"วิกฤตสุขภาพเยาวชนไทย จากภัยบุหรี่ไฟฟ้า"

คอลัมน์ : ข่าวรอบโลก

สถานการณ์บุหรี่ไฟฟ้าโลก พบผู้เสียชีวิตนป่ยปอดอักเสบรุนแรงจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า ตายแล้ว 48 รายป่วย 2,291 ราย ล่าสุดพบ ผู้ป่วยรายแรกของไทยปอดอักเสบจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า 

เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ศุนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีจัดแถลงข่าว "วิกฤตสุขภาพเยาวชนไทย จากภัยบุหรี่ไฟฟ้า" ณ ห้องกรกมล โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ 

ศ.นพ.รณรชัย คงสกนธ์ ผอ.ศจย. ได้พูดถึงการแถลงข่าวในวันนี้ว่า เนื่องจากสถานการณ์ของบุหรี่ไฟฟ้าทั่วโลก กลายเป็นวิกฤตโลกทางด้านสาธารณสุข ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา (CDC) ได้ออกประกาศเตือนให้หยุดสูบบุหรี่ไฟฟ้าทุกชนิด หลังพบผู้เสียชีวิตและป่วยปอดอักเสบรุนแรงและเสียชีวิต 48 ราย และป่วย 2,291 ราย ล่าสุด พบรายแรกในประเทศไทย ทางการแพทย์ได้ตั้งข้อสังเกตุคือ เมื่อสูบบุหรี่ไฟฟ้าแล้ว จะป่วยและเสียชีวิตในช่วงเวลาแค่ไม่กี่เดือน 

คุณวิเชษฐ์ พิชัยรัตน์ กรรมการกองทุน สสส. ในหลายๆ ประเทศทั่วโลก กำลังตื่นตัวและเตรียมทบทวนการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าอย่างเร่งด่วน  ซึ่งมีการห้ามบุหรี่ไฟฟ้าแล้วในหลายประเทศ เพราะหวั่นผลกระทบต่อเยาวชนและสุขภาพของคนในประเทศ สำหรับประเทศไทยบุหรี่ไฟฟ้าเป็นส่ิงผิดกฎหมาย ห้ามนำเข้า ขาย บริการและครอบครอง เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา มีการจับกุมผู้ลักลอบจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าทางออนไลน์ ส่งสินค้าทางไปรษณีย์ มูลค่ากว่า 7 ล้านบาท และต้องเข้มงวด และมีมาตรการที่เด็ดขาดเพราะยังมีการละเมิดลักลอบขายกันมาก เป็นช่องทางที่เยาวชนเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้าได้ง่าย 

คุณช่อผกา วิริยานนท์ กรรมการผู้จัดการบริษัทเอยูคอมมินิเคชั่น ได้เปิดเผยผลโพล สำรวจความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อบุหรี่ไฟฟ้า ทั้งมหาวิยาลัยรัฐและเอกชนในกรุงเทพฯ จำนวน 300 คน พบว่า นักศึกษาเกือบ 100% รู้จักบุหรี่ไฟฟ้า และ 1 ใน 3 ตอบว่า 1) อยากลองสูบบุหรี่ไฟฟ้า 2) เกือบครึ่งมีทัศนคติที่ดีต่อบุหรี่ไฟฟ้า และ 3) เชื่อว่าไม่ติดเพราะไม่มีนิโคติน แม้ว่าจะมีข่าวการเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า มีเพียงครึ่งเดียวที่รู้ข่าวการเสียชีวิตนี้ ผลโพลที่ออกมาจึงสะท้อนถึง ความสับสนเรื่องข้อมูลเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าของเยาวชน โดยมีความเชื่อว่าบุหรี่ไฟฟ้าไม่มีอันตราย

ศ.นพ.วินัย วนานุกูล หัวหน้าศูนย์พิษวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า เพื่อเป็นการติดตามและเฝ้าระวังการเจ็บป่วยจากบุหรี่ไฟฟ้า ทางศูนย์ ได้ร่วมกับ ศจย. สร้างระบบการเฝ้าระวัง ในเบื้องต้นได้รวบรวมข้อมูลเพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับการบาดเจ็บจากบุหรี่ไฟฟ้ารวมถึงการวินิจฉัยและดูแลรักษา

สารนิโคตินนอกจากออกฤทธิ์ในสมองทำให้เสพติดแล้ว ยังมีผลต่อการทำงานระบบอื่นๆ ของร่างกายโดยเฉพาะระบบหลอดเลือดและหัวใจ บุหรี่ไฟฟ้าและบุหรี่ธรรมดา ล้วนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ สามารถปรึกษาเลิกบุหรี่กับบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลใกล้บ้านหรือสาย 1600 สายนี้ปลอดบุหรี่ 

จากงานแถลงข่าว : ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้ 

ข้อมุลโดย สุขสันต์​ เสลานนท์ 

Smartnews เผยแพร่ 11 ธันวาคม 2562