5 องค์กรร่วมต่อต้านการสูบบุหรี่ไฟฟ้า: เน้นการศึกษาข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์กำหนดแนวทางการสื่อสาร



 

 

ข่าวประชาสัมพันธ์

เผยแพร่ทันที

25 พฤษภาคม  2567

 

5 องค์กรร่วมต่อต้านการสูบบุหรี่ไฟฟ้า: กรมควบคุมโรค นิเทศ นิด้า สสส. ASH Quitline (1600)

เน้นการศึกษาข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์กำหนดแนวทางการสื่อสาร

 

วันนี้ (25 พฤศจิกายน 2567) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) โดยคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เน้นการบูรณาการพลัง “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา” ภาครัฐ ภาคสังคม และสถาบันการศึกษา เพื่อสนับสนุนองค์ความรู้และผลักดันมาตรการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย หนึ่งในหัวใจสำคัญของความร่วมมือครั้งนี้ คือ การใช้ฐานข้อมูลและเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ วางแผน และประเมินผลการดำเนินงานในประเด็นการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า โดยมีการพัฒนาระบบรวบรวม องค์ความรู้ งานวิจัย หลักฐานเชิงประจักษ์ และสถิติต่าง ๆ ตลอดจนการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่เข้าถึงได้ง่ายและทันสมัย ครอบคลุมทั้งในมิติสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคม มาใช้ ถือเป็นอีกหนึ่งยุทธศาสตร์สำคัญ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารสร้างความเข้าใจในอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้า รวมถึงการป้องกันนักสูบหน้าใหม่ และลดจำนวนผู้สูบที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นการวางรากฐานเพื่อสุขภาวะที่ดีและยั่งยืนของสังคมไทย

 

พิธีลงนามครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก 5 องค์กรหลัก ได้แก่

1. กองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

2. มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่

3. ศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ (ศบช.) Quitline 1600

4. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

5. คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)

 

“ในการนี้ นับเป็นมิติใหม่ของนวัตกรรมทางสังคมและเป็นภารกิจเร่งด่วน ซึ่งคณะยินดีอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน"

รศ.ดร.อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว คณบดีคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ นิด้ากล่าว

จุดเริ่มต้นของความร่วมมือนี้เกิดจากงานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ภายใต้แผนโครงการ แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายบนพื้นฐานของข้อมูลเพื่อการสื่อสารประเด็นบุหรี่ไฟฟ้าในมิติสุขภาพและสุขภาวะของคนไทยอย่างยั่งยืน (SDG3: สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี) โดยคณะนักวิจัย จากคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้แก่ รศ.ดร.บุหงา ชัยสุวรรณ รศ.ดร.พรพรรณ ประจักษ์เนตร คุณฐิติรัตน์ เจนศิริรัตนากร คุณอุรพี จุลิมาศาสตร์ และจากคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้แก่ ผศ.ดร.วรพล พงษ์เพ็ชร คุณพงษ์เทพ วิจิตร และคุณพิเณตม์ เลาหเพียงศักดิ์ โดยเน้นการศึกษาสถานการณ์บุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย และการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อสร้างสุขภาวะที่ยั่งยืนให้กับสังคมไทย โดยมีการพัฒนาระบบรวบรวม องค์ความรู้ งานวิจัย หลักฐานเชิงประจักษ์ และสถิติต่าง ๆ ตลอดจนการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ใช้ในการวิจัยนี้

 

ผลวิจัยชี้ชัด สื่อออนไลน์พื้นที่สำคัญในการสื่อสารต่อต้านบุหรี่ไฟฟ้า

 

     จากการศึกษาภูมิทัศน์สื่อสังคมออนไลน์ มิติข้อมูลเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าบนสื่อสังคมออนไลน์ จากทีมนักวิจัย NIDA นำโดย รศ.ดร.บุหงา ชัยสุวรรณ และผศ.ดร.วรพล พงษ์เพ็ชร  เผยให้เห็นสถานการณ์ที่น่าวิตกในโลกออนไลน์ ดังนี้

ความสนใจเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าเริ่มปรากฏในปี 2552  และสูงมากขึ้นถึง 3.5 เท่า หรือ สูงขึ้นเกือบ 300% ในปี 2556 

 

