ความสำคัญของการชี้แนะผลักดันนโยบายผ่านสื่อ (Media advocacy)
เมื่อวานนี้ มีโอกาสได้ซูมคุยกับภาคีหนึ่ง ถึงการใช้ประโยชน์จากช่องทางสื่อต่าง ๆ ในการชี้แนะนำผลักดันนโยบาย
ผมถือโอกาสแชร์เนื้อหาที่ผมได้แบ่งปันในการคุยกัน เผื่อท่านที่สนใจจะนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งที่เป็นเวิร์คและสไลด์ ดังนี้…
•กระบวนการชี้แนะ สนับสนุน ผลักดัน ขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบาย กฎระเบียบ กฎหมาย สาธารณสุข มีทั้ง
- ระดับองค์กร / สมาคม / หน่วยงาน
- ระดับท้องถิ่น
- ระดับจังหวัด
- ระดับประเทศ
- ระดับโลก
•การชี้แนะผลักดันนโยบาย
การจะให้ประเด็นของเราเข้าถึงผู้กำหนดนโยบาย
* เข้าหาผู้กำหนดนโยบายโดยตรง – เข้าพบ – ส่งจดหมาย - เอกสาร
* ผ่านเครือข่าย – ให้เป็นแนวร่วม ส่งเสียง สร้างกระแส
* ผ่านสื่อมวลชน – แถลงข่าว เสวนาสื่อ ออกข่าว จดหมายเปิดผนึก บทความ โซเชียลมีเดีย
•การชี้แนะผลักดันนโยบายผ่านสื่อ
- สื่อมีพลังมหาศาลที่จะเข้าถึงรัฐบาล ผู้กำหนดนโยบายอื่นๆ เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง คนในรัฐ ผู้กำหนดนโยบาย ก็ดูทีวี อาจจะฟังวิทยุ และอ่านหนังสือพิมพ์
- สื่อช่วยให้คนในรัฐบาลรู้ว่าอะไรคือ “ประเด็นร้อน” และต้องหาคำตอบ ข่าวในสื่อมีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายของรัฐบาลในประเทศส่วนใหญ่
- ประเด็นอะไรที่มีการนำเสนอในสื่อบ่อย ๆ คนก็จะสนใจ และห่วงใย กังวล และยิ่งบังคับให้รัฐบาลต้องให้ความสนใจ
- ประเด็นข่าวที่เผยแพร่บ่อย ๆ ยังทำให้คนเห็นว่าเรื่อง (ของคุณ) ที่นำเสนอเป็นเรื่องสำคัญ และเพื่อให้เรื่องของเราอยู่ในใจของคนในสังคม เราต้องทำให้เรื่องปรากฎในข่าวบ่อย ๆ
- การชี้แนะผ่านสื่อ เป็นกลยุทธ์ในการใช้สื่อเป็นตัวช่วยในการจุดประเด็นในสังคมหรือริเริ่มนโยบาย
- การชี้แนะผ่านสื่อเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับงานควบคุมยาสูบ เนื่องจากนโยบายควบคุมยาสูบเป้นนโยบายสาธารณะ และนักการเมืองมีความอ่อนไหวต่อความเห็นของสาธารณชนที่แสดงออกผ่านสื่อ
หลักการการชี้แนะผลักดันนโยบายผ่านสื่อ ใช้ได้กับประเด็นปัญหาสาธารณะอื่น ๆ นอกเหนือจากการแก้ปัญหายาสูบ
การชี้แนะ ผลักดันนโยบายผ่านสื่อ ต้องใช้ข้อมูล หลักฐานทางวิชาการที่เชื่อถือได้ เพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมเท่านั้น
ศ.นพ. ประกิต วาทีสาธกกิจ
7 มกราคม 2568