ลำดับเหตุการณ์สำคัญของการควบคุมการสูบบุหรี่ของประเทศไทย

ลำดับเหตุการณ์สำคัญของการควบคุมการสูบบุหรี่ของประเทศไทย

 

 

 

 

พ.ศ.

เหตุการณ์

2517

  • ตีพิมพ์คำเตือนบนซองบุหรี่  “บุหรี่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ”

2519

  • ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครห้ามสูบบุหรี่ในโรงภาพยนตร์และรถประจำทาง

2523

  • องค์การอนามัยโลกกำหนดให้เป็นปีรณรงค์ไม่สูบบุหรี่

2525

 

  • เปลี่ยนคำเตือนบนซองบุหรี่  จาก “บุหรี่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ” เป็น “บุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ”

2526

  • สัมมนาเรื่อง “การสูบบุหรี่และสุขภาพในประเทศไทย”

2529

  • ก่อตั้งโครงการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ มูลนิธิหมอชาวบ้าน

2530

 

  • ชมรมแพทย์ชนบท ร่วมกับ โครงการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ และองค์กรต่างๆ จัดวิ่งรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ทั่วประเทศ

2531

  • ครม. กำหนดนโยบายควบคุมการสูบบุหรี่
  • มติ ครม.ห้ามโฆษณาบุหรี่
  • กำเนิดวันงดสูบบุหรี่โลก
  • ห้ามสูบบุหรี่บนเครื่องบินภายในประเทศ

2532

 

  • ครม. แต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมการบริโภคยาสูบแห่งชาติ (คบยช.)
  • ครม. มีมติเห็นชอบในหลักการณ์ตามมติของ คบยช.  โดยให้มีการพิมพ์คำเตือนบนซองบุหรี่ (ด้านหน้าซอง)  ด้วยขนาดตัวอักษรแต่ไม่เล็กกว่า 2x2 ม.ม.  และมีข้อความ 7 ข้อความ  นอกจากนี้ ยังห้ามสูบบุหรี่ในยานพาหนะขนส่งสาธารณะทุกประเภท
  • คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคออกประกาศห้ามโฆษณาบุหรี่ในทุกสื่อ                  ทั้งทางตรงและทางอ้อม
  • การบินไทยห้ามสูบบุหรี่ในเที่ยวบินภายในประเทศ
  • สมาคมผู้ค้าบุหรี่ยื่นข้อเรียกร้องให้สำนักผู้แทนการค้าสหรัฐ ใช้กฎหมายการค้ามาตรา 301 กดดันให้ไทยเปิดตลาดบุหรี่

2533

  • ป๋า ส. อาสนจินดา  นำขบวนศิลปินดาราเข้าร่วมรณรงค์
  • เริ่มรณรงค์ให้โรงเรียนปลอดบุหรี่

2534

 

  • แกตต์ ตัดสินว่า การห้ามนำเข้าบุหรี่ต่างประเทศของไทยขัดต่อกฎบัตรของ แกตต์
  • ครม. ประกาศเปิดให้มีการนำเข้าบุหรี่ได้อย่างเสรี พร้อมกับรับหลักการร่าง พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ และอนุมัติการก่อตั้งสถาบันควบคุมการบริโภคยาสูบกระทรวงสาธารณสุข
  • เผยแพร่สปอตรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่เรื่องแรก ชุด “อย่างนี้หรือเท่  เหม็นจะตาย” โดยมีคุณสัญญา คุณากร  และเด็กชายวศิน  มีปรีชา (ตูมตาม) แสดง
  • เริ่มรณรงค์ให้สำนักงานปลอดบุหรี่

2535

 

  • สภานิติบัญญัติแห่งชาติผ่านร่างกฎหมาย พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบและ พ.ร.บ.คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่
  • เริ่มบังคับใช้การพิมพ์คำเตือนบนซองบุหรี่ โดยเพิ่มขนาดตัวอักษร และข้อความเป็น 10 ข้อความ

2536

 

