กลยุทธ์การตลาดบุหรี่ ไล่ล่าวัยรุ่นเป็นฐานลูกค้าใหม่



คอลัมน์ : เปิดโปงกลยุทธ์บริษัทบุหรี่

กลยุทธ์การตลาดบุหรี่ ไล่ล่าวัยรุ่นเป็นฐานลูกค้าใหม่

ย้อนไปเมื่อปี 2558 สถานการณ์ผู้สูบบุหรี่ในกลุ่มเยาวชนมีถึง 200,000 คนต่อปี นับว่าเป็นจำนวนที่มากอยู่ จากการศึกษาเอกสารลับทางการตลาดของบริษัทบุหรี่ยักษ์ใหญ่ บอกว่าภายใน 30 ปี บริษัทบุหรี่จะต้องล้มละลาย หากเราไม่สามารถไล่ล่าให้วัยรุ่นเข้ามาสูบบุหรี่ได้ บริษัทบุหรี่จึงพยายามงัดกลยุทธ์ทางการตลาด เพื่อมาสร้างแรงจูงใจให้เด็กและเยาวชนลิ้มลองการสูบบุหรี่ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทั้งรูปลักษณ์บุหรี่ให้เข้าถึงวัยรุ่นอย่างบุหรี่ไฟฟ้า การนำสารเมนทอลหรือรสชาติอื่นมาใส่ในบุหรี่เพื่อเชิญชวนให้เสพติด

การนำดารานักร้อง หรือ Influencer มาสูบบุหรี่ หรือจัดกิจกรรมเชิญชวนทางออนไลน์ มูลนิธิฯ และเครือข่ายรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ต้องทำงานอย่างหนัก ทั้งการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวดมากขึ้น การรณรงค์และเข้มงวดจริงจังในการบังคับใช้พื้นที่ห้ามสูบบุหรี่ ณ สถานศึกษาและที่สาธารณะ การสร้างจิตสำนึกให้ร้านค้าปลีกตามชุมชนไม่ขายบุหรี่ให้กับเด็กและเยาวชน ตลอดจนการผลักดันเรื่องภาษีของบุหรี่และยาเส้น เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ยาสูบมีราคาแพง สกัดกั้นให้วัยรุ่นเข้าถึงบุหรี่ยากขึ้น “รวมทั้งการผลักดันให้มีการสร้างองค์ความรู้ในพิษภัยของยาสูบ บรรจุเป็นเนื้อหาหลักสูตรในระบบการศึกษาโดยกระทรวงศึกษาธิการ เพราะโดยลำพังที่ทางมูลนิธิฯ และภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคมอื่น ๆ ทำการเสริมสร้างความรู้นอกระบบอย่างเดียวไม่เพียงพอ การจะสร้างสังคมไทยปลอดบุหรี่ และการดูแลเด็กและเยาวชนให้ห่างไกลยาเสพติดในรูปแบบของสินค้าถูกกฎหมายอย่าง บุหรี่ต้องอาศัยองค์กรทุกภาคส่วนของสังคมเป็นองคาพยพในการขับเคลื่อนสังคมไป ด้วยกัน”

ศ.เกียรติคุณ นพ. ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าว จากข้อมูลทางการ แพทย์สากลคนที่ติดบุหรี่ จะเริ่มสูบบุหรี่เมื่อเป็นวัยรุ่น อายุเฉลี่ย 17 ปี เพราะอยากรู้ อยากลอง ในวัยรุ่นที่ทดลองสูบบุหรี่เพียง 100 มวน หรือเพียง 5 ซอง สารนิโคตินในบุหรี่ที่มีฤทธิ์ติดง่ายและเลิกยากเทียบเท่าเฮโรอีน ก็จะทำให้เยาวชนคนนั้นติดบุหรี่ทันที ในขณะที่พอถึงอายุ 20 ปี 80 % ของคนไทยที่สูบบุหรี่ได้ติดบุหรี่ไปแล้ว และพอหลังอายุ 24 ปี จะมีคนติดบุหรี่น้อยมาก นี่ก็แสดงให้เห็นว่าการเสพติดบุหรี่เกือบทั้งหมดติดขณะเป็นวัยรุ่นหรือ ผู้ใหญ่อายุน้อย ในจำนวนคนติดบุหรี่ 10 – 11 ล้านคนในประเทศไทย มีอยู่ 1 ใน 3 หรือประมาณ 37 % ที่พยายามจะเลิกบุหรี่ในแต่ละปี แต่ที่ยังเลิกยากอยู่ เป็นเพราะฤทธิ์ของนิโคตินสารเสพติดในบุหรี่ ที่เขาว่าติดง่าย เลิกยากยังเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เลิกไม่สำเร็จ โดยจากสำรวจคนที่ติดบุหรี่ 10 คน มีเลิกไม่ได้ถึง 7 คน และที่เลิกบุหรี่ได้มีเพียง 3 คน ซึ่งใช้เวลาเฉลี่ยกว่า 20 ปีทีเดียวจึงเลิกได้สำเร็จ และช่วงอายุที่เลิกบุหรี่ได้สำเร็จอายุเฉลี่ย 40 ปีขึ้นไป เพราะเริ่มมีครอบครัว มีลูก มีความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น แต่อีก 7 คนที่เลิกไม่ได้ก็อาจจะไปเลิกได้ตอนตายหรือใกล้ตายแล้ว”

