สัมมนาสื่อมวลชน สถานีวิทยุกระจายเสียง ทบ. 1

คอลัมน์ความเคลื่อนไหว

มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ จัดสัมมนาสื่อมวลชนสถานีวิทยุกระจายเสียงกองทัพบกที่ 1 เรื่อง "ร่วมกันสร้างสังคมปลอดบุหรี่ & ร่วมสร้าง Generation Z ไม่สูบ โดยมี ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิฯ เล่าถึงความสำคัญของการควบคุมการบริโภคยาสูบและมาตรการอะไรที่ใช้ได้ผล และไม่ได้ผล

คุณแสงเดือน สุวรรณรัศมี ผู้จัดการมูลนิธิฯ ได้กล่าวต้อนรับและมีความยินดีหวังเป็นอย่างย่ิ่งว่าจะได้ทำงานร่วมกับสื่อของกองทัพ เพื่อขับเคลื่อนงานรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ในประเทศไทย เพราะบุหรี่เป็นภัยคุกคามต่อการพัฒนาประเทศ ตามที่องค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้เป็นประเด็นสำคัญของการรณรงค์ในปีนี้ 

สื่อจะได้รับข้อมูลสำคัญของสถานการณ์การสูบบุหรี่ในประเทศไทย จากการสำรวจของ ดร.ศรัณยา เบญจกุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และการชี้แจงเกี่ยวกับกฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ฉบับใหม่ ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2560 นี้ จากคุณจิระวัฒน์ อยู่สะบาย หัวหน้ากลุ่มพัฒนาและบังคับใช้กฎหมาย สำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 

การสัมมนาครั้งนี้เป็นรุ่นที่ 2 ของสื่อมวลชนกองทัพบก ซึ่งสัมมนารอบแรกใน กองทัพที่ 3  ณ จังหวัดพิษณุโลก เมื่อปลายปี 2559  จึงได้ประสบการณ์การทำงานของรุ่นพี่  มาร่วมแลกเปลี่ยนรูปแบบและวิธีการทำงานรณรงค์ รวมทั้งการแก้ปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเจอระหว่างทางการทำงาน จาก ร.อ.เสรี ทองคู่ หัวหน้าแผนกผลิตและประชาสัมพันธ์ สถานีิวิทยุกระจายเสียงกองทัพบกที่ 3  

หลังจากที่ได้ฟังประสบการณ์จากรุ่นพี่ สื่อมวลชนทุกท่านได้ร่วมกันระดมความคิดในประเด็นบทบาทของสื่อกับการรณรงค์ใน 3 หัวข้อคือ 

1. จะมีวิธีการให้ความรู้กับสาธารณะ เรื่องบุหรี่เป็นภัยคุกคามต่อการพัฒนาอย่างไร?

ได้ข้อสรุปคือ 

- รัฐบาลควรมีนโยบายให้ความรู้เกี่ยวกับโทษของบุหรี่ วิธีเลิก ผ่านสื่อของรัฐอย่างจริงจัง และเจาะกลุ่มเป้าหมายไปที่ สถานที่ราชการที่เป็นจุดศูนย์กลางประชาชน เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล โรงงาน เรือนจำ เป็นต้น 

- ให้ความรู้เรื่องบุหรี่เป็นภัยคุกคามโดยเฉพาะในองค์กรของตนเอง และจัดทำสปอร์ตรณรงค์วิทยุเพื่อประชาสัมพันธ์ 

- เข้าร่วมกิจกรรมกับจังหวัดในการทำกิจกรรมรณรงค์เคลื่อนที่ให้ความรู้ 

2.จะมีวิธีการ ปกป้อง Gen Z Gen Stron ไม่สูบอย่างไร?

ได้ข้อสรุปคือ 

- รัฐควรมีนโยบายสนับสนุนการรณรงค์อย่างต่อเนื่องและจริงจัง 

- สรรหาบุคลากร หรือ ไอดอลที่เป็นที่ชื่นชม ชื่นชอบและไม่สูบบุหรี่ ให้เป็นแบบอย่างและตัวอย่างที่ดีให้กับเยาวชน

- ส่งเสริมและเปิดโอกาสให้เยาวชนได้ทำกิจกรรมรณรงค์ที่เป็นประโยชน์ให้กับสังคม

- จัดรายการวิทยุ ประชาสัมพันธ์ข่าวสารเกี่ยวกับการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ และเชิญเยาวชนมาร่วมจัดและแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่องการไม่สูบบุหรี่ 

3. จะมีวิธีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กฎหมายใหม่ที่จะบังคับใช้ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2560 นี้ อย่างไร?

ได้ข้อสรุปคือ 

- ประชาสัมพันธ์กฎหมายใหม่ผ่านช่องทางสื่อวิทยุ ทีวี หนังสือพิมพ์ อย่างต่อเนื่อง 

- ภาคประชาสังคม ช่วยกำกับดูแลให้เป็นไปตามกฎหมายที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 4 กรกฎาคมนี้ 

- ภาครัฐควรมีนโยบายที่ชัดเจนและร่วมกับท้องถิ่นช่วยประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจในข้อกฎหมายใหม่ เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด  

นี่คือพลังของสื่อมวลชนของสถานีวิทยุกระจายเสียงกองทับบกที่ 1 ที่จะได้ร่วมกันทำงานรณรงค์เพื่อสร้างสังคมปลอดบุหรี่ และยังมีภาระกิจอีกมากมายที่ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกๆ ฝ่ายในการร่วมกันสร้่างสังคมใหญ่คือประเทศไทยให้ปลอดบุหรี่เพื่อความยั่งยืนต่อไป

ข้อมูลโดย สุขสันต์ เสลานนท์ กองบรรณาธิการ Smartonline

วันที่ 16 มิถุนายน 2560