ปัจจัยเสี่ยงโรคกระดูกพรุน
คอลัมน์ : เก็บมาฝาก
ภาวะของโรคกระดูกพรุน อาการเกิดจากความหนาแน่นของเนื้อกระดูกที่มีน้อยลง จากการสะสมกระดูกแบบน้อยเกินไปในขณะที่กำลังเจริญเติบโต หรือมีการสูญเสียมวลกระดูกอย่างมากหลังจากเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ซึ่งการเกิดภาวะที่ว่านี้ ทำให้กระดูกมีความเปราะบาง จนไม่สามารถรับน้ำหนักและแตกหักตามมา โดยอาจจะเกิดมาจาก 2 ปัจจัย คือ พันธุกรรมและการดำเนินชีวิตที่มีผลต่อการเกิดภาวะกระดูกพรุนได้เร็วขึ้น
ซึ่งโรคนี้มักจะพบได้มากในเพศหญิง ในเพศชายพบได้ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นในวัยกลางคนและผู้สูงอายุ แต่ก็สามารถพบได้ในวัยหนุ่มสาวเช่นเดียวกัน โดยโรคกระดูกพรุนนั้น พบมากในหญิงผู้สูงอายุ เมื่อมีอายุมากขึ้น โอกาสที่จะเกิดก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระดูกบางถึงขนาดรับน้ำหนักไม่ไหว ทำให้เกิดการหัก ซึ่งเกิดจากกิจวัตรประจำวัน หรือเกิดอุบัติเหตุหกล้ม แม้ว่าจะเกิดแค่เพียงเล็กน้อยก็ตาม ส่วนที่มักจะหักได้แก่ กระดูกต้นขา และกระดูกข้อมือ
สำหรับอาหารที่ส่งผลให้กระดูกพรุน ที่เป็นปัจจัยโรคนั้น
1.โปรตีนจากสัตว์ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์จากชนิดไหน, ผลิตภัณฑ์จากนมต่างๆ หรือแม้กระทั่งไข่ชนิดต่างๆ หลังจากที่เรารับประทานเข้าไปแล้ว ร่างกายดึงแคลเซียมจากเนื้อเยื่อต่างๆ เพื่อใช้ในการปรับค่าความเป็นกรดด่างของเลือด ซึ่งหากบริโภคมากเกินไป ส่งผลทำให้กระดูกพรุนและแตกหักในระยะยาวได้
2.เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หากดื่มในปริมาณมาก ย่อมมีผลต่อกระดูกทั้งสิ้น เพราะทุกครั้งที่ดื่มลงไป ความสมดุลของแคลเซียมในร่างกายจะถูกรบกวน ระดับฮอร์โมนพาราไทรอยด์จะสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้มีการสลายแคลเซียมในกระดูก แถมยังไปขัดวางกระบวนการสร้างวิตามินดีในร่างกาย ซึ่งส่งผลต่อกระดูกอีกต่าง
3.การสูบบุหรี่ อย่างที่ทราบกันดีว่า บุหรี่มีสารที่ก่อมะเร็งชนิดต่างๆ ซึ่งการสูบบุหรี่ก็มีผลทำให้ความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลงและทำให้กระดูกพรุนได้ ซึ่งเกิดจากอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นจากการสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุหลักของร่างกาย ซึ่งการอักเสบที่ว่านี้ หากเกิดขึ้นในระยะยาวก็จะนำพาไปสู่ความเสื่อม ซึ่งก็ก่อให้เกิดโรคภัยต่างๆ ที่นอกจากโรคกระดูกพรุนแล้ว ยังเกิดโรคเช่น โรคเบาหวาน ความดัน มะเร็ง อัมพฤกษ์ ได้อีกด้วย
4.น้ำอัดลม การดื่มน้ำอัดลมทำให้ร่างกายได้รับทั้งฟอสฟอรัสส่วนเกินจากกรดฟอสฟอริก น้ำตาลจำนวนมากจากน้ำเชื่อมหรือไซรัป คาเฟอีนจากเมล็ดโคล่า กลิ่นและสีที่ถูกปรุงแต่ง ซึ่งไม่มีส่วนไหนที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายอย่างแท้จริงเลย ทุกครั้งที่เราดื่มน้ำอัดลมเราจะสูญเสียมวลกระดูกจากกรดฟอสฟอริกและคาเฟอีน เป็นหลัก (เสียสองต่อ) น้ำตาลที่อาจทำให้มีน้ำหนักส่วนเกินและทำให้ตับอ่อนต้องทำงานหนัก เสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน กลิ่นและสีที่ไต ต้องทำงานหนักเพื่อขับออกอีกต่างหาก
5.น้ำตาล แม้ว่าน้ำตาลจะมีประโยชน์ในแง่ของการให้พลังงานแก่ร่างกาย หากทานมากไป จะขัดขวางการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกาย แคลเซียมที่ได้รับจากอาหารก็จะได้ในจำนวนน้อยลง ส่งผลให้ฮอร์โมนคอร์ติซอล หรือฮอร์โมสแห่งความเครียด มีความสูงขึ้น ซึ่งก็ส่งผลต่อความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลง เพราะฮอร์โมนส์นี้จะไปยับยั้งการสร้างกระดูก ทำให้ไปส่งเสริมหรือเพิ่มกระบวนการในการสลายกระดูกแทน
6.อาหารที่มีเกลือสูง ที่มากไปส่งผลให้ไตทำงานหนัก และทำให้ขับโซเดียมส่วนเกินออกจากปัสสาวะแล้ว สิ่งที่จะออกมาด้วย คือ แคลเซียม ซึ่งถ้าเราทานเค็มต่อเนื่องไปเรื่อยๆ และร่างกายไม่ได้รับแคลเซียมที่มากพอ ก็จะเกิดภาวะขาดแคลเซียมสะสมไปเรื่อยๆ จนทำให้เป็นกระดูกบางและทำให้เป็นกระดูกพรุนได้
7.กาแฟ การดื่มกาแฟในแต่ละครั้ง ร่างกายจะมีการสูญเสียแคลเซียมผ่านทางปัสสาวะ หลังจากที่ดื่มกาแฟแล้ว คาเฟอีนจะทำให้เกิดกลไกดังต่อไป คือ ขัดขวางการสร้างมวลกระดูกใหม่ และลดความหนาแน่นของมวลกระดูก ซึ่งผู้ที่ดื่มกาแฟเป็นประจำทุกวัน แน่นอนว่าต้องมีการสูญเสียมวลกระดูกสะสม หากไม่ได้ทานอาหารชดเชยสารอาหารและแคลเซียมที่มากพอ ก็อาจจะส่งผลให้ป่วยเป็นโรคกระดูกพรุนได้
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข แนะการป้องกันหลัก 3 อ. งดเสี่ยงกระดูกพรุน
ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์
เรียบเรียงและเผยแพร่ : Smartnews วันที่ 7 สิงหาคม 2563