อปท. พื้นที่ภาคอีสาน กับบทบาทเชิงรุกเพื่อคนรุ่นใหม่ไม่สูบบุหรี่
คอลัมน์ ผู้นำมาเล่า
เมื่อวันที่ 15-16 พฤศจิกายน ณ โรงแรมอวานี จังหวัดขอนแก่น มีการอบรมองค์กรปกครองท้องถิ่นเพื่อคนรุ่นใหม่ (อปท.) ในพื้นที่ภาคอีสาน มีผู้เข้าร่วมสัมมนาจำนวน 51 คน จาก 33 อปท. 16 จังหวัด เป็นการสัมมนาเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในบทบาทเชิงรุกของ อปท.เพื่อคนรุ่นใหม่ไม่สูบบุหรี่
โดย อปท. ได้รับทราบถึงสถานการณ์การสูบบุหรี่ในประเทศไทยและในภูมิภาคอีสาน ซึ่งเป็นภาคส่วนที่จะต้องขับเคลื่อนการทำงานเพื่อลดอัตรการสูบบุหรี่ โดยเเฉพาะอย่างยิ่งการป้องกันนักสูบหน้าใหม่ ไม่ให้เริ่มสูบบุหรี่ เพราะบุหรี่เป็นตัวนำไปสู่สิ่งเสพติดชนิดร้ายแรง อื่นๆ และการปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อให้เกิดการบังคับใช้จริงในพื้นที่ชุมชน บทเรียนและประสบการณ์ ของ อปท. รุ่นพี่มาร่วมแลกเปลี่ยนถึงการดำเนินงานเพื่อให้ประสบผลสำเร็จ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาและอุบสรรคที่เกิดขึ้น ใน 4 พื้นที่
พื้นที่ของตำบล อุ่มเม้า อ.ธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด นำโดย นายไชยยศ ไชยพฤกษ์ นายกเทศมนตรี ได้แลกเปลียนการทำงานในฐานะที่ตัวเองเป็นมุสลิมหนึ่งเดียวในพื้นที่ ที่ต้องทำงานในบริบทของชาวพุทธ ได้พบเจอทั้งปัญหาและอุปสรรค์ แต่ก็สามารถแก้ไขและขับเคลื่อนงานเป็นรูปธรรมในการทำให้หมู่บ้านปลอดบุหรี่และเหล้า การตรวจจับร้านค้าในชุมชนเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายใหม่ ใน 3 ห้ามขาย ห้ามซื้อ ห้ามแบ่งมวน รวมทั้งการเป็นต้นแบบให้กับชุมชนอื่นๆ อีกด้วย
พื้นที่เทศบาลเมืองชัยภูมิ จ.ชัยภูมิ โดย นายสุรศํกดิ์ ป้องขันธ์ หัวหน้าฝ่ายบริหารสาธารณสุขเทศบาลเมืองชัยภูมิ ผลงานที่เด่นคือการประกาศนโยบายที่ชัดเจนด้วยการทำเมืองชัยภูมิปลอดบุหรี่ ด้วยการขับเคลื่อนงานทั้งระดับปฏิบัติการและระดับนโยบาย
พื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ โดยนายสมชาติ เริงจรัล พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ โรงพยาบาลแคนดง กับการทำกิจกรรมรณรงค์ในกลุ่ม Gen Z Gen Stron เลือกไม่สูบ เน้นการลงพื้นที่ไปทำความเข้าใจในกฎหมายใหม่ โดยมีแกนนำ Gen Z เป็นทีม ร่วมแจกสื่อรณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้ร้านค้าไม่ขายบุหรี่ให้กับเด็ก และไม่แบ่งซองขาย เป็นต้น
พื้นที่จังหวัดนครราชสีมา โดยนางระเบียบ ขาวฉอ้อน พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลโชคชัย จ.นครราชสีมา กับการรณรงค์ไม่ให้ร้านค้าในชุมชนขายบุหรี่ให้กับเด็ก ด้วยการล่อซื้อก็ยังพบว่า มีการขายบุหรี่ให้กับเด็ก แม้จะได้ให้ความรู้ความเข้าใจ แต่ก็ยังมีการระเมิดกฎหมายซึ่งเป็นปัญหามาก แต่ทีมทำงานก็ไม่ท้อและยังคงเดินหน้าให้ความรู้เรื่องกฏหมายต่อไป ยิ่งมีประกาศกระทรวงออกมาแบบนี้แล้วคิดว่าคงจะได้รับความร่วมมืออย่างแน่นอน
ในวันที่ 2 อปท.ในแต่ละจังหวัด จะได้ร่วมกันระดมความคิดในหัวข้อ "บทบาทเชิงรุกขององค์กรปกครองท้องถิ่นเพื่อคนรุ่นใหม่ไม่สูบบุหรี่" ต้องทำอย่างไร ดังข้อสรุปดังนี้
1. เชิญเครือข่ายในจังหวัดเพื่อจัดตั้งคณะทำงานและประสานการทำงานร่วมกัน
2.ประชาสัมพันธ์ข่าวสารการรณรงค์ ทุกช่องทางสื่อโซเชียลมีเดีย เช่น เฟสบุ๊ค กรุ๊ป line จังหวัด และ หอกระจายข่าว เคเบิ้ล เป็นต้น
3.สร้างผู้นำชุมชน ในการ ลด ละ เลิกบุหรี่ เพื่อเป็นต้นแบบให้กับสมาชิกในชุมชนได้แบบอย่างที่ดี
4.จัดกิจกรรมรณรงค์ในโอกาสและเทศกาลต่างๆ โดยเชื่อมโยงกับการรรงค์ไม่สูบบุหรี่
5.จัดสภาพแวดล้อมที่ปลอดบุหรี่ โดยเริ่มจากหน่วยงานของตัวเอง แล้วจึงขยายผลต่อในชุมชน
นี่เป็นคำมั่นสัญญาของ อปท.ที่จะร่วมทำในช่วง 3 เดือนหลังจากการอบรมครั้งนี้ และทางมูลนิธิรณรงค์ฯ จะได้ติดตามและนำผลมาเล่าสู่กันฟังอีก....เพื่อสร้างชุมชน สู่สังคมปลอดบุหรี่ เราทุกคนต้องร่วมกัน
ข้อมูลโดย สุขสันต์ เสลานนท์ กองบรรณาธิการ Smartonline
วันที่ 19 พฤศจิกายน 2561