หนุนสื่อ 4 ภาคลดการสูบบุหรี่ในชนบท

คอลัมน์ : พลังสื่อมวลชนท้องถิ่น 

ภาคีเครือข่ายสื่อมวลชนท้องถิ่น 4 ภาค หนุนประเด็น "Tobacco : a threat to development" ขององค์การอนามัยโลก ซึ่งแปลเป็นไทยว่า "บุหรี่ : ภัยคุกคามต่อการพัฒนา" และเสนอมาตรการที่รัฐบาลและภาคประชาชนควรจะดำเนินการเพื่อส่งเสริมสุขภาพและการพัฒนา พร้อมเผชิญหน้ากับภาวะวิกฤตที่เกิดจากยาสูบ

มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ได้จัดเวทีแลกเปลี่ยนให้กับสื่อมวลชนทั้งสี่ภาค ได้มาร่วมกันแสดงความคิดเห็นและร่วมรณรงค์วันงดสูบบุหรี่โลก ในประเด็น "บุหรี่ : ภัยคุกคามต่อการพัฒนา" ภาคีเครือข่ายสื่อมวลชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อท้องถิ่น มีบทบาทสำคัญในการให้ข้อมูล ข่าวสารที่ถูกต้อง รวมถึงต้องส่งผ่านข้อมูลข่าวสารรอบด้านไปยังกลุ่มประชาชนในท้องถิ่นให้มากที่สุด เพื่อให้ประชาชนทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการสร้างสังคมปลอดบุหรี่ที่ยั่งยืน 

สื่อมวลชนได้ร่วมกันคิดและนำเสนอ การดำเนินงานหลักใน 3 ส่วน คือ

- การประชาสัมพันธ์ประเด็นการรณรงค์ในวันงดสูบบุหรี่โลก 

- การปกป้อง Gen Z

- ประชาสัมพันธ์กฎหมายใหม่ 

ได้ข้อสรุปดังนี้ 

การรณรงค์ในวันงดสูบบุหรี่โลกในเดือนพฤษภาคม นี้ ในฐานะที่เป็นสื่อไม่ว่าจะ ทีวี และเคเบิ้ล วิทยุ หนังสือพิมพ์จะได้ประชาสัมพันธ์ข้อมูลที่มูลนิธิฯ ได้จัดส่งมาให้ โดยเฉพาะข้อมูลที่เป็นคำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก 

- วิทยุ เปิดสปอตให้ความรู้ในเรื่องพิษภัยของบุหรี่ เปิดสายให้ผู้ที่มีประสบการณ์การเลิกบุหรี่ มาร่วมพูดคุย และเชิญชวนให้คนที่สูบ ลด ละ เลิกบุหรี่ เพื่อสุขภาพของตัวเองและคนในบ้าน 

- ทีวี / เคเบิ้ล นำสปอตทีวีออกกาศประชาสัมพันธ์ก่อนล่วงหน้า  จัดทำคลิปส่งเสริมให้ความรู้ จัดทำรายการและตั้งโลโก้การรณรงค์ที่เคาน์เตอร์อ่านข่าว 

- หนังสือพิมพ์ ลงข้อมูลและ AD โปสเตอร์รณรงค์ในช่วงสัปดาห์วันงดสูบ เพื่อสร้างกระแสร่วมมือกับภาคีเครือข่ายนักรณรงค์ เช่น สสจ. อบต. เดินรณรงค์ในวันงดสูบบุหรี่ เพื่อเชิญชวนให้เลิกบุหรี่เนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลกนี้ 

การรณรงค์เพื่อปกป้อง Gen Z 

- นำเรื่องบุหรี่เข้าไปร่วมกับโรงเรียนในการทำโรงเรียนสีขาว โดยเฉพาะกิจกรรมที่เน้นในเรื่องของ Gen Z 

- จัดประกวดดีเจเยาวชน และการโต้วาที โดยใช้ข้อมูลวันงดสูบจากทางมูลนิธิรณรงค์ฯ 

- สร้างค่านิยม Gen Z Gen Strong โดยนำ บวร คือ บ้าน วัด โรงเรียน มาร่วมผลักดัน สนับสนุน ปลุกอุดมการณ์ โดยใช้เยาวชนที่เป็น  Net Idol มาร่วมด้วย 

- มีการประกวดและผลิตสื่อโซเชียลมีเดีย อย่างเช่น Infographic clip ข้อความโดนๆ โดยเยาวชนเพื่อเยาวชน 

- มีการถอดบทเรียนเด็ก Gen Z ด้วยตนเอง 

ประชาสัมพันธ์กฎหมายฉบับใหม่ 

- พูดในรายการวิทยุ / ดีเจวัยใส 

- เผยแพร่ในสื่อส่ิงพิมพ์ 

- นำข้อมูลเผยแพร่ทางสื่อออนไลน์ทุกช่องทาง 

- รายการทีวี มีพูดคุยกับนักกฎหมาย และมีคลิปส่งเสริมความรู้เรื่องกฎหมาย

อย่างที่เราได้กล่าวตั้งแต่ต้นแล้วว่า สื่อเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงสังคม ดังนั้นมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ต้องขอขอบคุณสื่อทุกๆ ท่าน ที่ร่วมขับเคลื่อนงานการณรงค์มาอย่างต่อเนื่อง และเข้มแข็ง มูลนิธิรณรงค์ฯ พร้อมให้การสนับสนุนทุกๆ ด้านทั้งสื่อรณรงค์ วิทยากร และทุนสนับสนุนในการจัดกิจกรรม เพราะเราเชื่อว่า พลังของสื่อมวลชน สามารถเปลี่ยนสังคม เปลี่ยนโลกได้ หากเราร่วมแรงร่วมใจกัน และนั่นก็จะเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย 

ที่มา : การสัมมนาสื่อมวลชน เรื่อง "หนุนสื่อ 4 ภาค ลดการสูบบุหรี่ในชนบท"

เมื่อวันที่ 3 - 4 เมษายน 2560 ณ โรงแรมอมารีดอนเมือง กรุงเทพมหานคร 

ข้อมูลโดย : สุขสันต์ เสลานนท์ กองบรรษธิการ Smartonline 

วันที่ 7 เมษายน 2560