บริษัทบุหรี่จัดอยู่ในกลุ่มที่สหประชาชาติขึ้นบัญชีดำด้าน "ไร้จริยธรรม"

คอลัมน์นานาทัศนะ

UNGC หรือ องค์การสหประชาชาติ ริเริ่มขึ้นในปี พ.ศ.1999 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคม และความยั่งยืนในภาคธุรกิจ นายโคฟี่ อันนัน อดีตเลขาธิการได้ให้ความสำคัญกับหลักสิทธิมนุษยชน สิทธิแรงงาน การรักษาสิ่งแวดล้อม และการต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

นางสาวบังอร ฤทธิภักดี ผู้อำนวยการบริหาร SEATCA : Southeast Asia Tobacco Control Alliance ได้เปิดเผยรายงานฉบับล่าสุดที่ชื่อ "Hijacking 'Sustainability from the SDGs: Review of Tobacco -related CSR Activities in the ASEAN Region" พบว่า รัฐบาลในภูมิภาคอาเซียนเริ่มตระหนักถึงผลกระทบอันเลวร้ายของยาสูบ และเพิ่มมาตรการเพื่อควบคุมบริษัทบุหรี่มากขึ้น ขณะที่บริษัทบุหรี่เองก็พยายามวางกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์บริษัท และผลิตภัณฑ์ของบริษัทต่อกลุ่มผู้บริโภค โดยผ่านกิจกรรมเพื่อสังคม หรือ CSR เพื่อสร้างภาพลักษณ์แก่บริษัท และบางครั้งบริษัทบุหรี่จัดกิจกรรมร่วมกับหน่วยงานบางหน่วยงานขององค์การสหประชาชาติ โดยมิได้รับการยินยอมจากหน่วยงานอีกด้วย 

รายงานข่าวเชิงสืบสวยของ Reuters และ The Guardian ก็ได้เปิดเผยให้เห็นถึงความฉ้อฉลของบริษัทบุหรี่ ยักษ์ใหญ่ อย่าง ฟิลลิปมอร์ริส อินเตอร์เนชั่นแนล (PMI) และบริติช อเมริกัน โทแบคโค (BAT) ที่ดำเนินโครงการลับเพื่อลดทอนความสามารถในการปฏิบัติตามกรอบอนุสัญญาควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก (WHO FCTC) รวมทั้งความพยายามในการเจรจาต่อรองกับภาครัฐในระหว่างการประชุมประเทศภาคีของกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ

เห็นได้ชัดเจนว่าความพยายามของบริษัทบุหรี่ในการร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสหประชาชาตินั้นขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ในด้านการสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในกลุ่ม องค์กรภาคธุรกิจ ธุรกิจบุหรี่นำมาซึ่งโรคร้าย ความตายและความสูญเสียต่อทั้งภาคสังคม เศรษฐกิจ และส่ิงแวดล้อมอย่างมหาศาล ซึ่งถือว่าไม่สอดคล้องอย่างย่ิงกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ธุรกิจบุหรี่ไม่เหมือนธุรกิจอื่นๆ ทั่วไป 

องค์กรสากลหลายแห่ง อาทิ องค์การอนามัยโลก ธนาคารโลก โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ จึงปฏิเสธการเป็นพันธมิตและเงินสนับสนุนจากบริษัทบุหรี่ เมื่อเดือนมิถุนายน 2560 สนับสนุนให้หน่วยงานของสหประชาติพัฒนานโยบายเพื่อป้องกันการรุกรานของบริษัทบุหรี่ นับเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการพัฒนาอย่างยั่งยืน 

การบริโภคยาสูบถือเป็นสาเหตุหล้กในการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรที่ป้องกันได้ ในภูมิภาคอาเซียน พบว่า ครึ่งหนึ่งของประชากรชายสูบบุหรี่ ซึ่งมีจำนวนรวมกันกว่า 125 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 10 ของจำนวนผู้สูบบุหรี่ที่ยังมีชีวิตอยู่ทั่วโลก ในแต่ละปีการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรในภูมิภาคนี้กว่า 500,000 คนต่อปี 

เป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่งในมติของสหประชาชาติและการกระตุ้นเตือนหน่วยงานขององค์การสหประชาชาติ ตลอดจนองค์กรระหว่างประเทศอื่นๆ ในการวางนโยบายที่จะไม่เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับบริษัทบุหรี่ไม่ว่าในกรณีใดๆ ดังเช่นนโยบายของ WHO,UNDP และ UNESCO

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม : UN Global Compact Integrity Policy Update (official statement,12 september 2017) https://www.unglobalcompact.org/docs/about_the_gc/Integrity_measures/integrit-recommendation-2017.pdfhttps://www.unglobalcompact.org/docs/about_the_gc/Integrity_measures/integrity-recommendation-2017.pdf

Hijacking'Sustainability' from the SDGs:Review of Tobacco-related CSR Activities in the ASEAN Region-http://seatca.org/?p=10172

ข้อมูลโดย : กองบรรณาธิการ smartonline

วันที่ 2 ตุลาคม 2560