เชื่อหมอ รู้สู้บุหรี่ไฟฟ้า
คอลัมน์ : จับกระแส
"โควิด กับบุหรี่ มหันตภัยแพ็คคู่"
อย่างที่เราทราบกันดี ถึงแม้จะมีการรณรงค์ที่ทำได้ดีอยู่แล้ว แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ เปอร์เซนต์การสูบบุหรี่ในกลุ่มวัยรุ่นยังไม่ลด ยิ่งมีการระบาดของบุหรี่ไฟฟ้าดูเหมือนจะเพิ่มขึ้น อันตรายของบุหรี่ไฟฟ้า มีการสำรวจบ่อยๆ ถึงแม้จะยังไม่ได้รับการยืนยัน แต่มีข้อมูลบางด้าน ที่แสดงถึงอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้า ขึ้นอยู่กับสารประกอบในน้ำยาของบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งมีพิษมากมาย เพราะสารปรุงแต่งในน้ำยาบุหรี่ที่มากขึ้น เข้มข้นขึ้น
ที่จริงแล้ว บุหรี่ไฟฟ้าถูกสร้างขึ้นมา ด้วยเหตุผลที่ว่าเป็นการให้นิโคตินรูปแบบหนึ่ง เป็นตัวช่วยสำหรับผู้ที่ต้องการเลิกสูบบุหรี่ น้ำยาต้องเป็นน้ำยาจากห้องแลปเท่านั้น คนที่ติดบุหรี่แบ่งเป็น 2 ส่วน คือติดพฤติกรรม และติดนิโคตินในบุหรี่ซึ่งหนึ่งร้อยคนที่ติด 10-20 % ติดสารที่อยู่ข้างใน แต่มีกลุ่มคนบางกลุ่มพยายามปรับให้บุหรี่ไฟฟ้ามีอันตราย ปรุงแต่งสาร ทั้งกลิ่น รสชาติมากขึ้น หรือแม้แต่สารที่ทำให้ควันมีมากขึ้น ทำให้เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ มากขึ้นรุนแรงขึ้น เป็นสาเหตุที่ทำให้คนที่สูบบุหรีี่ไฟฟ้าหากติดเชื้อโควิดสามารถแพร่เชื้อได้ ติดง่ายและรุนแรงกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่
หมอจึงอยากให้ใช้วิกฤติไวรัสโควิด 19 ใช้โอกาสวันงดสูบบุหรี่โลกนี้ ลองไตร่ตรองเลิกสูบ หรือชักชวนคนใกล้ชิดให้ลด ละ เลิก ก็จะลดการติดเชื่อ แพร่เชื้อไวรัส เชื่อหมอ #เลิกสูบ ลดเสี่ยง
“บุหรี่ไฟฟ้า ทำขึ้นเพื่อเชิญชวนให้ติด ไม่ได้เชิญชวนให้เลิก”
ขอให้เข้าใจไว้เลยว่า นิโคตินไม่มีประโยชน์อะไรต่อร่างกาย ไม่ว่าตัวส่งนั้นจะเป็นระบบเผาไหม้ จะมาอ้างว่าใช้ระบบเบิร์น มันเป็นศัตรูต่อร่างกายของคนเรา
โดยธรรมชาติของสมอง โดยเฉพาะสมองวัยรุ่น จะมีศูนย์เสพติดอยู่แล้ว ถ้ามีการนำเข้านิโคติน เข้าสู่ระบบศูนย์เสพติดในสมองภายในไม่กี่วินาที ไม่เกิน 10 วินาที เกิดการบ่มเพาะให้สุกงอมจนติด เกิดการเสพติดสารเสพติดทุกประเภท เปรียบเทียบง่ายๆ เหมือนการราดน้ำมันเบนซิน แล้วรอการจุด เช่นกัน
เข้าใจตรงกันว่านิโคตินเป็นโทษต่อร่างกายไม่ว่าจะนำเข้าสู่ร่างกายโดยวิธีใดก็ตาม ในบุหรี่ไฟฟ้าที่มีนิโตตินน้อย มันเป็นข้ออ้าง บุหรี่ 1 มวน มี 1.2 มิลลิกรัม ทั้งซอง 20 มวน เท่ากับ 24 มิลลิกรัม ในบุหรี่ไฟฟ้ามีการสูบอย่างต่อเนื่อง เข้าสู่สมองได้อย่างรวดเร็วภายใน 10 วินาที เกิดการบ่มเพาะเกิดการเสพติดอย่างแน่นอนครับ
เดียวนี้แท่งบุหรี่ไฟฟ้า มีรูปลักษณ์ที่สวย มีลูกเล่นเยอะขึ้น เช่น มีเสียงเพลง ทำเพื่ออะไร นี่ก็แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเป็นกลยุทธ์ทางการตลาด "เพื่อเชิญชวนให้ติด ไม่ได้เชิญชวนให้เลิก" โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น
ถามว่า แท้จริงต้องการให้เด็กสูบน้อยลง ต้องการให้เด็กเติบโตขึ้นอย่างมีคุณภาพ หรือป่วย ด้วยสารเสพติดทั้งหลายในโลกนี้ มันเป็นการทำลายสมองของเด็ก การพัฒนาการของเด็กก็จะด้อยลง หัวใจสำคัญต้องลุกขึ้นมาปกป้องลูกหลานของเราให้ปลอดปลอดบุหรี่ เพราะบุหรี่เป็นประตูส่ิงเสพติดชนิดร้ายแรง อยากฝากถึงน้องๆ เยาวชน อยากรู้อยากเห็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเราได้ แต่อย่าอยากรู้อยากลองบุหรี่เลย เชื่อหมอเดล #เลิกสูบลดเสี่ยง ติดโควิด 19 #ไม่สูบเท่กว่าเยอะ
ข้อมูลโดย สุขสันต์ เสลานนท์
Smartnews 28 พฤษภาคม 2563