"บุหรี่ : ภัยคุกคามต่อการพัฒนา (2) หลักฐานจากประเทศไทย"

คอลัมน์จับกระแส : วันงดสูบบุหรี่โลก

ประเด็นการรณรงค์ "บุหรี่ : ภัยคุกคามต่อการพัฒนา" (2) หลักฐานจากประเทศไทย

1. ผู้สูบบุหรี่ที่อยู่ในกลุ่มประชากรฐานะยากจนที่สุด (รายได้เฉลี่ย 1,982.50 บาทต่อเดือน) 

 เสียค่าซื้อบุหรี่ซองที่ผลิตจากโรงงานเพียงอย่างเดียวต่อเดือน  = 426.80 บาท/คน นั่นคือ แต่ละคนใช้เงินร้อยละ 21.50 ที่หาได้ไปกับการซื้อบุหรี่ เหลือเงินสำหรับใช้จ่ายในส่ิงจำเป็นอื่นๆ เพียง 1,555 บาทต่อเดือน ผู้สูบบุหรี่ที่อยู่ในกลุ่มนี้ มีจำนวน 352,231 คน (พ.ศ.2557)

2. ผู้สูบบุหรี่ที่อยู่ในกลุ่มประชากรฐานะยากจน (รายได้เฉลี่ย 6,097.6 บาท/เดือน)

เสียค่าซื้อบุหรี่ซองที่ผลิตจากโรงงานเพียงอย่างเดียวต่อเดือน  = 467.5 บาท/เดือน มีจำนวน  = 438,444 คน คิดเป็นค่าใช้จ่ายในการซื้อบุหรี่  = 7.7% ของรายได้

3. ข้อมูลที่สำรวจโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ.2557 พบว่า 

     - จำนวนประชากรกลุ่มที่จนที่สุด        1,336,073  คน 

     - จำนวนประชากรที่จน                     1,851,191  คนที่สูบบุหรี่

              รวมใช้เงินเป็นค่าซื้อบุหรี่เท่ากับ      7,674  ล้านบาท/ปี   

4. ผู้สูบบุหรี่ที่อยู่ในกลุ่มประชากรฐานะยากจนที่สุด 

     - สูบบุหรี่เฉลี่ย 1,198 มวนต่อคนต่อปี 

     - ขณะที่ผู้สูบบุหรี่ที่รวยที่สุดสูบ 493 มวนต่อคนต่อปี ( พ.ศ.2552)

เด็กที่ยังไม่มีรายได้ของตัวเองใช้เงินเกือบสองพันล้านบาทในการซื้อบุหรี่ / ปี 

      - ผู้สูบบุหรี่ที่มีอายุ 15-18 ปี  =  407,813 คน 

      - ค่าซื้อบุหรี่ต่อเดือน / คน     =  368.3 บาท

           รวมค่าซื้อบุหรี่ต่อปี         =  1,800 ล้านบาท  (พ.ศ.2554)

ที่ประชุมผู้นำประเทศที่สหประชาชาติจัดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2554 เสนอให้ประเทศต่างๆ เร่งรัดการควบคุมยาสูบตามข้อกำหนดของกรอบอนุสัญญาควบคุมยาสูบ เพื่อควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 4 กลุ่มโรค อันได้แก่ โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง โรคถุงลมปอดพอง และโรคเบาหวาน โดยทั้ง 4 กลุ่มโรคนี้มียาสูบเป็นปัจจัยเสี่ยงร่วม ซึ่งเป็นสาเหตุหล้กที่ทำใ้หคนเจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนเวลา ส่งผลลบต่อการพัฒนาประเทศ 

สามารถดาวน์โหลดข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ 

กองบรรณาธิการ Smartonline 

วันที่ 15 พฤษภาคม 2560 

เอกสารดาวน์โหลด