อินโดนีเซียเข้าร่วมสัญญาควบคุมยาสูบ



มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่                    

ACTION ON SMOKING AND HEALTH FOUNDATION

 

Press Release

ศูนย์ข่าว มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่

วันที่  22 พฤศจิกายน 2556
วันที่ข่าวตีพิมพ์  :  สามารถเผยแพร่ได้ทันที

อินโดนีเซียเข้าร่วมสัญญาควบคุมยาสูบ

          มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่  เปิดเผยข่าวที่รัฐมนตรีสาธารณสุขอินโดนีเซีย นาฟเซียห์ เอ็มบอย ประกาศว่าอินโดนีเซียจะลงสัตยาบันอนุสัญญาควบคุมยาสูบ  องค์การอนามัยโลกในสิ้นปีนี้

            ทั้งนี้อินโดนีเซียเป็นประเทศเดียวในอาเซียนและเป็นหนึ่งใน 19 ประเทศในโลกที่ยังไม่ได้ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาควบคุมยาสูบโลก  ซึ่งขณะนี้มี 177 ประเทศทั่วโลกซึ่งครอบคลุมร้อยละ 87.9 ของประชากรโลกได้ให้สัตยาบันแล้ว และมี 19 ประเทศที่ยังไม่ได้ลงสัตยาบัน โดยในหกภูมิภาคขององค์การอนามัยโลก  มีภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกตะวันตกที่ลงสัตยาบันครบทุกประเทศ ภูมิภาคอเมริกายังไม่ลงสัตยาบัน 6 ประเทศ ได้แก่ อาเจนตินา  คิวบา  โดมินีกันรีพับบลิค เอลซัลวาดอลร์ ไฮติและสหรัฐอเมริกา ภูมิภาคอัฟริกามี 5 ประเทศได้แก่ เอธิโอเปีย  มาลาวี โมซัมบิค ซิมบับเวย์ และ อิริเทรีย  ภูมิภาคเอ็มโร ได้แก่ โทรอคโค โซมาเรีย และซูดานโต้ ภูมิภาคยุโรป 4 ประเทศ ได้แก่ แอนดอรา  ลิชเทนสไตน์ โมนาโคและสวิสเซอร์แลนด์ และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้แก่อินโดนีเซีย

            ศ.นพ.ประกิต  วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่อินโดนีเซียจะลงสัตยาบันอนุสัญญาควบคุมยาสูบฯ  เพราะจะทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นรัฐภาคีอนุสัญญาครบทุกประเทศ  ทำให้ความร่วมมือในการควบคุมยาสูบของภูมิภาคอาเซียนมความเป็นเอกภาพมากยิ่งขึ้น เพราะที่ผ่านมา  อินโดนีเซียจะเข้าร่วมประชุมเวทีอนุสัญญาในฐานะประเทศผู้สังเกตการณ์  ทำให้มีบทบาทส่วนร่วมน้อย  ซึ่งประเทศที่ร่วมลงสัตยาบันมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติมาตรการต่าง ๆ ของอนุสัญญาเพื่อคุ้มครองสุขภาพทั้งชนรุ่นปัจจุบันและในอนาคตจากอันตรายร้ายแรงของยาสูบ  การลงสัตยาบันจะเป็นประโยชน์ต่ออินโดนีเซียเองที่ขณะนี้มีผู้สูบบุหรี่ถึง 60 ล้านคน  สูงมากเป็นอันดับที่สามของโลก รองจากจีนที่มีผู้สูบบุหรี่กว่า 300 ล้านคน และอินเดียที่สูบบุหรี่ 130 ล้านคนและเคี้ยวยาเส้น 90 ล้านคน 

ศ.นพ.ประกิต  กล่าวเพิ่มเติมว่าสำหรับเหตุผลที่การลงสัตยาบันของอินโดนีเซียล่าช้าเพราะก่อนหน้านี้มีสามกระทรวงหลักที่คัดค้าน อันได้แก่ กระทรวงการค้า กระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงทรัพยากรมนุษย์ โดยเกรงง่าการลงสัตยาบันจะกระทบต่อชาวไร่ยาสูบและรายได้ของรัฐ  โดยมีบริษัทบุหรี่ข้ามชาติยุยงอยู่เบื้องหลัง  แต่ปัจจุบันนี้ทุกกระทรวงได้เห็นด้วยกับการลงสัตยาบันแล้ว เพื่อประโยชน์ในการลดผลกระทบด้านสุขภาพของชาวอินโดนีเซียจากการสูบบุหรี่ ที่มีสภาวะรุนแรงในอันดับต้น ๆ ของโลกในขณะนี้ โดยเพศชายสูบบุหรี่ 6.1% เพศหญิง 5%  และยาสูบเป็นสาเหตุการเสียชีวิตหนึ่งในห้าของเพศชายอินโดนีเซีย

ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ :

ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่

โทร. 0-2278-1828 / 08-1822-9799

topic

  • อดีตแพทย์ชนบทค้านรื้อ กม. สสส.
  • แม่สูบบุหรี่-กินเหล้า ลูกเสี่ยงปากแหว่งฯ
  • มหาสารคามร่วมมือ สสส.จับมือดึงนักศึกษาเลิกบุหรี่เพื่อคนที่คุณรัก เพื่อสุขภาพฉลอง 150 ปี สู่ประชาคมอาเซียน
  • คณะสงฆ์มหาสารคาม รณรงค์เมืองปลอดบุหรี่
  • บทพิสูจน์
  • ชี้แก้ พ.ร.บ. สสส. ไม่ตอบโจทย์ปัญหานักวิชาการแนะยกเครื่องปรับระเบียบ
  • มอบใบประกาศเชิดชูเกียรติปวารณา งดเหล้า/บุหรี่ ครบพรรษา
  • ลดเหล้า-บุหรี่ หนีต้อเนื้อ
  • ตำบลปลอดบุหรี่
  • ภาคีบุหรี่หนุนกม.ยาเสพติด
  • คดีฟิลลิปมอร์ริสกับอธิปไตยของชาติ
  • สั่งร.ร.ปลอด'เหล้า-บุหรี่'
  • คณะสงฆ์รณรงค์ปลอดบุหรี่
  • สสส. หนุน โคราชโมเดล "ปลอดบุหรี่โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน" โชว์นวัตกรรมดีเด่น ช่วยคนเลิกบุหรี่
  • สบส. ขยายเวลาโครงการ "1 อสม. ขอ 1 คนเลิกบุหรี่" ตลอดปี 59 คาดลดนักสูบหน้าใหม่ ร้อยละ 80
  • 'ฮู'หนุนกม.ยาสูบฉบับใหม่ห่วง'บ.ข้ามชาติ'แทรกแซง
  • อช.เขาพนมเบญจา ทำบันทึกข้อตกลง MoU ปลอดบุหรี่ สู่ทิศทางท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพปลอดบุหรี่ วิถี New Normal
  • GenZ โคราช เรียนรู้กฎหมายควบคุมยาสูบ เพิ่มทักษะการปล่อยของ
  • อบรมพัฒนาศักยภาพแกนนำ Gen Z อุบลฯ จากรุ่น สู่รุ่น
  • มาทำความรู้จักกับโรคปอดรั่ว
  • รองโฆษกรัฐบาลห่วงเด็กไทยติดบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น หนุนคนรุ่นใหม่ไม่สูบบุหรี่-บุหรี่ไฟฟ้า
  • สร้างสื่อการเรียนรู้ สำหรับเด็กประถมวัย 22-23 พ.ย.2565
  • มาทำความรู้จักกับโรคปอดรั่ว
  • อช.เขาพนมเบญจา ทำบันทึกข้อตกลง MoU ปลอดบุหรี่ สู่ทิศทางท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพปลอดบุหรี่ วิถี New Normal
  • ชายหาดบางแสน เป็นพืิ้นที่ท่องเที่ยวต้นแบบ ที่ปลอดภัยด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
  • “ชงรัฐบาล” เร่งปราบเว็บไซต์พนันออนไลน์และเว็บไซต์จำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า
  • เกาหลีเหนือ ผ่านกฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในสถานที่สาธารณะ
  • อันตรายของบุหรี่ต่อร่างกายของผู้หญิง เพิ่มความเสี่ยงโรคมากมาย
  • คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ในอาคารชุด
  • "เลิกเพื่อลูก" ต๊ะ BoyScout กับเส้นทางสูบบุหรี่ 30 ปี
  • อบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรโรงเรียนพระปริยัติธรรมปลอดบุหรี่
  • มอบโล่ ชู นวัตกรรมดีเด่น เพื่อป้องกันนักเรียนติดบุหรี่ เครือข่ายครูเพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่ 4 ภาค 81 โรง
  • กฎหมายห้ามสูบบุหรี่ ลดการอยู่โรงพยาบาลของเด็กที่เป็นหืด
  • อินโดนีเซียเข้าร่วมสัญญาควบคุมยาสูบ
  • สพฐ.จับมือเครือข่ายครู และกระทรวงสาธารณสุข ขยายผลสร้างโรงเรียนปลอดบุหรี่ทั่วประเทศ
  • มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ จัดเวทีสรุปบทเรียน เนื่องในโอกาสก้าวสู่ปีที่ 38 ของการควบคุมการบริโภคยาสูบไทย
  • ควันบุหรี่มือสอง คร่าชีวิตคนไทยปีละกว่า 20,000 ราย งานวิจัยใหม่ยืนยันสูดควันบุหรี่มือสองเสี่ยงมะเร็งเต้านม
  • แกนนำเครือข่ายเยาวชน 9 องค์กร เรียกร้องรัฐบาลให้บุหรี่ไฟฟ้ายังคงเป็นสิ่งผิดกฎหมาย เพื่อปกป้องเด็กและเยาวชนไทยจากบุหรี่ไฟฟ้า
  • สื่อในสังกัดสำนักประชาสัมพันธ์ภาคใต้เขต 5 และ 6 ขานรับนโยบาย กรมประชาสัมพันธ์ ร่วมสื่อสารข้อมูล เพื่อปกป้องเด็กและเยาวชนจากบุหรี่ไฟฟ้า
  • บทเรียน ยกเลิกการห้ามขายและประเทศที่ให้ขายได้แต่ควบคุมมาตรฐานบุหรี่ไฟฟ้า และการแทรกแซงนโยบายควบคุมยาสูบโดยบริษัทบุหรี่
  • 5 องค์กรร่วมต่อต้านการสูบบุหรี่ไฟฟ้า: เน้นการศึกษาข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์กำหนดแนวทางการสื่อสาร
  • 14 ราชวิทยาลัยวิชาชีพแพทย์แห่งประเทศไทย ร่วมแถลงการณ์ “หมอไม่เอาบุหรี่ไฟฟ้า” ในวันแพทย์ไทย