นางสาวรุ่งอรุณ ลิ้มฬหะภัณ รักษาการผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก (สำนัก 1) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สะท้อนถึงทิศทางการหนุนเสริมการขับเคลื่อนงานของเครือข่ายภาคีหลักของแผนงาน ควบคุมยาสูบ ว่า เพื่อสร้างสังคมปลอดบุหรี่ในยุคปัจจุบันและอนาคตบุหรี่ทำให้เกิดความสูญเสีย ทางเศรษฐกิจจำนวนมาก การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการสูบบุหรี่ของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2560 พบว่า การสูบบุหรี่ส่งผลให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจปีละ 87,250 ล้านบาท (คำนวณเป็นความสูญเสีย 42 บาทต่อบุหรี่ 1 ซอง) โดยรวมแล้วความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการสูบบุหรี่คิดเป็นร้อยละ 0.56 ของ GDP และคิดเป็นร้อยละ 15 ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศทั้งหมด

แม้ว่าสถานการณ์การสูบบุหรี่ของประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปในภาพรวมลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่กลับพบว่ามีผู้สูบบุหรี่เป็นครั้งคราวกลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ใน พ.ศ. 2534 มีผู้สูบบุหรี่เป็นครั้งคราวเพียง 590,528 คน กลับเพิ่มขึ้นเป็น 1,251,695 คน ในพ.ศ. 2560 การสูบบุหรี่ เยาวชนไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และอายุที่เริ่มสูบน้อยลง เป็นสัญญาณสะท้อนให้เห็นว่าอุตสาหกรรมยาสูบมีกลยุทธ์ทางการตลาดรูปแบบใหม่ที่อาจส่งผลให้มีผู้ทดลองสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น “ถึงแม้ว่าไทยมีพระราชบัญญัติควบคุมยาสูบ พ.ศ.2560 ที่มีการห้ามการโฆษณาประชาสัมพันธ์ทุกรูปแบบ (Total Ban) แต่ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายที่ยังมีข้อจำกัดผนวกกับไม่สามารถดูแลพื้นที่ ออนไลน์ได้ ทำให้เกิดเสรีบนโลกออนไลน์ เรื่องนี้จึงเป็นประเด็นท้าทายที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องเร่งทำงานขับเคลื่อน สอดประสานในการสกัดกั้นไม่ให้มีการเพิ่มจำนวนนักสูบหน้าใหม่เพิ่มขึ้นอีก”

อย่างไรก็ตาม นอกจากสารเสพติดในบุหรี่ที่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนเลิกบุหรี่ยากแล้ว กลยุทธ์ทางการตลาดของบุหรี่ ที่ไล่ล่าวัยรุ่นให้มาเป็นลูกค้ารายใหม่ทดแทนลูกค้าเก่าที่ล้มหายตายจากโรค ภัยจากบุหรี่ปีละกว่า 50,000 กว่าคน การปล่อยให้เด็กและเยาวชน ต้องเข้าสู่วังวนของบุหรี่ เท่ากับเป็นการผลักไสให้พวกเขาเดินไปสู่เส้นทางการเสพสารเสพติดที่ต้องทน ทุกข์ทรมานนานนับ 20 ปี กว่าจะเลิกบุหรี่ได้ และเมื่อเลิกได้ตอนนั้นสภาพร่างกายของเขาอาจจะย้ำแย่แค่ไหน ไม่อาจประเมินได้ ดังนั้น ครอบครัว โรงเรียน และชุมชน จึงเป็นปราการด่านแรกที่จะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงในเรื่องนี้ได้ดีที่สุด เราต้องร่วมกันสร้างความรู้ให้เยาวชนรู้เท่าทันกลยุทธการตลาดบุหรี่ในทุกรูปแบบ