     1. การค้นหาบน Google Search: พบว่า ความสนใจบุหรี่ไฟฟ้าบน Google มีปริมาณสูงขึ้นต่อเนื่อง ผลการศึกษาย้อนหลัง 20 ปี (2547-2567) ชี้ให้เห็นว่า ความสนใจเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าเริ่มปรากฏในปี 2552 ด้วยปริมาณการค้นหา 4 หน่วย และเพิ่มขึ้นเป็น 29 หน่วยในปี 2556 และสูงมากขึ้นถึง 3.5 เท่า หรือ สูงขึ้นเกือบ 300% คือ สูงถึง 100 หน่วย  สะท้อนให้เห็นว่า แม้จะมีการออกมาตรการควบคุมทางกฎหมาย แต่ความสนใจกลับไม่ได้ลดลง จนกระทั่งในปัจจุบันปี 2567 (มิถุนยน) 57 หน่วย ซึ่งการลดลงนี้ อาจเนื่องมากจากการเปลี่ยนคำค้นหา หรือการเลี่ยงใช้คำค้นหา เช่น ค้นหาด้วย คำว่า พอต Pod แทน

      ผลการศึกษาย้อนหลัง 20 ปี (2547-2567) ชี้ให้เห็นว่า ความสนใจเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าเริ่มปรากฏในปี 2552 ด้วยปริมาณการค้นหา 4 หน่วย และเพิ่มขึ้นเป็น 29 หน่วยในปี 2556 ก่อนที่จะลดลงเล็กน้อยในปี 2557 สอดคล้องกับช่วงที่มีการออกมาตรการกฎหมายควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า โดยในปี 2560 ปริมาณการค้นหาเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า เป็น 548 หน่วย สะท้อนให้เห็นว่า แม้จะมีการออกมาตรการควบคุมทางกฎหมาย แต่ความสนใจกลับไม่ได้ลดลง

 

ภาพแสดงปริมาณความสนใจค้นหา (Relative Search Volume) คำว่า “บุหรี่ไฟฟ้า” 

ใน Google Trends (ตั้งแต่ปี 2547-2567) โดยนักวิจัย คณะนิเทศศาสตร์ นิด้า

 

การกล่าวถึง (Mentions) บุหรี่ไฟฟ้าในสื่อออนไลน์สูงถึง 95,806 ครั้ง ยอด Engagement 17,071,271 ครั้ง

 

     2. บุหรี่ไฟฟ้าในสื่อสังคมออนไลน์ จาก Mandala AI Social Listening: ข้อมูลจาก Mandala AI Social Listening ในปี 2566 เผยว่า มีการกล่าวถึง (Mentions) บุหรี่ไฟฟ้าในสื่อออนไลน์สูงถึง 95,806 ครั้ง ยอด Engagement 17,071,271 ครั้ง โดยแพลตฟอร์ม X ครองสัดส่วนมากที่สุดถึงร้อยละ 86.95 ตามมาด้วย Facebook ร้อยละ 6.69 และเว็บไซต์ต่างๆ ร้อยละ 3.12 โดยผู้ส่งสารส่วนใหญ่บน X เป็นกลุ่มผู้ขาย ในขณะที่ Pantip เป็นผู้ใช้งานทั่วไป และเว็บไซต์ส่วนใหญ่เป็นสำนักข่าว ที่น่าห่วงคือ เนื้อหาส่วนใหญ่มาจากผู้ขาย ในขณะที่ข้อมูลด้านสุขภาพมีสัดส่วนน้อยกว่ามาก

 ภาพแสดงการกล่าวถึงบุหรี่ไฟฟ้าในสื่อออนไลน์เก็บข้อมูลผ่าน Mandala Social listening

(ระหว่าง มกราคม – ธันวาคม 2566) โดยนักวิจัย คณะนิเทศศาสตร์ นิด้า

 

     3. ข้อมูลจากการทำ Web Scraping: ผลการวิเคราะห์เว็บไซต์จำนวน 2,841 เว็บไซต์ เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม –  เมษายน  2567 พบว่า เว็บไซต์ที่ส่งเสริมการสูบหรือจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้ามีสัดส่วนสูงถึง 1,974  เว็บเพจ (ร้อยละ 69.48) มากกว่าเว็บไซต์ที่นำเสนอข้อมูลต่อต้านการสูบบุหรี่ไฟฟ้าซึ่งมีเพียง 867 เว็บเพจ (ร้อยละ 30.52)  นอกจากนี้ที่น่ากังวลคือ เมื่อค้นหาคำว่า "บุหรี่ไฟฟ้า" บน Google เว็บไซต์จำหน่ายสินค้าผิดกฎหมายนี้มักปรากฏในหน้าแรกๆ โดยมีค่าเฉลี่ยลำดับการปรากฏ (page rank) ที่ 18 ขณะที่เนื้อหาที่รณรงค์ให้ข้อมูลเชิงป้องกันการสูบบุหรี่ไฟฟ้า มีค่าเฉลี่ยลำดับการปรากฏ(page rank) ที่ 32 หรือถูกจัดอันดับให้อยู่หน้าท้ายๆ ของการปรากฏบน Google Search Engine

