ศูนย์ข่าวปลอดควัน :
ข่าวสื่อมวลชน (Press Release)
เชิญชวนคนไทยที่สูบบุหรี่ ใช้โอกาสที่โควิด - 19 ระบาดหนักนี้ มุ่งมั่นที่จะเลิกสูบบุหรี่ให้ได้ โดยองค์การอนามัยโลกได้กำหนดประเด็นการรณรงค์วันงดสูบบุหรี่โลก 31 พฤษภาคมปีนี้คือ Commit to quit หรือ มุ่งมั่นที่จะเลิกสูบ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย ได้กำหนดเป็นคำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก 2564 ไว้ว่า “เลิกสูบ ลดเสี่ยง คุณทำได้”
พญ.ดร.เริงฤดี ปธานวนิช ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เปิดเผยว่า ตามที่เครือข่ายสนับสนุนบุหรี่ไฟฟ้า เผยแพร่ข่าว ผลการวิจัยจาก คิงส์ คอลเลจ ลอนดอน ประเทศอังกฤษ ที่สรุปว่า การใช้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นประจำทำให้เลิกสูบบุหรี่ธรรมดาได้มากกว่าการใช้นิโคตินทดแทนในการช่วยเลิก หรือเลิกโดยไม่ใช้ตัวช่วยเลย และประเทศไทยควรจะพิจารณาให้บุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมายเพื่อลดจำนวนคนไทยที่สูบบุหรี่นั้น
ในโอกาสวันมะเร็งโลก 4 กุมภาพันธ์ ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เชิญชวนคนไทยทุกคนให้มีส่วนร่วมในการลดจำนวนคนไทยที่จะเป็นมะเร็ง ที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ตามที่ประเด็นรณรงค์วันมะเร็งโลกปีนี้ I Am and I Will : Together, all of our actions matter หรือ ไม่ว่าจะเป็นใครก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการป้องกันและลดจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็ง
ศ.นพ. ประกิต เรียกร้องให้คนไทยทุกคน ทั้งที่สูบบุหรี่และไม่สูบ ช่วยกันคนละไม้ละมือ เพื่อลดปัญหาโรคมะเร็งในคนไทย เพราะการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุการเกิดมะเร็งที่สำคัญที่สุดของประชากรโลกและของคนไทย จากตัวเลขคนไทยที่สูบบุหรี่ที่ยังมีถึง 10 ล้านคนเศษ จำนวนคนที่ได้รับควันบุหรี่มือสองในบ้าน มีประมาณ 17 ล้านคน และเกือบ 30 ล้านคนที่สัมผัสควันบุหรี่มือสองในที่สาธารณะ โดยควันบุหรี่มีสารก่อมะเร็งมากกว่า 70 ชนิด ทำให้อวัยวะคนสูบบุหรี่ หรือคนที่ได้รับควันบุหรี่มือสอง สัมผัสสารก่อมะเร็งทุกครั้งที่มีการสูบบุหรี่ หรือได้รับควันบุหรี่มือสอง จนเป็นมะเร็งขึ้นมากกว่า 20 ชนิดตามประกาศขององค์การอนามัยโลก การไม่สูบบุหรี่ การหลีกเลี่ยงการได้รับควันบุหรี่มือสอง และการป้องกันไม่ให้ลูกหลานสูบบุหรี่ทุกชนิด จะเป็นการลดโอกาสการเป็นมะเร็งที่สำคัญที่สุดของคนไทย
ศ.นพ.ประกิต เชิญชวนให้คนไทยทุกคนทั้งที่สูบและไม่สูบบุหรี่ มีส่วนร่วมลดโอกาสการเกิดมะเร็งจากการสูบบุหรี่ หรือได้รับควันบุหรี่มือสอง ด้วยการร่วมรณรงค์ 10 ข้อดังต่อไปนี้
งานวิจัยที่เพิ่งเผยแพร่ วันที่ 22 ธันวาคม 2563 โดยทีมนักวิจัยจาก มหาวิทยาลัยซานฟรานซิสโก แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา นำโดย ศาสตราจารย์สแตนตัน กล๊านทซ์ สืบค้นงานวิจัยที่มีการตีพิมพ์มาแล้วทั้งหมด 64 ชิ้น ที่ศึกษาความสัมพันธ์ของการใช้บุหรี่ไฟฟ้า กับการเลิกสูบบุหรี่ธรรมดา พบว่า งานวิจัย 55 ชิ้น ที่ทำการสำรวจการเลิกสูบบุหรี่ ในคนที่สูบบุหรี่ไฟฟ้าในการใช้ตามปกติ บุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้นำไปสู่การเลิกสูบบุหรี่ธรรมดา
วันนี้ 18 พฤษภาคม 2563 มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายควบคุมยาสูบ โดยการสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดการสัมมนาเครือข่าย เนื่องในวัน งดสูบบุหรี่โลก 2563 ประเด็น ติดบุหรี่ ติดโควิด เสี่ยงตายสูง #เลิกสูบลดเสี่ยง” ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อ เชิญชวนให้เครือข่ายนักรณรงค์ ให้ความสำคัญในการรณรงค์ถึงผลกระทบของบุหรี่ซึ่งส่งผลร้าย และลดความเสี่ยงที่จะเกิดอาการปอดอักเสบรุนแรง หากติดเชื้อ COVID–19
ศ.นพ. ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เปิดเผยแถลงการณ์ องค์การอนามัยโลก (ฮู) 11 พฤษภาคม 2563 ยืนยันไม่มีหลักฐานว่า การสูบบุหรี่หรือการใช้นิโคติน สามารถป้องกัน หรือรักษา COVID-19 ได้
