สถิติการสูบบุหรี่ของคนไทย

รายงานการสำรวจระดับประเทศ
เรื่อง ผลกระทบจากนโยบายควบคุมการบริโภคยาสูบในประเทศไทย กลุ่มวัยรุ่น รอบที่ 5 (พ.ศ. 2554)
บทคัดย่อ
หัวหน้าโครงการวิจัย : บุปผา ศิริรัศมี 
คณะวิจัย : ทวิมา ศิริรัศมี, บุปผา ศิริรัศมี,จรัมพร  โห้ลำยอง, อารี จำปากลาย, ปริยา เกนโรจน์, ธีรนุช ก้อนแก้ว

โครงการ International Tobacco Control Survey-Southeast Asia (Thailand) เป็นโครงการติดตามผลกระทบเชิงนโยบายในการควบคุมการบริโภคยาสูบในประเทศไทย โดยการสำรวจระดับประเทศในกลุ่มวัยรุ่น รอบที่ 5 มีจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 963 คน ประกอบด้วยกลุ่มตัวอย่างเก่า จากการสำรวจรอบที่ 1 ถึงรอบที่ 4 ที่ติดตามได้จำนวน 694  คน และกลุ่มตัวอย่างใหม่ 269 คน ในภาพรวม  มีกลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายร้อยละ 54.4 และกลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 18.0 ปี 
ในประเด็นพฤติกรรมการสูบบุหรี่ พบว่า อัตราความชุกของการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นเท่ากับ 22.4 อัตราการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นชายเท่ากับร้อยละ 39.5 และอัตราการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นหญิงเท่ากับร้อยละ 2.3   โดยวัยรุ่นชายมีอัตราการสูบบุหรี่สูงสุดในภาคใต้   ส่วนวัยรุ่นหญิงมีอัตราการสูบบุหรี่สูงสุดในกรุงเทพฯ อายุเฉลี่ยที่เริ่มสูบบุหรี่หมดมวนครั้งแรกเท่ากับ 15.3 ปี  โดยอายุน้อยที่สุดที่เริ่มสูบบุหรี่ คือ 11 ปี ในกลุ่มวัยรุ่นที่สูบบุหรี่ เกือบครึ่งหนึ่งสูบบุหรี่ทุกวันหรือเกือบทุกวันและเกือบสามในสี่มีอาการติดบุหรี่   เป็นที่น่าห่วงใยว่า วัยรุ่นที่รายงานว่า เคยสูบบุหรี่เมื่ออยู่กับพ่อแม่มีสัดส่วนสูงขึ้นมากเมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจในรอบที่ผ่านมา แสดงว่า ครอบครัวของวัยรุ่นส่วนใหญ่รับรู้และยอมรับการสูบบุหรี่ของลูก
ในประเด็นความรู้และทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ พบว่า วัยรุ่นไทยยอมรับการสูบบุหรี่ของเพศชายมากกว่าการสูบบุหรี่ของเพศหญิง  โดยวัยรุ่นที่สูบบุหรี่ยอมรับการสูบบุหรี่มากกว่าวัยรุ่นที่ไม่สูบบุหรี่  วัยรุ่นส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องผลกระทบต่อสุขภาพจากการสูบบุหรี่ดีมาก โดยวัยรุ่นที่ไม่สูบบุหรี่มีความรู้เรื่องผลกระทบต่อสุขภาพจากการสูบบุหรี่ดีกว่าวัยรุ่นที่สูบบุหรี่ 
ในประเด็นของปัจจัยแวดล้อมต่อการสูบบุหรี่ของวัยรุ่น  พบว่า  บุคคลในครอบครัว และเพื่อนสนิทต่างมีบทบาทสำคัญต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของวัยรุ่น   โดยวัยรุ่นที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนที่มีผู้สูบบุหรี่จะมีอัตราการสูบบุหรี่สูงกว่าครัวเรือนที่ไม่มีผู้สูบบุหรี่ นอกจากนี้  วัยรุ่นที่สูบบุหรี่เกือบทั้งหมดมีเพื่อนสนิทสูบบุหรี่อย่างน้อย 1 คน  และเกือบครึ่งมีเพื่อนสนิททั้ง 5 คนสูบบุหรี่ 
ปัจจัยที่ใช้ทำนายการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นในการสำรวจรอบที่ 5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  ได้แก่  เพศ  สถานภาพการศึกษา  จำนวนเพื่อนสนิทที่สูบบุหรี่  พื้นที่ที่อนุญาตให้สูบบุหรี่ในบ้าน  ความรู้สึกต่อตนเอง  ความคิดเห็นต่อการสูบบุหรี่ และความถี่ในการเห็นฉลากคำเตือนบนซองบุหรี่   เมื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่ใช้ทำนายการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นในการสำรวจทั้ง 5 รอบ พบว่า  เพศ  และจำนวนเพื่อนสนิทที่สูบบุหรี่  เป็นปัจจัยสำคัญที่ใช้ทำนายการสูบบุหรี่ของวัยรุ่น
ในประเด็นของผลกระทบของนโยบายควบคุมการบริโภคยาสูบในประเทศไทย พบว่า นโยบายหลายด้านประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยการห้ามสูบบุหรี่ทุกพื้นที่ในบ้านมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และฉลากคำเตือนบนซองบุหรี่ส่งผลให้วัยรุ่นคิดถึงอันตรายต่อสุขภาพจากการสูบบุหรี่มีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นในทุกรอบการสำรวจ   อย่างไรก็ตาม การบังคับใช้กฏหมายควบคุมการบริโภคยาสูบยังขาดความเข้มแข็ง โดยผลการศึกษา พบว่า การขายบุหรี่ให้แก่เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี และการวางโชว์บุหรี่ ณ จุดขาย ยังคงอยู่และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