  • โครงการรณรงค์ฯร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขผลักดันให้มีการขึ้นภาษีบุหรี่        ( เริ่มต้นที่ 55 %) และ ครม. มีมติให้มีการขึ้นภาษีบุหรี่เป็นระยะๆ ตามอัตราเงินเฟ้อ 
  • กระทรวงสาธารณสุขทำหนังสือถึงกรมสรรพสามิตขอความร่วมมือไม่ให้ออกใบอนุญาตขายบุหรี่แบบเคี้ยว หรือบุหรี่ไร้ควัน
  • เริ่มโครงการที่ให้เด็กอนุบาลเป็นสื่อรณรงค์
  • เริ่มโครงการสายด่วนทางโทรศัพท์ 1600  เพื่อให้คำปรึกษาการเลิกสูบบุหรี่

2537

  • กระทรวงการคลังขึ้นภาษีบุหรี่ จาก  55 %  เป็น 60 %
  • คัดค้านการผลิตบุหรี่สำหรับผู้หญิง
  • เริ่มโครงการหญิงไทยไม่สูบบุหรี่
  • บริษัทบุหรี่ข้ามชาติประกาศที่จะใช้การสนับสนุนศิลปะเพื่อขยายตลาดบุหรี่ในอาเซี่ยน
  • เริ่มโครงการรณรงค์เปิดโปงกลยุทธ์บริษัทบุหรี่
  • เริ่มโครงการร้านอาหารปลอดบุหรี่

2538

  • รัฐบาลขึ้นภาษีบุหรี่ จาก  60 %  เป็น 62 %
  • เริ่มโครงการรณรงค์ให้วัดปลอดบุหรี่
  • เริ่มโครงการรณรงค์ให้เวทีประกวดนางงามทุกเวทีปลอดบุหรี่

2539

 

  • กระทรวงการคลังตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาการจัดตั้งหน่วยงานเพื่อสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพและควบคุมยาสูบด้วยภาษียาสูบ
  • รัฐบาลขึ้นภาษีบุหรี่ จาก  62 %  เป็น 68 %
  • โครงการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่และหน่วยงานอื่น ๆ ร่วมกันคัดค้านการผลิตบุหรี่สำหรับผู้หญิงของโรงงานยาสูบ จนกระทรวงการคลังสั่งให้โรงงานยาสูบยกเลิกโครงการดังกล่าว

2540

 

  • กระทรวงสาธารณสุขออกกฎกระทรวง เรื่อง ส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ยาสูบ และออกประกาศกระทรวงแก้ไขเงื่อนไขของการแสดงฉลากและข้อความในฉลากคำเตือนบนซองบุหรี่ โดยแก้ไขข้อความในฉลากคำเตือนเป็น 10 ข้อความ เพิ่มข้อความคำเตือนบนฉลาก “บุหรี่ทำให้สมรรถภาพทางเพศเสื่อม”
  • ออกประกาศกระทรวงเพื่อขยายสถานที่ที่กำหนดให้เป็นเขตปลอดบุหรี่เพิ่มขึ้น
  • โครงการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ปรับฐานะเป็นมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่
  • หลวงพ่อคูณเลิกสูบบุหรี่

2541

 

