรับเหตุผลที่การลงสัตยาบันของอินโดนีเซียล่าช้าเพราะก่อนหน้านี้มีสามกระทรวงหลักที่คัดค้าน อันได้แก่ กระทรวงการค้า  กระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงทรัพยากรมนุษย์  โดยเกรงง่าการลงสัตยาบันจะกระทบต่อชาวไร่ยาสูบและรายได้ของรัฐ  โดยมีบริษัทบุหรี่ข้ามชาติยุยงอยู่เบื้องหลัง  แต่ปัจจุบันนี้ทุกกระทรวงได้เห็นด้วยกับการลงสัตยาบันแล้ว  เพื่อประโยชน์ในการลดผลกระทบด้านสุขภาพของชาวอินโดนีเซียจากการสูบบุหรี่               ที่มีสภาวะรุนแรงในอันดับต้น ๆ ของโลกในขณะนี้    โดยเพศชายสูบบุหรี่ 6.1 % เพศหญิง 5%  และยาสูบเป็นสาเหตุการเสียชีวิตหนึ่งในห้าของเพศชายอินโดนีเซีย

ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ :

ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่

โทร. 0-2278-1828 / 08-1822-9799