 

ภาพแสดงปริมาณข้อมูลเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าที่ปรากฏบน เว็บไซต์ต่างๆ จาก Google Search Engine (Web Scraping ระหว่างวันที่ 14 มีนาคม – 8 เมษายน 2567) โดยนักวิจัย คณะนิเทศศาสตร์ นิด้า

 

     นอกจากนี้ ในเชิงลึก จากการศึกษาพบความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างกลุ่มผู้ส่งสารที่กล่าวถึงบุหรี่ไฟฟ้าในเชิงส่งเสริม (Pro-vaping) และในเชิงต้าน (Anti-vaping) โดยมีรายละเอียดดังนี้

 

กลุ่มส่งเสริมการสูบ (Pro-vaping)

เว็บไซต์ที่สนับสนุนการสูบบุหรี่ไฟฟ้า 1,974  เว็บเพจ เป็นเนื้อหาจากร้านค้าปลีกที่จำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าสูงถึงร้อยละ 70.7 โดยเนื้อหาที่ส่งเสริมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าที่ปรากฏ เกี่ยวข้องกับการขายและส่งเสริมการตลาดที่เน้นราคาและผลิตภัณฑ์ (ร้อยละ 82.4) การให้ข้อมูลสินค้าและคุณสมบัติต่างๆ (ร้อยละ 6.5) และประสบการณ์เกี่ยวกับการใช้บุหรี่ไฟฟ้า (ร้อยละ 1.7)

กลุ่มต่อต้านการสูบ (Anti-vaping)

เว็บไซต์ที่ต่อต้านการสูบบุหรี่ไฟฟ้า 867 เว็บเพจ โดยเนื้อหาจากหน่วยงานภาครัฐมากที่สุด ร้อยละ 28.5 โดยเนื้อหาที่ต่อต้านการสูบบุหรี่ไฟฟ้าที่ปรากฏ เกี่ยวข้องกับผลกระทบด้านสุขภาพและความปลอดภัยจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้า (ร้อยละ 64.0) การต่อต้านบุหรี่ไฟฟ้า การร้องเรียน หรือข้อความที่แสดงถึงความไม่ชอบบุหรี่ไฟฟ้า (ร้อยละ 22.4) และเนื้อหาที่สนับสนุนให้เลิกบุหรี่ (ร้อยละ 10.0)

 

ผลการศึกษานี้สะท้อนความจำเป็นเร่งด่วนในการพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารใหม่ เพื่อให้ข้อมูลด้านสุขภาพสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดีขึ้น และสร้างสมดุลของข้อมูลในโลกออนไลน์ ก่อนที่เยาวชนไทยจะตกเป็นเหยื่อการตลาดของผลิตภัณฑ์ที่ผิดกฎหมายนี้

 

ติดตามข้อมูลการวิจัยเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ www.gscm.nida.ac.th  โทร  02 727 3317

 

 

 

 