  • รัฐบาลขึ้นภาษีบุหรี่ครั้งที่  4  จาก 68 %  เป็น 70 %
  • กฎกระทรวงสาธารณสุขฉบับใหม่  เรื่องกำหนดสถานที่ี่ต้องจัดเขตปลอดบุหรี่ขยายเพิ่มเติม  มีผลบังคับใช้ตั้งแต่  5  กุมภาพันธ์  2541
  • มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ร่วมกับองค์การขนส่งมวลชน  จัดกิจกรรม “รถเมล์ปลอดบุหรี่”  โดยติดสติกเกอร์บนรถเมล์เพื่อสร้างกระแสค่านิยมการไม่สูบบุหรี่ในที่สาธารณะ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานที่ที่กฎหมายกำหนดคุ้มครองสุขภาพคนส่วนรวมไม่ให้ได้รับอันตรายจากควันบุหรี่
  • มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่  ยื่นจดหมายต่อ  นายชวน  หลีกภัย  พร้อมเสนอให้รัฐบาลพิจารณาดำเนินการในเรื่องการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้ทราบถึงกฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะและบังคับใช้กฎหมาย
  • เปิดตัวเว็บไซต์  มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่  เพื่อรณรงค์เผยแพร่ข้อมูลและสร้างกระแสของการรณรงค์ให้กว้างขึ้น
  • นพ.หทัย  ชิตานนท์  ประธานสถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย  เปิดเผยถึงเล่ห์บริษัทบุหรี่ข้ามชาติที่ได้มาตั้งโรงงานผลิตในเอเชียหวังตีตลาดบุหรี่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะเยาวชน
  • นพ.หทัย  ชิตานนท์  ประธานสถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย  ขอความร่วมมือจากองค์กรต่างๆ  ที่เคยร่วมจัดงานประกวดศิลปกรรมยอดเยี่ยมอาเซียน  ครั้งที่  5  ไม่ให้ความร่วมมือกับบริษัทบุหรี่
  • พล.ต.เหมราช  ธารีไทย  รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล  กวดขันจับปรับรถเมล์  รถยนต์  หรือจักรยานยนต์  ที่ฝ่าฝืนติดสติกเกอร์ชื่อ  หรือเครื่องหมายโฆษณาบุหรี่  เนื่องจากผิด พ.ร.บ.การบริโภคยาสูบ พ.ศ.2535  ปรับสูงสุดจำนวน  20,000  บาท
  • บริษัทบุหรี่  BAT  เสวนานักข่าว  ปฏิเสธเรื่องอันตรายของการสูบบุหรี่มือสอง  และโต้รายงานของสำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา(EPA)
  • นพ.หทัย  ชิตานนท์  ประธานสถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย  มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ  ได้ทำหนังสือเตือนไปยังร้านค้าปลอดภาษี Airport Duty Free Shop  ในท่าอากาศยานดอนเมืองที่มีการจัดโปรแกรมส่งเสริมการขายที่ผิดกฎหมาย
  • คำเตือนใหม่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่  5  พ.ย.  2541  โดยกำหนดให้บุหรี่ที่ผลิตในประเทศไทยหรือนำเข้าจะต้องพิมพ์คำเตือนเป็นภาษาไทย 10 คำเตือน “บุหรี่ทำให้สมรรถภาพทางเพศเสื่อม”  และเปลี่ยนตำแหน่งของคำเตือนไปอยู่ด้านบนซอง
  • มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่เรียกร้องให้รัฐบาลไทย  โดยกระทรวงสาธารณสุข  เปิดเผยส่วนประกอบสารปรุงแต่งในบุหรี่แต่ละยี่ห้อ  รวมทั้งชื่อสารที่มีอยู่ในควันบุหรี่ของแต่ละยี่ห้อให้ประชาชนทราบ

2542

 

  • 12  ตุลาคม  2542  รัฐบาลมีมติให้ปรับภาษีสรรพสามิตบุหรี่ขึ้นเป็น  ร้อยละ  71.5  เพื่อนำไปชดเชยการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล

2543

  • WHO ถวายโล่เกียรติยศ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
  • เชิญชวนภาคีร่วมรณรงค์เลิกบุหรี่ถวายในหลวง
  • เยาวชนรณรงค์ “มหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่”
  • ขยายเครือข่ายรณรงค์สู่อาเซียน  เกิด South East Asia Tobacco Control Alliance (SEATCA)

2544

 

  • เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ มีนาคม  2544  รัฐบาลมีมติให้ปรับภาษีสรรพสามิตบุหรี่จากอัตราร้อยละ  71.5  เป็น  ร้อยละ  75
  • เริ่มรณรงค์  สนับสนุนวิทยากรช่วยการเลิกสูบบุหรี่ให้หน่วยงานต่าง ๆ

2545

 

  • 8 พฤศจิกายน 2545 กระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศกระทรวงฯ ให้ร้านอาหารที่ติดเครื่องปรับอากาศให้เป็นเขตปลอดบุหรี่ 100%
  • มีแหล่งงบประมาณสนับสนุนการรณรงค์ที่ยั่งยืน เกิดพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๕ (สสส.)
  • ฟุตบอลโลกปลอดบุหรี่
  • ค้านแปรรูปโรงงานยาสูบ

