มะเร็งเต้านม อาการเป็นอย่างไร เช็คได้ด้วยตัวเอง
คอลัมน์ : รู้ทันโรคมะเร็ง
มะเร็งเต้านม หรือ Breast cancer เป็นหนึ่งในโรคมะเร็งที่พบเป็นอันดับ 2 ในผู้หญิง รองจากมะเร็งปากมดลูก และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตในหญิงไทย
สาเหตุหลัก ของการเกิดมะเร็งเต้านมมาจากพันธุกรรม แต่ปัจจุบัน พบว่าผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็งเต้านมจากพันธุกรรมมีเพียง 4-6% เท่านั้น มีสาเหตุอื่นๆ ด้วย คือ เกิดจากการทำปฏิกิริยา Oxidation ของเซลล์ต่างๆ ทำให้เกิดอนุมูลอิสระ (Free Radicals) และเกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางพันธุกรรมขึ้นที่ DNA ของเซลล์ ทำให้เซลล์ในอวัยวะนั้นๆ มีการทำงานที่ผิดปกติ ทำให้เกิดการแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เนื้อแดง รวมทั้งฮอร์โมนเพศหญิง
ใครที่มีความเสี่ยง
- ผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป คนในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งเต้านม มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าสองเท่า
- ผู้หญิงที่มีเต้านมใหญ่ มีความเสี่ยงสูงกว่าที่มีเต้านมเล็ก
- ผู้หญิงที่ไม่มีลูก หรือมีลูกคนแรกหลังอายุ 30 ปีขึ้นไป
- ผู้หญิงที่กินยาคุมกำเนิดต่อเนื่องนาน 10 ปีขึ้นไป หรือใช้ยาตั้งแต่อายุน้อย ๆ
- ผู้ที่มีระดับฮอร์โมนเพศเอสโตรเจนสูงกว่าปกติ
- ผู้หญิงที่มีประจำเดือนตั้งแต่อายุยังน้อย (ก่อน 9 ขวบ) หรือประจำเดือนหมดช้าหลังอายุ 55 ปี
- ผู้ที่อยู่ในมลภาวะที่เป็นพิษนาน ๆ เกิดการสะสมของความผิดปกติของเซลล์ได้
- ผู้ที่สูบบุหรี่มากกว่าวันละ 2 ซอง
- ผู้หญิงที่ได้รับการรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทน ในสตรีวัยหมดประจำเดือน และผู้ที่มีความเครียดสูง
มะเร็งเต้านม พบได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย แต่ผู้ชายมีอัตราน้อยมาก ดังนั้นสาธารณสุข จึงมีความตื่นตัวประชาสัมพันธ์เพื่อให้ผู้หญิงตรวจหาสิ่งผิดปกติที่เต้านมกันมากขึ้น เพราะหากพบเร็ว ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้เร็ว
อาการเป็นอย่างไร? หากพบอาการเหล่านี้
มะเร็งเต้านม แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 ระยะก่อนลุกลาม ก้อนมะเร็งจะมีขนาดเล็กกว่า 2 เซนติเมตร และยังไม่มีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้
ระยะที่ 2 ก้อนมะเร็ง มีขนาดระหว่าง 2-5 เซนติเมตร และ/หรือมีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งไปยังต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ข้างเดียวกัน
ระยะที่ 3 ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร แพร่กระจายลุกลาม ไปยังต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ข้างเดียวกัน ทำให้ก้อนน้ำเหลืองที่ถูกเซลล์มะเร็งกินรวมตัวติดกันเป็นก้อนใหญ่ หรือติดแน่นกับอวัยวะข้างเคียง
ระยะที่ 4 จะพบว่าก้อนมะเร็งมีขนาดโตเท่าไรก็ได้ จุดสังเกตอยู่ที่การแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง ลามไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ เช่น กระดูก ปอด ตับ หรือสมอง เป็นต้น
วิธีการวินิจฉัยมะเร็งเต้านม โดยการเอกซเรย์เต้านม หรือแมมโมแกรม คือ การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ซึ่งได้ผลดีที่สุด กับก้อนที่มีขนาดเล็กหรืออยู่ลึกจนคลำไม่ได้ เมื่อตรวจพบ ก้อนมะเร็งเต้านม แพทย์จะประเมินการแพร่กระจายของมะเร็งว่าจะลุกลามไปยังที่อื่น เช่น ต่อมน้ำเหลือง ปอด กระดูกหรือไม่ ซึ่งผู้ป่วยต้องถ่ายภาพรังสีทรวงอก อัลตราซาวด์ตับ และตรวจกระดูกชนิดสแกนด้วยเภสัชรังสี
การป้องกันปัจจุบันยังไม่มีวิธีการป้องกัน แต่มีหลายปัจจัยที่จะช่วยลดอัตราเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านม ได้ คือ
อย่าเพิ่งตกใจไปหากใครพบก้อนเนื้อที่หน้าอก เพราะนั่นอาจไม่ใช่มะเร็ง ขอให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียด เพราะหากก้อนเนื้อนั้นคือมะเร็ง ยิ่งพบไวก็ยิ่งมีโอกาสรักษาให้หายขาดได้มากขึ้น
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก The BALANCE
Smartnew เผยแพร่ 9 กรกฎาคม 2563