2568/07/08 ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับสภาวิชาชีพ สุขภาพเพื่อร่วมขับเคลื่อนนโยบายและกิจกรรมควบคุมการบริโภคยาสูบในวิชาชีพสุขภาพ



     

 

เปิดผลสำรวจนิสิตนักศึกษา 8 วิชาชีพสุขภาพ ยังใช้ "บุหรี่ไฟฟ้า" 2.33% เสพติดนิโคตินรุนแรง 51.3%เคยเลิกบุหรี่ 68.5% พบ "เพื่อน กลิ่น รส" ปัจจัยสำคัญในการสูบ ชี้ 88% เห็นด้วยว่าบุคลากรสุขภาพควรเป็นต้นแบบไม่สูบบุหรี่ สสส. สานพลังเครือข่ายวิชาชีพด้านสุขภาพ แพทยสมาคมฯ สร้างค่านิยมปลอดบุหรี่ในสถานศึกษา พัฒนาหลักสูตรู้ทันพิษภัยยาสูบและการเลิกบุหรี่ หวังพัฒนาศักยภาพเป็นกำลังหลักของระบบสุขภาพควบคุมยาสูบในอนาคต

     เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 8 ก.ค. 2568 ที่อาคารมหิตลาธิเบศร กระทรวงสาธารณสุข ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ นายกแพทยสภา พร้อมด้วย นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ รศ.นพ.สุทัศน์ รุ่งเรื่องหิรัญญา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ร่วมแถลงข่าวผลการสำรวจพฤติกรรม ทัศนคติและการได้รับความรู้ด้านการบริโภคยาสูบของนิสิต นักศึกษาวิชาชีพสุขภาพในประเทศไทย และลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับสภาวิชาชีพ สุขภาพเพื่อร่วมขับเคลื่อนนโยบายและกิจกรรมควบคุมการบริโภคยาสูบในวิชาชีพสุขภาพ

     ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี กล่าวว่า เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ และแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ สสส. ได้สำรวจพฤติกรรม ทัศนคติ และการเรียนการสอนด้านการควบคุมยาสูบของนิสิตนักศึกษาในสาขาวิชาชีพสุขภาพ (Global Health Professions Student Survey : GHPSS) ครั้งที่ 4 ครอบคลุมนักศึกษา 8 สาขา ได้แก่ แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัช พยาบาล เทคนิคการแพทย์กายภาพบำบัด สาธารณสุข และสัตวแพทย์ รวม 17,572 คน เพื่อรับทราบสถานการณ์การบริโภคยาสูบของ นิสิตนักศึกษาวิชาชีพสุขภาพ เพื่อนำไปกำหนดนโยบายหรือแนวทางพัฒนาหลักสูตร ส่งเสริมทัศนคติที่เหมาะสม ขับเคลื่อนมาตรการลดการบริโภคยาสูบ และพัฒนาศักยภาพของกลุ่มนิสิตนักศึกษาวิชาชีพสุขภาพให้พร้อมเป็นกำลังหลักในการสร้างระบบสุขภาพที่เข้มแข็งนำไปไปสู่สังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน

     รศ.นพ.สุทัศน์ กล่าวว่า จากผลสำรวจ GHPSS พบอัตราการใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบทุกชนิดในนิสิต นักศึกษาวิชาชีพสุขภาพมีแนวโน้มลดลงเหลือ 2.57% แม้สัดส่วนการสูบบุหรี่ไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน โดย สูบบุหรี่ไฟฟ้าสูงถึง 2.33% ในขณะที่สูบบุหรี่มวนเพียง 0.66% โดยเฉลี่ยสูบบุหรี่วันละ 2-3 มวน แต่สูบบุหรี่ไฟฟ้าถึงวันละ 30-99 คำ นอกจากนี้ 51.3% ของนิสิตนักศึกษาเหล่านี้มีระดับการเสพติดนิโคตินระดับรุนแรง ยังพบการใช้ผลิตภัณฑ์นิโคตินรูปแบบใหม่ ๆ เช่น นิโคตินถุง และพบการใช้กัญชาและน้ำกระท่อมร่วมกับบุหรี่ไฟฟ้าด้วย ในแง่ของการได้รับควันบุหรี่มือสองพบว่า มีคนมาสูบใกล้ตัวในสถานศึกษา 17.9% ทั้งที่เป็นสถานที่ห้ามสูบบุหรี่ทุกชนิด กลุ่มตัวอย่างเหล่านี้เคยเลิกบุหรี่ภายใน 1 ปีที่ผ่านมามากถึง 68.5% สำหรับกลุ่มที่ยังสูบ บุหรี่ระบุว่าต้องการเลิกสูบภายใน 30 วัน สูงถึง 20% และต้องการเลิกสูบภายใน 6 เดือนอีก 12.4% "กลุ่มนิสิตนักศึกษา ไม่เห็นด้วยว่าบุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัยกว่าบุหรี่แบบเดิมถึงร้อยละ 70.8 อย่างไรก็ตามราว 1 ใน 3 ยังมองว่า บุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าแฟชั่นสำหรับวัยรุ่น 31.2% ระบุว่า กลิ่นรสที่หลากหลายทำให้อยากทดลองใช้ และการสูบบุหรี่ไฟฟ้าทำให้เข้ากับเพื่อนได้ง่าย 66.6% ปัจจัยที่ทำให้หันมาสูบบุหรี่ไฟฟ้า ได้แก่ เพื่อนและกลิ่น/รสของบุหรี่ไฟฟ้า ขณะที่ สถาบันการศึกษาได้จัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับยาสูบดีขึ้นกว่าเดิม โดยได้รับการสอนเรื่องพิษภัยของยาสูบมากถึง 81.5% การเลิกบุหรี่ 72.9% ยาช่วยเลิกบุหรี่ 68.6% และกลยุทธ์ของธุรกิจยาสูบ 44.9% นอกจากนี้ ยังเห็นว่าบุคลากรวิชาชีพสุขภาพควรให้คำแนะนำในการเลิกบุหรี่แก่ผู้ป่วยมากถึง 93.2% และควรเป็นต้นแบบของการไม่สูบบุหรี่สำหรับผู้ป่วยถึง 88%" รศ.นพ.สุทัศน์ กล่าว

     ด้าน นพ.พงศ์เทพ กล่าวว่า สสส. เห็นความสำคัญของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีบทบาทเชิงรุกในการป้องกันและลดผลกระทบจากยาสูบ จึงสานพลังการทำงานร่วมกับเครือข่ายวิชาชีพ สุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่อย่างเป็นระบบใน 5 ด้าน 1.พัฒนาองค์ความรู้และหลักฐานทางวิชาการที่เกี่ยวกับยาสูบ เช่น แนวทางการใช้ยาเลิกบุหรี่หรือแผ่นแปะนิโคติน พัฒนาชุดตรวจโคตินในน้ำลาย 2.พัฒนา ศักยภาพของบุคลากรวิชาชีพสุขภาพ เช่น พัฒนาทักษะการให้บริการเลิกบุหรี่ ส่งเสริมระบบพี่เลี้ยงด้านการควบคุมยาสูบในโรงพยาบาล 3.หนุนเสริมระบบบริการสุขภาพ การช่วยเลิกบุหรี่ของ "คลินิกฟ้าใส" 545 แห่งทั่วประเทศ 4.ส่งเสริมและผลักดันให้เกิดเครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ 5.สื่อสารสาธารณะและสร้างต้นแบบบุคลากรทางวิชาชีพสุขภาพในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและเป็นนักสื่อสารสุขภาพที่สร้างแรงบันดาลใจให้ประชาชนกว่า 800 คน