1.ฮูออกแถลงการณ์ล่าสุด หลังจากเรียกประชุมผู้เชี่ยวชาญแบบฉุกเฉิน เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2563 ได้ข้อสรุป ยังไม่มีหลักฐานว่าการสูบบุหรี่หรือการใช้นิโคติน สามารถป้องกันหรือใช้รักษา COVID-19 ได้ ตามที่เป็นข่าว
เปิดโปงนักวิจัย การสูบบุหรี่และนิโคติน ป้องกันโควิด-19 ได้ มีความสัมพันธ์ยาวนานกับบริษัทยาสูบ
ศ.นพ. ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากมีอาจารย์มหาวิทยาลัยท่านหนึ่ง สอบถามมายังมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ว่า เมื่อเช้าวันที่ 26 เมษายน 2563 มีรายการทีวี ช่วงคุยข่าวช่องหนึ่ง อ้างว่ามีงานวิจัยจากฝรั่งเศสว่า นิโคตินจากการสูบบุหรี่ช่วยป้องกันโควิด-19 ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร
ดร.พญ.เริงฤดี ปธานวณิชย์ ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เปิดเผยท่าทีล่าสุดของหน่วยงานสาธารณสุขอังกฤษ Public Health England (PHE) ซึ่งมีสถานะเทียบเท่ากับ ศูนย์ควบคุมโรคสหรัฐอเมริกา CDC โดยเตือนชาวอังกฤษให้ใช้โอกาสที่โควิดระบาดอย่างรุนแรงในอังกฤษขณะนี้ เลิกสูบบุหรี่ โดย PHE ระบุว่า
องค์การอนามัยโลกและผู้เชี่ยวชาญโรคปอดออกโรงเตือนการสูบบุหรี่มีส่วนทำให้การป่วยจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รุนแรงขึ้น แนะเลิกบุหรี่เพื่อลดความเสี่ยง
มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ร่วมกับ กองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข จัดให้มีการสัมมนาผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ระดับจังหวัด พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด เพื่อทำความเข้าใจถึงบทบาทและพัฒนาเสริมสมรรถนะ การจัดกลไกในการทำงานแบบ Model development แก่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบจังหวัด และสื่อมวลชนในพื้นที่ 20 จังหวัดภาคอีสาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และสามารถดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบจังหวัดเพื่อบรรลุเป้าหมายนโยบายควบคุมการบริโภคยาสูบแห่งชาติ ภายใต้พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 ระหว่างวันที่ 13-15 พฤศจิกายน 2562 ณ โรงแรมประจักษ์ตรา ดีไซน์ โฮเทล อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
อุตสาหกรรมยาสูบยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญที่ขัดขวางนโยบายและมาตรการคุ้มครองสุขภาพของประชาชนจากภัยยาสูบในหลายประเทศ จากดัชนีชี้วัดว่ารัฐบาลสามารถจัดการกับการแทรกแซงนโยบายของพ่อค้าบุหรี่ได้หรือไม่ พบว่าไทยอยู่ในระดับดีเป็นที่ 2 ของอาเซียน และเป็นลำดับที่ 9 ของโลก
นักวิจัยสหรัฐฯ พบหนูเกือบหนึ่งในสี่ป่วยเป็นมะเร็งปอด และกว่าครึ่งพบเซลล์กระเพาะปัสสาวะที่ส่อว่าจะพัฒนาเป็นเนื้อมะเร็ง หลังจากสัมผัสไอระเหยของบุหรี่ไฟฟ้าเป็นเวลา 1 ปี
อเมริกันตายแล้ว 7 เพราะบุหรี่ไฟฟ้า ย้ำรัฐบาลไทยมาถูกทางแล้วที่ห้ามขาย
บุหรี่ไฟฟ้าคร่าชีวิตมะกัน 5 ป่วยกว่า 450
หมอประกิตเสนอหมออนุทิน ให้มีระบบเฝ้าระวังป่วยของไทย
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เตือนผู้สูบบุหรี่ที่เลิกสูบไปแล้ว อย่าไปทดลองสูบบุหรี่ไฟฟ้า เพราะจะเป็นสาเหตุที่ทำให้กลับไปสูบบุหรี่ธรรมดาใหม่ โดยงานวิจัยล่าสุดจากสหรัฐอเมริกาชี้การทดลองสูบบุหรี่ไฟฟ้า ทำให้คนเคยสูบบุหรี่ที่เลิกสูบมานานแล้วกลับไปสูบบุหรี่ธรรมดาใหม่ และในวัยรุ่นที่ทดลองสูบบุหรี่ไฟฟ้า เป็นต้นเหตุของการลองสูบบุหรี่ธรรมดาเพิ่มขึ้น และติดบุหรี่ธรรมดามากขึ้น
เรียนภาคีทุกท่าน
ช่วยกันลงชื่อสนับสนุนจดหมายเปิดผนึกถึงเฟสบุ๊ค เรียกร้องให้เฟสบุ๊คยุติการเป็นช่องทางให้บริษัทบุหรี่ใช้ Influencer ส่งเสริมการขายบุหรี่ไฟฟ้า กดที่นี่ https://influencer-sign-on.typeform.com/to/gHXDZ4
อย. สหรัฐเตือนฟิลลิป มอร์ริส ห้ามอ้างว่าบุหรี่ไฟฟ้า
อันตรายน้อยกว่าบุหรี่ธรรมดา ฝ่าฝืนเจอโทษหนัก
คว่ำบาตรการประชุมสนับสนุนโดยบริษัทบุหรี่
“วัณโรคหลังโพรงจมูกที่เลือดออกมาก ๆ” เป็นโรคหายาก 1 ในล้าน