2546

  • ผลักดันโรงเรียนปลอดบุหรี่ระดับนโยบาย
  • องค์การอนามัยโลกรณรงค์ให้ภาพยนตร์ปลอดบุหรี่

2547

 

  • ประเทศไทยมีภาพคำเตือนบนซองบุหรี่เป็นรูปภาพ มีผลตั้งแต่มีนาคม 2547
  • รณรงค์ให้บ้านปลอดบุหรี่
  • ในหลวงมีพระราชดำรัสทรงห่วงใยการสูบบุหรี่ของเยาวชนไทย
  • ประเทศไทยร่วมลงนามเป็นภาคีประเทศของอนุสัญญาควบคุมการบริโภคยาสูบ ( Frame Work Convention on Tobacco Control “ FCTC )

2548

 

  • ธันวาคม 2548  รัฐบาลมีมติขึ้นภาษีบุหรี่ จากร้อยละ 75 เป็นร้อยละ 79
  • เกิดศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.)
  • ก่อตั้งเครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่
  • เกิดเครือข่ายครูนักรณรงค์เพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่
  • ปิดช่องทางโฆษณาบุหรี่ ณ จุดขาย

2549

  • มูลนิธิรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ จัดให้มีการรณรงค์เพื่อสร้างกระแสตื่นตัวเรื่องการรณรงค์ให้บ้านปลอดบุหรี่
  • เกิดเครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่
  • กระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศกระทรวงฯ ห้ามมีการโฆษณา ณ จุดขาย โดยห้ามตั้งตู้โชว์บุหรี่บริเวณจุดขายโดยเด็ดขาด
  • กระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศกระทรวงฯ การเพิ่มภาพคำเตือนฉลากรูปภาพ 4 สี พร้อมข้อความคำเตือนแสดงพิษภัยของบุหรี่ซิกาแรตและบุหรี่ซิการ์ จาก 6 ภาพเป็น 9 ภาพ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 11 พ.ศ. 2549
  • กระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศกระทรวงฯ พิมพ์ชื่อสารพิษและสารก่อนมะเร็ง ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 10 พ.ศ. 2549
  • กระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศกระทรวงฯ  ห้ามพิมพ์สรรพคุณบุหรี่ว่า รสอ่อน รสเบา ในบุหรี่ซิกาแรต บุหรี่ซิการ์และยาเส้น ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 12 พ.ศ. 2549
  • ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 16 พ.ศ. 2548 ประกาศให้เพิ่มพื้นที่เป็นเขตปลอดบุหรี่ เช่น ล็อบบี้โรงแรม สถานนวดแผนไทย กิจการสปา เป็นต้น
  • ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 17  พ.ศ. 2549 ประกาศให้เพิ่มพื้นที่เป็นเขตปลอดบุหรี่ ได้ปรับปรุงแก้ไขจากประกาศฯ ฉบับเดิมเพิ่มเติม โดยได้ประกาศให้สถานที่หลายแห่งเป็นเขตปลอดบุหรี่ทั้งหมด เช่น โรงเรียนหรือสถานศึกษา หรือสถานบันการศึกษาระดับที่ต่ำกว่าอุดมศึกษา ศาสนสถาน หรือสถานที่ประกอบศาสนกิจในนิกาย หรือศาสนาต่างๆ  เป็นต้น