     "ภาพรวมอัตราการสูบบุหรี่ของคนไทยลดลงอย่างต่อเนื่องจาก 10.8 ล้านคน ในปี 2550 เหลือ 9.8 ล้านคน ในปี 2567 แต่การสูบบุหรี่ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด 2-4 เท่า และโรคมะเร็งปอด 25 เท่า ภาครัฐต้องแบกภาระค่ารักษาพยาบาลจากโรคที่เกิดจาก บุหรี่ไฟฟ้า ได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือด และโรคหอบหืด สูงถึง 306,636,973 บาท" ผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าว

     นพ.พงศ์เทพ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันไทยต้องเผชิญความท้าทายใหม่ ๆ ทั้งการระบาดของบุหรี่ไฟฟ้า/ผลิตภัณฑ์ยาสูบรูปแบบใหม่ และการตลาดเชิงรุกที่มุ่งเป้าไปที่เด็กและเยาวชน ดังนั้น บทบาทของเครือข่าย วิชาชีพสุขภาพจึงมีความสำคัญ โดยเฉพาะการป้องกันการเริ่มต้นสูบบุหรี่ในกลุ่มเด็กและเยาวชน ผ่านการให้ความรู้ การสร้างค่านิยมปลอดบุหรี่ในสถานศึกษา ชุมชน และสถานบริการสุขภาพ การสื่อสารเชิงรุกเพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับพิษภัยของยาสูบ ควบคู่ไปกับการให้คำปรึกษา การบำบัดรักษาการติดนิโคติน และสนับสนุนผู้ต้องการเลิกบุหรี่ เชื่อว่าหากทุกภาคส่วนร่วมมือดำเนินงานควบคุมยาสูบอย่างใกล้ชิด ต่อเนื่อง และ มุ่งมั่น จะสามารถร่วมกันสร้างสังคมไทยปลอดบุหรี่ที่ไม่ใช่เพียงถ้อยคำเชิงสัญลักษณ์บนกระดาษ แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม และถือเป็นก้าวสำคัญของการปกป้องสุขภาพของคนไทย เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีขึ้นต่อไป