topic

  • อดีตแพทย์ชนบทค้านรื้อ กม. สสส.
  • แม่สูบบุหรี่-กินเหล้า ลูกเสี่ยงปากแหว่งฯ
  • มหาสารคามร่วมมือ สสส.จับมือดึงนักศึกษาเลิกบุหรี่เพื่อคนที่คุณรัก เพื่อสุขภาพฉลอง 150 ปี สู่ประชาคมอาเซียน
  • คณะสงฆ์มหาสารคาม รณรงค์เมืองปลอดบุหรี่
  • บทพิสูจน์
  • ชี้แก้ พ.ร.บ. สสส. ไม่ตอบโจทย์ปัญหานักวิชาการแนะยกเครื่องปรับระเบียบ
  • มอบใบประกาศเชิดชูเกียรติปวารณา งดเหล้า/บุหรี่ ครบพรรษา
  • ลดเหล้า-บุหรี่ หนีต้อเนื้อ
  • ตำบลปลอดบุหรี่
  • ภาคีบุหรี่หนุนกม.ยาเสพติด
  • คดีฟิลลิปมอร์ริสกับอธิปไตยของชาติ
  • สั่งร.ร.ปลอด'เหล้า-บุหรี่'
  • คณะสงฆ์รณรงค์ปลอดบุหรี่
  • สสส. หนุน โคราชโมเดล "ปลอดบุหรี่โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน" โชว์นวัตกรรมดีเด่น ช่วยคนเลิกบุหรี่
  • สบส. ขยายเวลาโครงการ "1 อสม. ขอ 1 คนเลิกบุหรี่" ตลอดปี 59 คาดลดนักสูบหน้าใหม่ ร้อยละ 80
  • 'ฮู'หนุนกม.ยาสูบฉบับใหม่ห่วง'บ.ข้ามชาติ'แทรกแซง
  • อช.เขาพนมเบญจา ทำบันทึกข้อตกลง MoU ปลอดบุหรี่ สู่ทิศทางท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพปลอดบุหรี่ วิถี New Normal
  • GenZ โคราช เรียนรู้กฎหมายควบคุมยาสูบ เพิ่มทักษะการปล่อยของ
  • อบรมพัฒนาศักยภาพแกนนำ Gen Z อุบลฯ จากรุ่น สู่รุ่น
  • มาทำความรู้จักกับโรคปอดรั่ว
  • รองโฆษกรัฐบาลห่วงเด็กไทยติดบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น หนุนคนรุ่นใหม่ไม่สูบบุหรี่-บุหรี่ไฟฟ้า
  • สร้างสื่อการเรียนรู้ สำหรับเด็กประถมวัย 22-23 พ.ย.2565
  • มาทำความรู้จักกับโรคปอดรั่ว
  • อช.เขาพนมเบญจา ทำบันทึกข้อตกลง MoU ปลอดบุหรี่ สู่ทิศทางท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพปลอดบุหรี่ วิถี New Normal
  • ชายหาดบางแสน เป็นพืิ้นที่ท่องเที่ยวต้นแบบ ที่ปลอดภัยด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
  • “ชงรัฐบาล” เร่งปราบเว็บไซต์พนันออนไลน์และเว็บไซต์จำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า
  • เกาหลีเหนือ ผ่านกฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในสถานที่สาธารณะ
  • อันตรายของบุหรี่ต่อร่างกายของผู้หญิง เพิ่มความเสี่ยงโรคมากมาย
  • คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ในอาคารชุด
  • "เลิกเพื่อลูก" ต๊ะ BoyScout กับเส้นทางสูบบุหรี่ 30 ปี
  • อบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรโรงเรียนพระปริยัติธรรมปลอดบุหรี่
  • มอบโล่ ชู นวัตกรรมดีเด่น เพื่อป้องกันนักเรียนติดบุหรี่ เครือข่ายครูเพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่ 4 ภาค 81 โรง
  • กฎหมายห้ามสูบบุหรี่ ลดการอยู่โรงพยาบาลของเด็กที่เป็นหืด
  • อินโดนีเซียเข้าร่วมสัญญาควบคุมยาสูบ
  • สพฐ.จับมือเครือข่ายครู และกระทรวงสาธารณสุข ขยายผลสร้างโรงเรียนปลอดบุหรี่ทั่วประเทศ
  • มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ จัดเวทีสรุปบทเรียน เนื่องในโอกาสก้าวสู่ปีที่ 38 ของการควบคุมการบริโภคยาสูบไทย
  • ควันบุหรี่มือสอง คร่าชีวิตคนไทยปีละกว่า 20,000 ราย งานวิจัยใหม่ยืนยันสูดควันบุหรี่มือสองเสี่ยงมะเร็งเต้านม
  • แกนนำเครือข่ายเยาวชน 9 องค์กร เรียกร้องรัฐบาลให้บุหรี่ไฟฟ้ายังคงเป็นสิ่งผิดกฎหมาย เพื่อปกป้องเด็กและเยาวชนไทยจากบุหรี่ไฟฟ้า
  • สื่อในสังกัดสำนักประชาสัมพันธ์ภาคใต้เขต 5 และ 6 ขานรับนโยบาย กรมประชาสัมพันธ์ ร่วมสื่อสารข้อมูล เพื่อปกป้องเด็กและเยาวชนจากบุหรี่ไฟฟ้า
  • บทเรียน ยกเลิกการห้ามขายและประเทศที่ให้ขายได้แต่ควบคุมมาตรฐานบุหรี่ไฟฟ้า และการแทรกแซงนโยบายควบคุมยาสูบโดยบริษัทบุหรี่
  • 5 องค์กรร่วมต่อต้านการสูบบุหรี่ไฟฟ้า: เน้นการศึกษาข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์กำหนดแนวทางการสื่อสาร
  • 14 ราชวิทยาลัยวิชาชีพแพทย์แห่งประเทศไทย ร่วมแถลงการณ์ “หมอไม่เอาบุหรี่ไฟฟ้า” ในวันแพทย์ไทย