2550

  • รัฐบาลมีมติขึ้นภาษีบุหรี่ จากร้อยละ 79 เป็นร้อยละ 80
  • กระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 18 พ.ศ. 2550 ประกาศเพิ่มเติมพื้นที่ปลอดบุหรี่ ให้ร้านอาหารที่ติดเครื่องปรับอากาศปลอดบุหรี่ทั้งหมด ตลาดต้องจัดพื้นที่สูบบุหรี่
  • มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ นำทีมงานเข้าเฝ้าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสครบรอบ 20 ปี มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่
  • จัดตั้งศูนย์ร้องเรียนสุราและยาสูบ เพื่อสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายสุราและยาสูบ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข โดยการสนับสนุนของ สสส.
  • เครือข่ายครูนักรณรงค์เพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่ นำ “หลักสูตรโรงเรียนปลอดบุหรี่” เสนอต่อปลัดกระทรวงศึกษาธิการเพื่อให้พิจารณาในหลักสูตรชั้นมัธยมศึกษา
  • ริเริ่มโครงการ “โรงพยาบาลปลอดบุหรี่ : ศูนย์กลางการแก้ปัญหาบุหรี่และสุขภาพ”

-         องค์การอนามัยโลกรณรงค์ให้สำนักงานและสถานที่สาธารณะปลอดบุหรี่ 100 %

2551

  • ผลักดันให้กระทรวงสาธารณสุขประกาศเพิ่มเติมให้ ผับ-บาร์ และตลาดปลอดบุหรี่ มีผลบังคับใช้ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2551

2552

  • รัฐบาลมีมติขึ้นภาษีบุหรี่ จากร้อยละ 80 เป็น ร้อยละ 85

2553

  • มีภาพคำเตือนใหม่ จากเดิม 9 ภาพ เพิ่มเป็น 10 ภาพ โดยมีภาพคำเตือนชุดใหม่ 3 ภาพ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม 2553 เป็นต้นไป โดยทุกภาพคำเตือน มีการแสดงข้อความ “เลิกบุหรี่ โทร.1600” เพื่อให้คำแนะนำแก่นักสูบที่อยากเลิกสูบบุหรี่ พร้อมเพิ่มพื้นที่แสดงฉลากภาพคำเตือนจากร้อยละ 50 เป็น 55 และเพิ่มจากเดิม 9 ภาพเป็น 10 ภาพ ภายใน 1 คาตอน จะต้องมีอย่างน้อย 2 ภาพที่แตกต่าง
  • มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 19 พ.ศ.2553 ประกาศให้พื้นที่ต่างๆ ปลอดบุหรี่ทั้งหมด เช่น โรงพยาบาล โรงแรม หอพัก อพาร์-ทเมนต์ บริเวณโถงพักคอย และบริเวณทางเดินทั้งหมดในอาคารเป็นเขตปลอดบุหรี่ เป็นต้น

2554

  • มีนาคม 2554  มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่  เสนอกระทรวงการคลังยกเครื่องการจัดเก็บภาษียาสูบทั้งระบบ เพื่อให้ประเทศไทยได้รับผลประโยชน์สูงสุดจากการใช้นโยบายการขึ้นภาษียาสูบ อันจะทำให้รัฐบาลมีรายรับจากภาษียาสูบเพิ่มขึ้นพร้อม ๆ กับการที่ทำให้คนสูบบุหรี่น้อยลง
  • คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกปี 2554  องค์การอนามัยโลก เรียกร้องให้ทุกฝ่ายสนับสนุนการดำเนินงานตามข้อกำหนดต่าง ๆ ที่ระบุในอนุสัญญาควบคุมยาสูบ  องค์การอนามัยโลก(FCTC) ซึ่งขณะนี้มี 172 ประเทศทั่วโลกได้ร่วมลงสัตยาบันแล้ว
  • การสำรวจ GATS  ล่าสุดพบว่า  อัตราการสูบบุหรี่ของชายไทยที่มีแนวโน้มลดลงมา 15 ปี  และทรงตัวมา 5 ปี  กลับมีอัตราเพิ่มขึ้นจาก 45.6 % ในปี พ.ศ. 2552  เป็น 46.6 % ในปี 2554
  • มิถุนายน พ.ศ.2554 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้แต่งตั้งคณะกรรมการปรับปรุงและจัดทำร่างพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบขึ้น และนำร่าง พ.ร.บ. เข้าสู่การประชาพิจารณ์ตามขั้นตอน และดำเนินการปรับปรุงจนร่าง พ.ร.บ. ได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบถี่ถ้วน โดยมีการประชุมคณะกรรมการทั้งหมด 66 ครั้ง
  • วันที่ 19-20 กันยายน 2554  สหประชาชาติหรือยูเอ็นจัดประชุมซัมมิทผู้นำประเทศ เพื่อกำหนดแนวทางแก้ปัญหา “โรคไม่ติดต่อ”  4 โรคที่เป็นปัญหาของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งโรคทั้ง 4 ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง โรคปอดเรื้อรัง และโรคเบาหวาน  เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ได้เสนอรัฐบาลไทย กำหนดนโยบายและสนับสนุนการควบคุมโรคไม่ติดต่อทั้ง 4 โรคในประเทศไทย โดยผ่านบท บรรณาธิการวารสาร SMART
  • มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่  ครบรอบ “25 ปีเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่”

