เป้าหมายการควบคุมการบริโภคยาสูบจังหวัดกระบี่
คอลัมน์ : จับกระแส
มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ร่วมกับภาคีเครือข่ายนักรณรงค์ทุกภาคส่วนในจังหวัดกระบี่ เพื่อร่วมกันระดมความคิดเห็น หาแนวทางแก้ไขเกี่ยวกับสถานการณ์การสูบบุหรี่ จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ที่ได้เปิดเผยถึง สถานการณ์การสูบบุหรี่ทั้งชายและหญิงของจังหวัดกระบี่อยู่อันดับ 1 สูงสุดในประเทศ ที่ 28.9% และหาต้นเหตุว่าทำไมกระบี่ถึงเป็นอันดับหนึ่งของการสูบบุหรี่ของประเทศ? อย่างไร?
จากการระดมความคิดเห็นได้ข้อสรุปที่ว่า จุดอ่อนคือ 80% การสูบบุหรี่ของคนใต้เป็นวิถีชีวิต การสูบบุหรี่ของภาคใต้เร่ิมเมื่อตอนเป็นวัยรุ่น ทำให้เกิดการเสพติด ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลที่ว่า เยาวชนที่สูบบุหรี่ 7 คนใน 10 คน จะติดบุหรี่ไปตลอดชีวิต ส่วนจุดแข็งคือ ความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ความเข้มแข็งของการปกครองท้องถิ่น อีกทั้งมีทีมสื่อมวลชนที่เข้มแข็ง มีความสามารถเป็นแกนนำได้ และได้กำหนดเป้าหมายของจังหวัดร่วมกันว่า จังหวัดกระบี่มีคนสูบบุหรี่จำนวน 84,374 คน ต้องการลดอัตราการสูบจาก 28.9% ให้เหลือ 20% ภายในปี 2563
แนวทางการทำงานสำคัญ ในก้าวต่อไปสู่จังหวัดปลอดบุหรี่ คือ
1.การป้องกันนักสูบหน้าใหม่ คือเด็กไม่เพิ่ม ผู้ใหญ่ลดลง ต้องให้ข้อมูลและต้องสื่อสารให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การรณรงค์ต้องคลอบคลุมตั้งแต่ครอบครัว ชุมชนเพื่อป้องกันการเข้าถึง การขึ้นภาษีให้บุหรี่แพงขึ้น การกำจัดบุหรี่เถื่อน และที่สำคัญคือ การให้ข้อมูลที่เป็นจริงเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าว่ามีอันตรายไม่ได้ช่วยเลิก อย่าหลงกลบริษัทบุหรี่ เหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญที่จะทำให้ตัวเลขการสูบบุหรี่ในจังหวัดกระบี่ลดลง
2.การจัดสภาพแวดล้อมที่ปลอดบุหรี่ ตาม พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ฉบับใหม่ ปี 2560 อย่างจริงจัง สถานที่ท่องเที่ยวติดป้ายเขตปลอดบุหรี่ การเฝ้าระวังและให้ความรู้ในเรื่องกฎหมายใหม่ในท้องถิ่น ร้านค้าต้องไม่ขายบุหรี่ได้กับเด็ก ให้ความรู้คนในชุมชนรับทราบ และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
3.ช่วยคนสูบบุหรี่ให้เลิก จัดคลินิกช่วยเลิกในสถานบริการสาธารณสุข สถานประกอบการในหมู่บ้าน โดยความร่วมมือช่วยเหลือของ อสม. โดยเฉพาะการป้องกันควันบุหรี่มือสองด้วยการทำที่บ้านให้ปลอดบุหรี่
ยุทธศาสตร์ร่วมกันคือ
ข้อมูลโดย สุขสันต์ เสลานนท์ กองบรรณาธิการ Smartonline
วันที่ 24 กรกฎาคม 2561