มลพิษทางอากาศ ทำให้คนตายเร็วขึ้นเฉลี่ย 3 ปี
คอลัมน์ : จับกระแส
สำนักข่าวเอเอฟพีรายงาน งานวิจัยด้านมลพิษทางอากาศล่าสุดชี้ว่า มลพิษทางอากาศในปัจจุบันกำลังทำให้ประชากรทั่วโลกมีอายุเฉลี่ยลดลงเกือบ 3 ปี และทำให้มีผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรมากถึง 8.8 ล้านคนต่อปี
Jos Letieveld หัวหน้านักวิจัยจากสถานบันมักซ์ พลังค์ ในเมืองไมนซ์ของเยอรมนีระบุว่า "มลพิษทางอากาศสร้างความเสี่ยงต่อสาธารณสุขในวงกว้างมากกว่าการสูบบุหรี่ ซึ่งสามารถหลีกเลี่ยงได้โดยการแทนที่เชื้อเพลิงพอสซิลด้วยพลังงานหมุนเวียนสะอาด"
โดยรายงานระบุด้วยว่า เมื่อเปรียบเทียบกับสาเหตุอื่น การเสียชีวิตก่อนวัยอันควรอันมีสาเหตุจากมลพิษทางอากาศสูงกว่าจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคมาลาเรียถึง 19 เท่าในแต่ละปี และมากกว่าผู้เสียชีวิตจากการได้รับเชื่อเอชไอวีถึง 9 เท่า ทั้งยังมากกว่าผู้เสียชีวิตจากพิษสุราถึง 3 เท่า
ทั้งนี้ มลพิษทางอากาศเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิต เกืบอ 50% ของผู้เสียชีวิตจากมลพิษทางอากาศ ขณะที่โรคระบบทางเดินหายใจและโรคไม่ติดต่ออื่นๆ อย่าง โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ก็เป็นสาเหตุรองลงมา แต่มีเพียง 6% เท่านั้นที่เสียชีวิตจากมะเร็งปอดที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ
Tomas Munzel นักวิจัยอาวุโสของแผนกเคมีและวิทยาโรคหัวใจ สถาบันมักซ์ พลังค์ ระบุว่า "ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่ากำลังเกิดการแพร่กระจายของมลพิษทางอากาศทั่วโลก ซึ่งทั้งมลพิษทางอากาศ และการสูบบุหรี่เป็นส่ิงที่สามารถป้องกันได้
โดยภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษทางอากาศสูงที่สุดคือ เอเซีย โดยเฉพาะประเทศยักษ์ใหญ่ที่เร่งพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างจีน มีอายุขัยเฉลี่ยลดลง 4.1 ปี อินเดียลดลง 3.9 ปี และปากีสถานลดลง 3.8 ปี โดยประเทศเหล่านี้มีหลายพืื้นที่ที่เผชิญกับมลพิษทางอากาศสูงมาก
ดังนั้น การเลิกสูบบุหรี่เป็นสามารถป้องกัน และลดความเสี่ยงจากโรคที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ ได้เป็นอย่างดี
ข้อมูลและภาพ : prachachat online วันที่ 3 มีนาคม 2563
เผยแพร่ Smartnews วันที่ 18 มีนาคม 2563