2555

  • มติ ครม.วันที่ 17 เมษายน 2555 กระทรวงการคลังห้ามธุรกิจยาสูบทำกิจกรรมภายใต้นโยบายความรับผิดชอบต่อสังคม
  • ประเด็นวันไม่สูบบุหรี่โลก 31 พฤษภาคม  2555  องค์การอนามัยโลกกำหนดคือ Tobacco Industry Interference   :  จับตาเฝ้าระวัง ยับยั้งอุตสาหกรรมยาสูบ
  • คณะกรรมการควบคุมการบริโภคยาสูบแห่งชาติมีมติเห็นชอบให้ออกประกาศเปลี่ยนภาพคำเตือนจากขนาด 55 เป็น 85% ตามข้อเสนอของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  • รัฐบาลมีมติขึ้นภาษีบุหรี่ จากร้อยละ 85 เป็น ร้อยละ 87

2556

  • วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556  ที่ประชุมคณะกรรมการควบคุมการบริโภคยาสูบแห่งชาติ  มีเป็นมติเอกฉันท์ เรื่องการออกประกาศเพิ่มขนาดภาพคำเตือนบนซองบุหรี่ จากขนาด 55 เป็น 85%  โดยมีผู้แทนจากกระทรวงต่าง ๆ รวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิและสื่อมวลชน  ร่วมเป็นสักขีพยานในที่ประชุม
  • ประเด็นวันไม่สูบบุหรี่โลก 31 พฤษภาคม  2556  Ban tobacco advertising, promotion and sponsorship. “ไม่ใช้ ไม่รับ ไม่สนับสนุนโฆษณายาสูบร้าย  ทำลายชีวิต”
  • สามบริษัทยื่นคำฟ้องศาลปกครองเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.2556  เพื่อระงับและขอให้ประกาศว่ากฎหมายเพิ่มขนาดภาพคำเตือนบนซองบุหรี่จาก 55 เป็น 85% เป็นโมฆะ  และศาลปกครองให้การคุ้มครองคำฟ้องของบริษัทบุหรี่เมื่อเดือนสิงหาคม  พ.ศ.2556 จนกว่าจะมีการตัดสินขั้นสุดท้าย
  • เดือนตุลาคม 2556  เปิดตัวสมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่  ซึ่งก่อตั้งขึ้นเพื่อสร้างความเข้มแข็งในการควบคุมการบริโภคยาสูบเพื่อปกป้องสุขภาพของประชาชน