topic

  • ขอพรวันสงกรานต์
  • ติดแชทช่วยเลิกบุหรี่ได้
  • ใช้แอพพลิเคชั่นต้านบุหรี่ ทวงสิทธิ์ ห้ามสูบให้เยาวชน
  • โรงแรมปลอดบุหรี่
  • เลิกบุหรี่ด้วยวิธีง่าย ๆ
  • ภาคีจิตอาสา...รณรงค์"ทวงสิทธิ์ ห้ามสูบ"
  • ผลวิจัย'มหิดล'ชี้ชัด11ปีคนไทยสูบเพิ่ม
  • ศาลปค.สูงสุดกลับคำสั่งศาลปค.กลาง ไฟเขียวเพิ่มขนาดภาพเตือนซองบุหรี่
  • รวมพลัง...ภาคีจิตอาสา "ทวงสิทธิ์ ห้ามสูบ"
  • 'หัวตะพาน'เดินหน้าตำบลปลอดบุหรี่
  • รอมฎอน...ตั้งใจมั่นเลิกบุหรี่มอบสิ่งประเสริฐแก่ตัวเอง-คนอื่น
  • เข้าพรรษาปลอดบุหรี่ - พระสงฆ์สุขภาพดี มหาจุฬาฯจับมือ สสส. เดินหน้าโครงการ
  • ปรับบริษัทบุหรี่ 7.6 แสนล้าน
  • กลยุทธ์พ่อค้าบุหรี่ อีแอบปั้นงานวิจัย?
  • สสส. ชวนประกวดเซลฟี่สติ๊กเกอร์พื้นที่ห้ามสูบบุหรี่ "ทวงสิทธิ์ ห้ามสูบ" ชิงโล่รางวัลสมเด็จพระเทพฯ เชื่อช่วยกระตุ้นประชาชนตื่นตัวปกป้องสิทธิพื้นที่ไร้ควัน
  • ทวงสิทธิ์ห้ามสูบรณรงค์พื้นที่ปลอดบุหรี่ทวงสิทธิ์ห้ามสูบ
  • สูบบุหรี่มือสาม
  • หนุนรุ่นจิ๋ว ช่วยรุ่นใหญ่ สกัดควันร้ายบุหรี่
  • เลิกดูด (บุหรี่) หันมาดื่ม (นม)
  • เข้าพรรษานี้ โอกาสดีๆ หยุดทำร้าย ทำลายปอด...ด้วยการเลิกบุหรี่
  • "การประชุมวิชาการบุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 16" 24-26 กรกฎาคมนี้
  • ประเพณีแห่เทียน เข้าพรรษางดบุหรี่ อิ่มบุญ สุขภาพดี ชีวีมีสุข ไร้ควันบุหรี่
  • ส.ทร ยกพลขึ้นบก ร่วมปกป้อง Gen Z : ไม่สูบ
  • รณรงค์สร้างความเข้าใจต่อการปฏิบัติตามกฎหมายใหม่
  • โพลล์ชี้ พ.ร.บ.ยาสูบใหม่ เอานักสูบหน้าใหม่อยู่หรือไม่อยู่ ?
  • สื่อกองทัพบก ภาค 2 และภาค 4 ร่วมป้องกันนักสูบหน้าใหม่
  • ครูวิทยากร บทบาทสำคัญเพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่
  • เลิกบุหรี่เริ่มที่บ้านลดนักสูบ 3 จ.แดนใต้
  • พร้อมขับเคลื่อนแผนควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบระดับจังหวัด
  • บุหรี่ตัวการร้ายต่อสุขภาพ
  • ผู้นำศาสนาและชุมชนปัตตานีร่วมรณรงค์...รอมฎอนเลิกบุหรี่
  • งดเหล้าเข้าพรรษา-เลิกบุหรี่ถวายในหลวง
  • อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ ได้เผยแพร่คำตัดสินให้ รัฐบาลอุรุกวัย ชนะคดีที่ ฟิลลิป มอร์ริส บริษัทบุหรี่ข้ามชาติ ฟ้องเรียกค่าเสียหาย
  • Gen Z Academy รู้ เข้าใจ กฎหมายและเฝ้าระวัง สู่การถ่ายทอดและปฏิบัติจริง
  • สื่ออีสานร่วมเฮ็ดงานรณรงค์ไม่สูบบุหรี่
  • มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ จับมือ 17 องค์กรสื่อสารมวลชนภาคเหนือ ขับเคลื่อนงานรณรงค์ไม่สูบบุหรี่
  • 8 อ 12 ท "สร้างภูมิคุ้มกันและบำรุงปอด" ให้แข็งแรง
  • เคล็ดลับช่วงกักตัว ดูแลตัวเองเสริมภูมิคุ้มกันโควิด-19
  • สานฝัน ครีเอเตอร์หน้าใหม่ สู่ความร่วมมือสร้างสังคมปลอดบุหรี่สู้โควิด
  • คผยจ. พังงา ประชุมติดตามสถานการณ์การบริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบ
  • 7 ประโยชน์สำคัญของ “สารต้านอนุมูลอิสระ”
  • สถาบันยุวทัศน์ฯ ลงชุมชน ลุยสร้างความเข้าใจพิษภัยบุหรี่ไฟฟ้า
  • รมต.สธ.ประกาศจุดยืนว่า "กระทรวงสาธารณสุขไม่สนับสนุนให้บริโภคบุหรี่ไฟฟ้า"
  • กลยุทธ์การตลาดบุหรี่ ไล่ล่าวัยรุ่นเป็นฐานลูกค้าใหม่
  • School Tour บ้านเด็กเล็กปลอดควันบุหรี่สัญจร
  • “HEALTHY HERO รู้เท่าทันบุหรี่ไฟฟ้า และป้องกันโรค NCDs”
  • 2568/07/08 ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับสภาวิชาชีพ สุขภาพเพื่อร่วมขับเคลื่อนนโยบายและกิจกรรมควบคุมการบริโภคยาสูบในวิชาชีพสุขภาพ