"ตีแผ่ความจริง บุหรี่ไฟฟ้า อันตรายอย่างไร?"
คอลัมน์ : จับกระแส
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข จัดสัมมนาวิชาการ "ตีแผ่ความจริง บุหรี่ไฟฟ้า อันตรายอย่างไร?" ปัจจุบันการบริโภคบุหรี่ไฟฟ้ามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชนไทยอายุ 13-15 ปี มีการสูบบุหรี่ไฟฟ้ามากถึงร้อยละ 3.3 และมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าว่าทีความปลอดภัย พร้อมแนะให้ตระหนักถึงโทษ พิษภัย และอันตรายที่เกิดจากบุหรี่ไฟฟ้า
นพ.ขจรศักดิ์ แก้วจรัส รองอธิบดี กรมควบคุมโรค
รู้ว่าบุหรี่มีโทษมากมาย สังคมไทยควบคุมให้สังคมมีสุขภาพที่ดี บุหรี่เป็นสิ่งที่สังคมไม่ยอมรับ เช่นเดียวกับที่สังคมเชื่อว่า การเปิดอาบอบนวดไม่มีการขายบริการทางเพศ เป็นแค่การเข้าไปอาบน้ำ นวดเพื่อให้สบายตัวของผู้ชาย เช่นเดียวกับที่หลายๆ คนเชื่อว่า บุหรี่ไฟฟ้า ไม่มีนิโคติน สูบแล้วไม่มีอันตราย ช่วยคนให้เลิกบุหรี่ธรรมดาได้ แต่ในความเป็นจริง คือ มีสารพิษ และทำให้เกิดโรคเช่นเดียวกัน มันเป็นเพียงผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นมา
บุหรี่ไฟฟ้าที่หลายคนบอกว่าไม่มีนิโคติน ไม่ทำให้ติด แต่ในความเป็นจริง มันมีนิโคติน การให้องค์ความรู้ เปลียนความเชื่อให้ถูกต้องว่าแท้ที่จริงมีอันตรายเทียบเท่าบุหรี่ธรรมดา
แพทย์หญิงปานทิพย์ โชติเบญจมาภรณ์ ผู้อำนวยการกรมควบคุมโรค
ลักษณะของบุหรี่ไฟฟ้า ทำมาเพื่อดึงดูดใจวัยรุ่น การวิจัยในประเทศแคนาดา ในเด็กมัธยมปลายจาก 86 โรงเรียน จำนวน 19,310 คน พบว่า อัตราการเร่ิมสูบบุหรี่ซิกาแรต คิดเป็น 2.12 เท่า และกลายเป็นผู้สูบบุหรี่ซิกาแรตทุกวัน คิดเป็น 1.79 เท่า ของนักเรียนที่ไม่ได้สูบบุหรี่ไฟฟ้า
การสำรวจในประเทศไทย ปี 2558 ของนักเรียนอายุ 13-15 ปี พบว่า นักเรียนกลุ่มตัวอย่างสูบบุหรี่ไฟฟ้า คิดเป็นร้อยละ 3.3 โดยเป็นนักเรียนชายสูบบุหรี่ไฟฟ้ามากถึงร้อยละ 4.7 และนักเรียนหญิงสูบบุหรี่ไฟฟ้า คิดเป็นร้อยละ 1.9
ต่อข้อมูลว่าอันตรายหรือไม่ แพทย์ได้ออกคำเตือนเรื่องบุหรี่ไฟฟ้า ดังนี้
- น้ำยาและละอองบุหรี่ไฟฟ้ามีสารเคมีอันตรายและมีสารก่อมะเร็ง
- นิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสารเสพติด และส่งผลเสียต่อพัฒนาการของสมอง
- ไม่แนะนำให้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าในการเลิกสูบบุหรี่ธรรมดา
- อุปกรณ์บุหรี่ไฟฟ้าเกิดการระเบิดและทำให้เกิดไฟไหม้
- การได้รับละอองบุหรี่ไฟฟ้ามือสองเป็นอันตราย
- น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าทำให้เกิดพิษจากนิโคติน
รศ.นพ.หมอสุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