2557

  • นำเสนอสำรวจการบริโภคยาสูบของประชากรไทยในโครงการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2556 และการเปรียบเทียบย้อนหลังในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา 
  • มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่จะทำหนังสือถึง สำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. หน่วยงานที่รับผิดชอบการให้ใบอนุญาตการจัดงานแสดงสินค้าในประเทศไทย ขอให้ปฏิเสธที่จะอนุญาตให้มีการจัดงานแสดงสินค้ายาสูบโลกขึ้นในประเทศไทย
  • บุหรี่ซิกาแรตที่มีขนาดภาพคำเตือน 85% ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขได้มีการวางจำหน่ายแล้วทั้งบุหรี่ที่ผลิตโดยโรงงานยาสูบและที่นำเข้าจากต่างประเทศ  ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายก่อนที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดวันที่ 23 กันยายน พ.ศ.2557
  • สมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่  ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการควบคุมยาสูบเสนอประธานคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
  • 18 ธันวาคม 2557 รมต.สธ.แถลงข่าวเสนอร่าง พรบ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ฉบับใหม่ ต่อ ครม.
  • มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ นำเยาวชนให้กำลังใจ รมต.สธ.สนับสนุนร่างพ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ฉบับใหม่
  • เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากการสูบบุหรี่ ซึ่งประกอบด้วย ผู้ป่วยมะเร็งปอด และผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรังอื่นๆ ยื่นจดหมายเปิดผนึกถึง ประธานคณะกรรมาธิการด้านสาธารณสุข สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ณ รัฐสภา
  • ธันวาคม 2557  มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่  จัดทำ  สมุดปกขาวข้อเท็จจริง และความจำเป็นของร่าง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ เผยแพร่

2558

  • มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่  จัดทำสมุดปกขาวข้อเท็จจริงและความจำเป็นของร่าง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ  ซึ่งปรับปรุงใหม่ในเดือน มกราคม  มีนาคม และ เมษายน  2558  รวม 4 ครั้ง เผยแพร่สู่ภาคีเครือข่าย 7 หมื่นเล่ม
  • 12  มกราคม 2558  700 องค์กรหนุนกฎหมายบุหรี่ ผู้ป่วยจากบุหรี่ จับมือสมาคมแพทย์และ 700 องค์กร หนุนกฎหมายบุหรี่ฉบับใหม่เพื่อปกป้องเยาวชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อบริษัทบุหรี่ โดยรวบรวมรายชื่อได้มากกว่า 118,000 รายชื่อ    ณ ลานสยามสแควร์วัน (SQ ONE)
  • 18 กุมภาพันธ์ 2558  รมว.สาธารณสุข และ WHO ร่วมแถลงข่าว ผอ.ใหญ่องค์การอนามัยและเลขาธิการภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมการบริโภคยาสูบ โลกส่งจดหมายถึงนายก หนุนให้คลอดกฎหมายบุหรี่โดยเร็ว
  • 30 มีนาคม 2558  หนังสือสนับสนุน พ.ร.บ. โดย แพทย์และบุคลากรสาธารณสุขอาวุโส  จำนวน 60 รายชื่อ  ถึงท่านนายก

-         26 พฤษภาคม 2558 ที่ประชุมครม.เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. ... โดยสาระหลักของร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวจะกำหนดอายุขั้นต่ำของผู้ซื้อผลิตภัณฑ์ยาสูบ จากเดิมอายุ 18 ปี เป็น 20 ปี และแบ่งขาย ห้ามผู้ค้า ผู้ผลิตทำการโฆษณาด้วยวิธีการต่างๆ รวมถึงการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสังคม (ซีเอสอาร์) ทั้งนี้กระทำผิดข้อห้ามจะเพิ่มโทษจำคุกไม่เกิน          1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  • 30 พฤษภาคม 2558  สมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ มอบ 10,964,903 รายชื่อให้ นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานคนที่ 1 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อสนับสนุนการออกกฎหมายบุหรี่ฉบับใหม่ โดยปลอดจากการแทรกแซงของบริษัทบุหรี่
  • กันยายน – ธันวาคม  2558  ภาคีเครือข่ายภาคประชาชน จัดทำกิจกรรมล่ารายชื่อ 15 ล้าน รายชื่อ สนับสนุนร่าง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่ทั่วประเทศ

2559

  • 9 มกราคม 2559  เยาวชนจัดกิจกรรม “แถลงข่าวเปิดตัวภาพยนตร์เรื่อง The Assassin : ฆาตกร” ซึ่งทำโดย เครือข่ายเยาวชนยุวทัศน์ กรุงเทพมหานคร เพื่อร่วมรณรงค์และสนับสนุนร่าง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่
  • 9 กุมภาพันธ์  2559  คณะรัฐมนตรี  มีมติขึ้นภาษีบุหรี่ จากร้อยละ 87 เป็น ร้อยละ 90