WHO : การผลิตยาสูบส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมมหาศาล

คอลัมน์คุณหมอนักต่อสู้ 

5 มิถุนายน เป็นวันส่ิงแวดล้อมโลก  "การผลิตยาสูบเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมมหาศาลอย่างไร?)  ในคอลัมน์นี้ มีข้อมูลสำคัญนำมาฝากตั้งแต่กระบวนการปลูกจนถึงกระบวนการผลิต มาสู่การบริโภคทุกขั้นตอนเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น..

* การทำไร่ยาสูบต้องใช้ต้นไม้ 11.4 ล้านตันต่อปีในการบ่มใบยา ซึ่งประมาณเท่ากับต้องใช้ต้นไม้ 1 ตันต่อการผลิตบุหรี่ซิกาแรท 300 มวน ทำให้ต้องมีการใช้ฟืนภายในประเทศเป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกคำนวณเป็นต้นทุนของการผลิต เช่น ในประเทศมาลาวี ซิมบับเวย์ และฟิลิปปินส์ เป็นสาเหตุหนึ่งของการทำลายป่า

* การทำไร่ยาสูบต้องใช้ปุ๋ยเป็นจำนวนมากกว่าการปลูกพืชชนิดอื่น เนื่องจากต้นยาสูบต้องการในโตรเจน ฟอสฟอรัสเป็นจำนวนมาก ทำให้สภาพดินเสื่อมเร็วย่ิงขึ้น 

* ผู้สูบบุหรี่ หนึ่งพันล้านคน สูบบุหรี่ 6.25 ล้านล้านมวนทั่วโลกต่อปี ทำให้เกิดควันที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญ

* แต่ละปีมีขยะจากผลิตภัณฑ์ยาสูบ 340 ถึง 680 ล้านกิโลกรัม ถูกทิ้งเข้าสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งขยะเหล่านี้มีสารพิษหลายร้อยชนิด รวมทั้งสารก่อมะเร็ง ที่ปนเปื้อนและสะสมในสิ่งแวดล้อม 

* แต่ละปี มีการใช้กระดาษ เซลโลเฟน ก้นกรอง 2 ล้านตันในการผลิตบุหรี่ กลายเป็นขยะตามถนน ลำคลอง แม่น้ำ 

* สารพิษจากก้นบุหรี่ที่มีทั้งนิโคติน อาเซนิค และโลหะหนัก จากขยะบุหรี่จะปนเปื้อนในแหล่งน้ำเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ เช่น ปลา 

* บริษัทผู้ผลิตบุหรี่ยอมรับว่า ขบวนการผลิตยาสูบเป็นขั้นตอนที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด

* โครงการสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ สรุปว่า อุตสาหกรรมหลายประเภท รวมทั้งการผลิตยาสูบ หากมีการรวมมูลค่าผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย และให้ผู้ผลิตยาสูบรับผิดชอบ จะเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่สามารถที่จะมีกำไรในการประกอบธุรกิจ 

* บริษัทบุหรี่ข้ามชาติพยายามลดต้นทุนในการประกอบการ โดยการย้ายการทำไร่ยาสูบจากประเทศที่มีรายได้สูง มาอยู่ในประเทศที่มีรายได้น้อย ทำให้ปัจจุบันนี้ ร้อยละ 90 ของการทำไร่ยาสูบ อยู่ในประเทศที่รายได้น้อย ผลเสียของการทำไร่ยาสูบจึงตกอยู่กับประเทศที่ยากจน 

* ไม่มีคำว่า "ความเป็นกลาง" ต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับการทำธุรกิจยาสูบ บริษัทบุหรี่พยายามที่จะไม่กล่าวถึง หรือพยายามปกปิดความสูญเสียต่อสิ่งแวดล้อมที่แท้จริง และจุดยืนของบริษัทบุหรี่ คือ ขยะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นความรับผิดชอบของผู้สูบบุหรี่ 

* การที่บริษัทบุหรี่ไม่ต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม จากขบวนการผลิตยาสูบ และผลักภาระความเสียหายนี้ให้แก่ผู้เสียภาษี เท่ากับบริษัทบุหรี่ได้ประโยชน์จากการสนับสนุนของสังคมอย่างแอบแฝง 

แหล่งข้อมูล : มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กองบรรณาธิการ Smartonline 

วันที่ 8 มิถุนายน 2560