“วัยรุ่นจะมีโฮโมนหลั่งของความกล้าได้กล้าเสียสูงสุดช่วงอายุ 14-16 ปี ในเรื่องบุหรี่ไฟฟ้ามีวิวัฒนาการ การเข้าถึงวัยรุ่นเยอะมากมายว่า นิโคตินไม่ใช่สารปลอดภัย มีแต่โทษ ใดๆ ก็ตาม ที่ใส่สารพิษเข้าไปมันเป็นโทษทั้งนั้น 27% ที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้าจะเป็นประตูนำไปสู่วงจรสารเสพติดประเภทอื่นๆ
บุหรี่ไฟฟ้า “เข้าถึง ติดง่าย ฝังลึก ถึงยีน เลิกยาก” ในน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้ามีสารนิโคติน สารในกลุ่มคาร์บอนิลที่พบเช่น ฟอร์มาลดีไฮด์ อัลดีไฮด์ อะเซดัลลีไฮล์ อโครลีน อนุภาคในละอองขนาดเล็ก ซึ่งในระดับเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ฝอยละอองของบุหรี่ไฟฟ้าที่พ่นออกมายิ่งมีละอองฝอยมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเข้าสู่ร่างกายได้ลึกง่ายมาก ควันบุหรี่ไฟฟ้าจึงมีอันตราย มีผลกระทบต่อร่างกาย บุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้มีความปลอดภัย เหมือนอย่างที่มีข้อมูลออกมาบิดเบือนเลย
ผศ.ดร.ปิยะรัตน์ นิ่มพิทักษ์พงษ์ นักวิชาการอิสระ
ได้เปิดเผยถึงกลยุทธ์ของบริษัทบุหรี่ ทำอย่างไรให้เกิดการเสพติดและพึ่งพายาสูบมากขึ้น
มีเอกสารลับที่ถูกเปิดเผยของบริษัทบุหรี่ คือ “นิโคตินเป็นสารเสพติด บริษัทไม่ได้ขายยาสูบ แต่ขายนิโคติน” เป็นของ บริษัท บราวน์ แอนด์วิลเลียม ปี 1963 ที่ผลิตบุหรี่
"บุหรี่เป็นผลพลอยได้ จริงๆ เราขายสารเสพติด ขายแบบมีจริยธรรม” เป็นเอกสารลับของ (บริษัท บริติช อเมริกันโทแบคโค ปี 1979)
จากเอกสารลับนี้ ก็ทำให้รู้ว่าบริษัทบุหรี่คิดอย่างไร? บริษัทคิดตลอดเวลาว่าจะทำอย่างไร? ให้เกิดการเสพติด และเพิ่มสารเสพติด เพื่อที่จะขายบุหรี่ได้มากๆ มีลูกค้าใหม่แทนลูกค้าเก่าที่เสียชีวิต
ทำไมบริษัทบุหรี่ทุกบริษัท จะต้องออกบุหรี่ที่มีเมนทอล เพราะว่าการเติมเมนทอล สารแอมโมเนียเป็นตัวเปลี่ยนให้รู้สึกเย็นโล่ง มีสารขยายหลอดลมสูบแล้วไม่ระคายคอ เป็นตัวล่อให้วัยรุ่นสุบบุหรี่ง่ายขึ้น ในคนที่หัดลองสูบ โดยเฉพาะบุหรี่ไฟฟ้าทำให้เข้าสู่ร่างกายได้เร็ว บริษัทบุหรี่จะมีนวัตกรรมต่างๆ เพื่อดึงดูดวัยรุ่นทั้งสิ้น อย่างเช่น บุหรี่ที่มีมวนขนาด 7.1 cm เป็นซองเล็กกว่าปกติ สูบได้เร็วขึ้น ใช้เวลาสั้นลง เอื้อในการสูบนอกสถานที่ในภาวะเอื้อกฎหมาย อย่างนี้เป็นต้น
เครื่อง Heat not Burn Technology 2016 ใช้ใบยาสูบเป็นแคปซูล เผาไหม้ผ่านเครื่อง IQOS ทำให้ใบยาสูบร้อน ประเภทนี้ไม่มีควัน กำลังเป็นที่นิยมในประเทศญี่ปุ่น มีสารก่อมะเร็ง มีการโฆษณาชวนเชื่อ "ย้ำว่าควรต้องเลือกไปสู่บุหรี่ที่ปลอดภัยกับการเลิกสูบ เราต้องเล่นยุทธศาสตร์กับเด็ก"
คนทำงานด้านการรณงค์จำเป็นต้องสร้ากระแสเรื่อง "นิโคติน" ให้มากขึ้น
งานสัมมนาวิชาการ "ตีแผ่ความจริง บุหรี่ไฟฟ้า อันตรายอย่างไร?" ( 2 มีนาคม 2561)
ข้อมูลโดย : สุขสันต์ เสลานนท์ กองบรรณาธิการ Smartonline
วันที่ 15 มีนาคม 2561