ข้อมูล : ทีมสื่อสาร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

Smartnews เผยแพร่ 10 กรกฎาคม 2563

topic

  • ขอพรวันสงกรานต์
  • ติดแชทช่วยเลิกบุหรี่ได้
  • ใช้แอพพลิเคชั่นต้านบุหรี่ ทวงสิทธิ์ ห้ามสูบให้เยาวชน
  • โรงแรมปลอดบุหรี่
  • เลิกบุหรี่ด้วยวิธีง่าย ๆ
  • ภาคีจิตอาสา...รณรงค์"ทวงสิทธิ์ ห้ามสูบ"
  • ผลวิจัย'มหิดล'ชี้ชัด11ปีคนไทยสูบเพิ่ม
  • ศาลปค.สูงสุดกลับคำสั่งศาลปค.กลาง ไฟเขียวเพิ่มขนาดภาพเตือนซองบุหรี่
  • รวมพลัง...ภาคีจิตอาสา "ทวงสิทธิ์ ห้ามสูบ"
  • 'หัวตะพาน'เดินหน้าตำบลปลอดบุหรี่
  • รอมฎอน...ตั้งใจมั่นเลิกบุหรี่มอบสิ่งประเสริฐแก่ตัวเอง-คนอื่น
  • เข้าพรรษาปลอดบุหรี่ - พระสงฆ์สุขภาพดี มหาจุฬาฯจับมือ สสส. เดินหน้าโครงการ
  • ปรับบริษัทบุหรี่ 7.6 แสนล้าน
  • กลยุทธ์พ่อค้าบุหรี่ อีแอบปั้นงานวิจัย?
  • สสส. ชวนประกวดเซลฟี่สติ๊กเกอร์พื้นที่ห้ามสูบบุหรี่ "ทวงสิทธิ์ ห้ามสูบ" ชิงโล่รางวัลสมเด็จพระเทพฯ เชื่อช่วยกระตุ้นประชาชนตื่นตัวปกป้องสิทธิพื้นที่ไร้ควัน
  • ทวงสิทธิ์ห้ามสูบรณรงค์พื้นที่ปลอดบุหรี่ทวงสิทธิ์ห้ามสูบ
  • สูบบุหรี่มือสาม
  • หนุนรุ่นจิ๋ว ช่วยรุ่นใหญ่ สกัดควันร้ายบุหรี่
  • เลิกดูด (บุหรี่) หันมาดื่ม (นม)
  • เข้าพรรษานี้ โอกาสดีๆ หยุดทำร้าย ทำลายปอด...ด้วยการเลิกบุหรี่
  • "การประชุมวิชาการบุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 16" 24-26 กรกฎาคมนี้
  • ประเพณีแห่เทียน เข้าพรรษางดบุหรี่ อิ่มบุญ สุขภาพดี ชีวีมีสุข ไร้ควันบุหรี่
  • ส.ทร ยกพลขึ้นบก ร่วมปกป้อง Gen Z : ไม่สูบ
  • รณรงค์สร้างความเข้าใจต่อการปฏิบัติตามกฎหมายใหม่
  • โพลล์ชี้ พ.ร.บ.ยาสูบใหม่ เอานักสูบหน้าใหม่อยู่หรือไม่อยู่ ?
  • สื่อกองทัพบก ภาค 2 และภาค 4 ร่วมป้องกันนักสูบหน้าใหม่
  • ครูวิทยากร บทบาทสำคัญเพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่
  • เลิกบุหรี่เริ่มที่บ้านลดนักสูบ 3 จ.แดนใต้
  • พร้อมขับเคลื่อนแผนควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบระดับจังหวัด
  • บุหรี่ตัวการร้ายต่อสุขภาพ
  • ผู้นำศาสนาและชุมชนปัตตานีร่วมรณรงค์...รอมฎอนเลิกบุหรี่
  • งดเหล้าเข้าพรรษา-เลิกบุหรี่ถวายในหลวง
  • อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ ได้เผยแพร่คำตัดสินให้ รัฐบาลอุรุกวัย ชนะคดีที่ ฟิลลิป มอร์ริส บริษัทบุหรี่ข้ามชาติ ฟ้องเรียกค่าเสียหาย
  • Gen Z Academy รู้ เข้าใจ กฎหมายและเฝ้าระวัง สู่การถ่ายทอดและปฏิบัติจริง
  • สื่ออีสานร่วมเฮ็ดงานรณรงค์ไม่สูบบุหรี่
  • มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ จับมือ 17 องค์กรสื่อสารมวลชนภาคเหนือ ขับเคลื่อนงานรณรงค์ไม่สูบบุหรี่
  • 8 อ 12 ท "สร้างภูมิคุ้มกันและบำรุงปอด" ให้แข็งแรง
  • เคล็ดลับช่วงกักตัว ดูแลตัวเองเสริมภูมิคุ้มกันโควิด-19
  • สานฝัน ครีเอเตอร์หน้าใหม่ สู่ความร่วมมือสร้างสังคมปลอดบุหรี่สู้โควิด
  • คผยจ. พังงา ประชุมติดตามสถานการณ์การบริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบ
  • 7 ประโยชน์สำคัญของ “สารต้านอนุมูลอิสระ”
  • สถาบันยุวทัศน์ฯ ลงชุมชน ลุยสร้างความเข้าใจพิษภัยบุหรี่ไฟฟ้า
  • รมต.สธ.ประกาศจุดยืนว่า "กระทรวงสาธารณสุขไม่สนับสนุนให้บริโภคบุหรี่ไฟฟ้า"
  • กลยุทธ์การตลาดบุหรี่ ไล่ล่าวัยรุ่นเป็นฐานลูกค้าใหม่
  • School Tour บ้านเด็กเล็กปลอดควันบุหรี่สัญจร
  • “HEALTHY HERO รู้เท่าทันบุหรี่ไฟฟ้า และป้องกันโรค NCDs”