2564 ประวัติการเกิด APACT เครือข่ายรณรงค์ไม่สูบบุหรี่เอเซียแปซิฟิก



 

ขอแชร์ สไลด์ประวัติการเกิด APACT เครือข่ายรณรงค์ไม่สูบบุหรี่เอเซียแปซิฟิก

      บ่ายวันนี้ ผมได้รับเชิญจากท่านอาจารย์รณชัย คงสกนธ์ ประธานการจัดประชุม APACT ครั้งที่ 13 วันที่ 2-4 กันยายน 2564
ให้เข้าร่วมประชุม คณะกรรมการบริหาร APACT Executive Committee ถึงกิจการของประเทศเครือข่าย

       ผมดูรายชื่อผู้แทนจากประเทศต่าง ๆ จากเอเซียแปซิฟิคที่จะเข้าร่วมประชุมแล้ว พบว่า ส่วนใหญ่เป็นคนที่น่าจะยังไม่รู้ความเป็นมาของการก่อตั้ง APACT เมื่อ 32 ปีก่อน
จึงจะใช้โอกาสที่เข้าร่วมประชุม เล่าให้ที่ประชุมทราบถึงความเป็นมา และเพราะประเทศไทยเป็นตัวละครสำคัญที่ทำให้เกิดการก่อตั้ง APACT
จึงขอแชร์สไลด์มาถึงเครือข่ายที่ทำงานควบคุมยาสูบของไทยเราด้วย โดย ขอลำดับเหตุการณ์สำคัญดังนี้

1. ปี พ.ศ.2532 สหรัฐอเมริกาใช้กฏหมายการค้า เปิดการเจรจากับรัฐบาลไทย เพื่อเปิดให้มีการนำเข้าบุหรี่เสรี 

2. กลุ่มสุขภาพในประเทศไต้หวัน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ที่ถูกสหรัฐอเมริกาบังคับเปิดตลาดบุหรี่มาก่อนหน้านี้ จัดประชุมที่ไทเป
เพื่อวางแผนสนับสนุนประเทศไทย ไม่ให้ต้องเปิดตลาดด้วยข้อตกลงตามที่สหรัฐอเมริกาเรียกร้อง เนื่องจากเป็นข้อตกลงที่สนับสนุนให้บริษัทบุหรี่อเมริกาขยายตลาดได้สะดวก ซึ่งจะทำให้การสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น

3. APACT ได้รับการก่อตั้งขึ้นจากผู้เข้าร่วมประชุมที่ไทเป ซึ่งมีตัวแทนจากประเทศเอเชียรวม 9 ประเทศ และกลุ่มสุขภาพจากสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมประชุมวางแผนด้วย
โดยตั้งเป้าหมายเฉพาะหน้า เพื่อช่วยรัฐบาลไทยในเวทีเจรจาเปิดตลาดบุหรี่ให้ได้เงื่อนใขการเปิดตลาดที่ไม่เสียเปรียบบริษัทบุหรี่มากเกินจำเป็น

4. เป้าหมายระยะยาวของ APACT คือเป็นเวทีประสานงานให้เกิดความเข้มแข็งของการควบคุมยาสูบในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิค ซึ่งมีประชากรสูบบุหรี่จำนวนมาก
และเป็นเป้าหมายสำคัญของการขยายตลาดของบริษัทบุหรี่ข้ามชาติ เพื่อทดแทนตลาดบุหรี่ที่มีแนวโน้มลดลงในประเทศอเมริกาและยุโรป

5. APACT ได้สนับสนุนประเทศไทยในการเจรจาเปิดตลาดบุหรี่ในเวทีต่างๆ ทั้งที่รัฐสภาสหรัฐอเมริกา เวทีเจรจาที่แกตต์(WTO) จนสุดท้ายประเทศไทยได้เปิดตลาดบุหรี่
ตามกติกาของแกตต์ โดยไม่ต้องยกเลิกกฏหมายห้ามโฆษณาบุหรี่ และไม่ต้องทำข้อตกลงการเปิดตลาดกับสหรัฐอเมริกาเหมือนกับที่ไต้หวัน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ถูกบังคับ

6. สหรัฐอเมริกาได้ออกกฏหมาย ห้ามรัฐบาลสหรัฐ สนับสนุนบริษัทบุหรี่ในการเปิดตลาด ส่งออกบุหรี่อีกต่อไป รวมทั้งห้ามแทรกแซงนโยบายควบคุมยาสูบของประเทศอื่น

7. ธีมการประชุมของ APACT ที่ผ่าน ๆ มา เน้นการ ผลักดันนโยบายควบคุมยาสูบ การเปิดโปงธุรกิจยาสูบ และการป้องกันการแทรกแซงนโยบายจากธุรกิจยาสูบ
เนื่องจากเป็นอุปสรรคสำคัญที่สุดในการควบคุมยาสูบ

 เป็นเนื้อหาของสไลด์ที่แชร์ในที่ประชุม
    ประเทศไทยเคยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม APACT ครั้งที่ 4 ที่เชียงใหม่ พ.ศ.2538 โดยท่านอาจารย์ หทัย ชิตานนท์ เป็นประธานจัดการประชุม
    การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม เป็นโอกาสที่ภาคส่วนต่าง ๆ จะเกิดความตื่นตัว และเข้าร่วมสนับสนุนการควบคุมยาสูบ เพื่อก้าวสู่สังคมปลอด ตามเจตนารมณ์ของประชาคมโลก เพื่อลด/ขจัดความสูญเสียจากการสูบบุหรี่


ประกิต วาทีสาธกกิจ
2 กันยายน 2564

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

  • 2568/01/07 ความสำคัญของการชี้แนะผลักดันนโยบายผ่านสื่อ
  • 2567/03/09 - บุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัยจริงไหม
  • 2566 จะลดภาระงานหมอ รัฐต้องสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพจริงจัง เพื่อลดจำนวนคนที่จะป่วย
  • มาทำงานบุหรี่ ผมต้องแลกกับงานสอนที่ผมรักที่สุด
  • 2565 อุดมการณ์ที่หยัดยืนของ ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ
  • 2565 เปิดเผยถึง​ กลยุทธ์​ 12 ข้อ​ ที่เครือข่ายบุหรี่ไฟฟ้า​ บิดเบือนข้อเท็จจริง​ในการส่งเสริมการสูบ​บุหรี่​ไฟฟ้า
  • 2564 กว่า 100 เหตุผลที่ต้องเลิกสูบบุหรี่
  • 2564 ประวัติการเกิด APACT เครือข่ายรณรงค์ไม่สูบบุหรี่เอเซียแปซิฟิก
  • 2563 ความสําคัญของการขับเคลื่อนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปลอดบุหรี่
  • 2563 กลยุทธ์ของอุตสาหกรรมยาสูบ
  • 2563 พิษภัยยาสูบต่อสุขภาพ บุหรี่มือสอง บุหรี่มือสาม
  • 2563 ประวัติการควบคุมยาสูบของประเทศไทย
  • 2562 แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนางานควบคุมยาสูบในพื้นที่ กทม - 5 เม.ย.62
  • 2562 เส้นทางสู่สังคมไทยปลอดบุหรี่ ชนะหลายศึก แต่หนทางยังอีกยาวไกล
  • ความสำคัญของการรักษาให้เลิกสูบบุหรี่ ในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัด