อันตรายของบุหรี่ต่อร่างกายของผู้หญิง เพิ่มความเสี่ยงโรคมากมาย



คอลัมน์ : เก็บมาฝาก

โทษของบุหรี่ 11 อันตราย ที่ส่งผลกระทบและมีอันตรายต่อผู้หญิงอย่างมาก

1. ผู้หญิงที่สูบบุหรี่ บุหรี่จะทำร้ายผิวให้เสียมากขึ้น เกิดริ้วรอย เนื่องจากในบุหรี่มีสารเคมีอยู่กว่า 4,000 ชนิด เป็นสารที่อันตรายและก่อให้เกิดมะเร็ง ทำให้เส้นเลือดฝอยหดตัวลง การไหลเวียนของเลือดทำได้ไม่ดี ในบางจุดเกิดการหยุดทำงาน และอุณหภูมิที่ผิวหนังก็จะลดลง ทำให้อนุมูลอิสระเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ผิวของหยาบกระด้าง หมองคล้ำ นานๆ เข้าก็จะทำให้วงจรการสร้างเม็ดเลือดแย่ลง และไม่สามารถนำพาสารอาหารไปสู่ผิวได้ ทำให้การผลัดเซลล์ผิวทำงานผิดปกติ ทำให้อายุผิวก็จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ผิวก็จะหย่อนคล้อย เกิดริ้วรอยเล็กๆ เหี่ยวย่น เป็นรอยตีนกา ริมฝีปากคล้ำกว่าปกติ เพราะสารนิโคตินในบุหรี่ ทำให้ดูแก่ก่อนวัย ผู้หญิงที่สูบบุหรี่จะแก่เร็วขึ้นถึง 10 ปี

2. ผู้หญิงที่สูบบุหรี่ การสูบบุหรี่จะทำร้ายการไหลเวียนของเลือด สารพิษที่มีอยู่ในควันบุหรี่จะแพร่ไปทั่วร่างกายจากทางหลอดเลือดผ่านทาง หัวใจ แล้วไปส่งผลเสียต่อร่างกายตามส่วนต่างๆ จะทำให้อุณหภูมิของร่างกายลดลง ปวดไหล่, ปวดเอว, บวมน้ำ เป็นต้น ในกรณีของสาวๆ ก็จะส่งผลต่อรอบเดือนด้วย

3.ผู้หญิงที่สูบบุหรี่รอบเดือนจะมาไม่ปกติ ผู้หญิงที่สูบบุหรี่เป็นประจำนั้นจะมีรอบเดือนมาไม่ปกติ มีโอกาสตั้งครรภ์ได้ยากกว่าผู้หญิงทั่วไปถึง 3 เท่า ถึงวัยหมดประจำเดือน (วัยทอง) เร็วกว่าผู้หญิงที่ไม่สูบบุหรี่โดยเฉลี่ยประมาณหนึ่งถึงหนึ่งปีครึ่ง การสูบบุหรี่ทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงด้วย

4.ผู้หญิงที่สูบบุหรี่มีลูกยาก อัตราการเจริญพันธุ์ต่ำกว่าหญิงที่ไม่สูบบุหรี่ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ พูดง่ายๆ ว่าติดลูกยากกว่า เนื่องจากบุหรี่ทำให้ระดับฮอร์โมนบางตัวของเพศหญิงลดลง และสารในควันบุหรี่ อาจทำให้ไข่ตกลงในท่อนำไข่ช้าลงหรือผิดเวลา

5.ผู้หญิงที่สูบบุหรี่ จะส่งผลต่อการกินยาคุมกำเนิด มีโอกาสเกิดอาการหลอดเลือดหัวใจตีบเฉียบพลันหรือหัวใจวายสูงขึ้น ถึง 39 เท่า และมีอัตราการตายมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ที่กินยาคุมกำเนิดถึง 3 เท่าตัว เพราะการสูบบุหรี่จะทำให้ร่างการได้รับสารพิษเข้าไปซึ่งส่งผลโดยตรงกับยาคุมกำเนิด จะทำให้เลือดแข็งตัวได้ง่าย และเกิดการอุดตันของหลอดเลือด ทำให้เลือดไม่พอสำหรับไปเลี้ยงสมองและหัวใจ

6. ผู้หญิงที่สูบบุหรี่ มีปัญหาเรื่องกระดูก เพิ่มมากขึ้นจากปกติที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกอยู่แล้ว ได้แก่ กระดูดขาดแคลเซี่ยม ทำให้กระดูกเปราะและหักง่าย ผู้หญิงที่สูบบุหรี่จึงมีปัญหานี้มากกว่าปกติ

7.ผู้หญิงที่สูบบุหรี่มีปัญหาช่องปาก สารในบุหรี่จะแทรกแซงการทำงานของเซลล์ในเหงือกและทำให้ติดเชื้อง่ายขึ้น เมื่อเหงือกมีปัญหาจะทำให้เลือดไหลเวียนอย่างจำกัด แผลจะหายช้าลง และยังทำให้ฟันกระดูกเบ้าฟันหลุดง่าย เสี่ยงต่อปัญหาในช่องปาก เช่น กลิ่นลมหายใจเหม็นและฟันเหลือง เหงือกดำ เหงือกอักเสบ

8. ผู้หญิงที่สูบบุหรี่ที่ตั้งครรภ์จะทำให้เกิดความเสี่ยงกับการแท้ง มากกว่าแม่ที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 10 เท่า ควันบุหรี่มีคาร์บอนมอนอกไซด์ ซึ่งเข้าไปแทนที่ออกซิเจนบางส่วนในเลือดของแม่ เมื่อไปถึงทารกในครรภ์ ทารกย่อมได้ออกซิเจนน้อยลงไปตามส่วน อาจมีผลให้ทารกแรกเกิดของแม่ที่สูบบุหรี่มีน้ำหนักน้อยกว่าแม่ที่ไม่สูบบุหรี่ คลอดก่อนกำหนด และอาจมีปัญหาเกี่ยวกับปอดเจริญเติบโตไม่เต็มที่ เลือดออกในสมอง การขับถ่ายไม่ปกติ อาจเป็นโรคเกี่ยวกับระบบหายใจ และมีปัญหาด้านสติปัญญา

9. ผู้หญิงที่สูบบุหรี่เสี่ยงเป็นโรคมะเร็ง มากกว่าผู้หญิงที่ไม่สูบบุหรี่ มะเร็งปอดมากว่า 10 เท่า มะเร็งปากมดลูกสูงถึง 4 เท่า มะเร็งเต้านม เพราะการสูบบุหรี่ทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายลดลง มีผลให้เกิดการติดเชื้อไวรัสแปปปิวโลมาได้ง่าย ซึ่งปากมดลูกที่ติดเชื้อไวรัสนี้ จะมีอัตรากลายเป็นมะเร็งปากมดลูก และมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ หรือผู้ที่เลิกสูบบุหรี่แล้วถึงร้อยละ 25 เพราะการสูบบุหรี่ทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งมีหน้าที่ในการป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านมลดลง ทำให้เกิดมะเร็งเพิ่มขึ้น

10. ผู้หญิงที่สูบบุหรี่ เสี่ยงเป็นโรคหัวใจ และหลอดเลือดสูงขึ้นอย่างมาก โดยพบว่า ผู้หญิงที่สูบบุหรี่จะเกิดอาการหัวใจล้มเหลวมากกว่าผู้หญิงที่ไม่สูบบุหรี่ 2-6 เท่า และมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดหัวใจวายกะทันหันเพิ่มขึ้น 20 เท่า และความเสี่ยงนี้จะทวีขึ้นตามจำนวนบุหรี่ที่สูบต่อวัน

11. ผู้หญิงที่สูบบุหรี่ จะเป็นโรคกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เพิ่มขึ้นมากกว่าผู้หญิงทั่วไปอีก 1 เท่า เพราะนิโคตินไปทำลายกล้ามเนื้อที่ควบคุมการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ ดังนั้น เมื่อสูบบุหรี่เข้าไปจะทำให้กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะอ่อนตัวลง ทำให้กลั้นปัสสาวะไม่อยู่

เรียบเรียงข้อมูลจาก : gangbeauty

ขอบคุณภาพจาก : The BANGKOK INSIGHT

Smartnews เผยแพร่ วันที่ 19 พฤศจิกายน 2563

topic

  • อดีตแพทย์ชนบทค้านรื้อ กม. สสส.
  • แม่สูบบุหรี่-กินเหล้า ลูกเสี่ยงปากแหว่งฯ
  • มหาสารคามร่วมมือ สสส.จับมือดึงนักศึกษาเลิกบุหรี่เพื่อคนที่คุณรัก เพื่อสุขภาพฉลอง 150 ปี สู่ประชาคมอาเซียน
  • คณะสงฆ์มหาสารคาม รณรงค์เมืองปลอดบุหรี่
  • บทพิสูจน์
  • ชี้แก้ พ.ร.บ. สสส. ไม่ตอบโจทย์ปัญหานักวิชาการแนะยกเครื่องปรับระเบียบ
  • มอบใบประกาศเชิดชูเกียรติปวารณา งดเหล้า/บุหรี่ ครบพรรษา
  • ลดเหล้า-บุหรี่ หนีต้อเนื้อ
  • ตำบลปลอดบุหรี่
  • ภาคีบุหรี่หนุนกม.ยาเสพติด
  • คดีฟิลลิปมอร์ริสกับอธิปไตยของชาติ
  • สั่งร.ร.ปลอด'เหล้า-บุหรี่'
  • คณะสงฆ์รณรงค์ปลอดบุหรี่
  • สสส. หนุน โคราชโมเดล "ปลอดบุหรี่โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน" โชว์นวัตกรรมดีเด่น ช่วยคนเลิกบุหรี่
  • สบส. ขยายเวลาโครงการ "1 อสม. ขอ 1 คนเลิกบุหรี่" ตลอดปี 59 คาดลดนักสูบหน้าใหม่ ร้อยละ 80
  • 'ฮู'หนุนกม.ยาสูบฉบับใหม่ห่วง'บ.ข้ามชาติ'แทรกแซง
  • อช.เขาพนมเบญจา ทำบันทึกข้อตกลง MoU ปลอดบุหรี่ สู่ทิศทางท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพปลอดบุหรี่ วิถี New Normal
  • GenZ โคราช เรียนรู้กฎหมายควบคุมยาสูบ เพิ่มทักษะการปล่อยของ
  • อบรมพัฒนาศักยภาพแกนนำ Gen Z อุบลฯ จากรุ่น สู่รุ่น
  • มาทำความรู้จักกับโรคปอดรั่ว
  • รองโฆษกรัฐบาลห่วงเด็กไทยติดบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น หนุนคนรุ่นใหม่ไม่สูบบุหรี่-บุหรี่ไฟฟ้า
  • สร้างสื่อการเรียนรู้ สำหรับเด็กประถมวัย 22-23 พ.ย.2565
  • มาทำความรู้จักกับโรคปอดรั่ว
  • อช.เขาพนมเบญจา ทำบันทึกข้อตกลง MoU ปลอดบุหรี่ สู่ทิศทางท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพปลอดบุหรี่ วิถี New Normal
  • ชายหาดบางแสน เป็นพืิ้นที่ท่องเที่ยวต้นแบบ ที่ปลอดภัยด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
  • “ชงรัฐบาล” เร่งปราบเว็บไซต์พนันออนไลน์และเว็บไซต์จำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า
  • เกาหลีเหนือ ผ่านกฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในสถานที่สาธารณะ
  • อันตรายของบุหรี่ต่อร่างกายของผู้หญิง เพิ่มความเสี่ยงโรคมากมาย
  • คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ในอาคารชุด
  • "เลิกเพื่อลูก" ต๊ะ BoyScout กับเส้นทางสูบบุหรี่ 30 ปี
  • อบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรโรงเรียนพระปริยัติธรรมปลอดบุหรี่
  • มอบโล่ ชู นวัตกรรมดีเด่น เพื่อป้องกันนักเรียนติดบุหรี่ เครือข่ายครูเพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่ 4 ภาค 81 โรง
  • กฎหมายห้ามสูบบุหรี่ ลดการอยู่โรงพยาบาลของเด็กที่เป็นหืด
  • อินโดนีเซียเข้าร่วมสัญญาควบคุมยาสูบ
  • สพฐ.จับมือเครือข่ายครู และกระทรวงสาธารณสุข ขยายผลสร้างโรงเรียนปลอดบุหรี่ทั่วประเทศ
  • มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ จัดเวทีสรุปบทเรียน เนื่องในโอกาสก้าวสู่ปีที่ 38 ของการควบคุมการบริโภคยาสูบไทย
  • ควันบุหรี่มือสอง คร่าชีวิตคนไทยปีละกว่า 20,000 ราย งานวิจัยใหม่ยืนยันสูดควันบุหรี่มือสองเสี่ยงมะเร็งเต้านม
  • แกนนำเครือข่ายเยาวชน 9 องค์กร เรียกร้องรัฐบาลให้บุหรี่ไฟฟ้ายังคงเป็นสิ่งผิดกฎหมาย เพื่อปกป้องเด็กและเยาวชนไทยจากบุหรี่ไฟฟ้า
  • สื่อในสังกัดสำนักประชาสัมพันธ์ภาคใต้เขต 5 และ 6 ขานรับนโยบาย กรมประชาสัมพันธ์ ร่วมสื่อสารข้อมูล เพื่อปกป้องเด็กและเยาวชนจากบุหรี่ไฟฟ้า
  • บทเรียน ยกเลิกการห้ามขายและประเทศที่ให้ขายได้แต่ควบคุมมาตรฐานบุหรี่ไฟฟ้า และการแทรกแซงนโยบายควบคุมยาสูบโดยบริษัทบุหรี่