ผลกระทบจากนโยบายควบคุมการบริโภคยาสูบในประเทศไทย กลุ่มวัยรุ่น รอบที่ 5 (พ.ศ. 2554)

 

 

รายงานการวิจัยการติดตามผลกระทบจากนโยบายควบคุมการบริโภคยาสูบในประเทศไทย 

รายงานการสำรวจระดับประเทศ
เรื่อง ผลกระทบจากนโยบายควบคุมการบริโภคยาสูบในประเทศไทย กลุ่มผู้สูบบุหรี่ รอบที่ 5 (พ.ศ. 2554)
บทคัดย่อ
หัวหน้าโครงการวิจัย : บุปผา ศิริรัศมี 
คณะวิจัย : อารี จำปากลาย,บุปผา ศิริรัศมี, จรัมพร  โห้ลำยอง, ทวิมา ศิริรัศมี, ธีรนุช ก้อนแก้ว, ปริยา เกนโรจน์ 

โครงการ International Tobacco Control Policy Survey – Southeast Asia: ITCSEA (Thailand) ติดตามพฤติกรรมการสูบบุหรี่ การเลิกสูบบุหรี่ ความรู้เรื่องผลกระทบของการสูบบุหรี่ และความคิดเห็นต่อนโยบายและการรณรงค์ต่อต้านการสูบบุหรี่ มาตัง้ แต่ปี 2548 รายงานฉบับนี ้เสนอผลการสำรวจรอบที่ 5 (2554) ติดตามสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง 2,178 คน เป็นผู้สูบบุหรี่ 1,740 คนและผู้เลิกสูบบุหรี่ 438 คน เป็นผู้หญิงร้อยละ10 ผู้สูบบุหรี่สูบบุหรี่วันละ 10 มวนโดยเฉลี่ย ประมาณสองในสามประเมินว่าตนเองไม่ได้ติดบุหรี่หรือติดเพียงเล็กน้อย ผู้ที่สูบบุหรี่โรงงานและสูบบุหรี่มวนเองมีสัดส่วนใกล้เคียงกัน มีเพียงหนึ่งในสี่ที่มีความรู้อย่างถูกต้องว่า บุหรี่โรงงานและบุหรี่มวนเองเป็นอันตรายต่อสุขภาพเท่าๆ กัน มากกว่าสองในสามของผู้สูบบุหรี่เคยพยายามเลิกสูบบุหรี่ แต่มีเพียงส่วนน้อยมากที่มีการวางแผนที่แน่นอนว่าจะเลิกสูบบุหรี่ภายในหนึ่งเดือนข้างหน้า ผู้สูบบุหรี่ส่วนใหญ่มีความรู้ เกี่ยวกับผลกระทบของการสูบบุหรี่ต่อสุขภาพเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ผู้สูบบุหรี่จำนวนไม่น้อยที่ไม่ทราบว่า การสูบบุหรี่ทำให้เกิดโรคเนื้อตาย ทำให้หญิงมีครรภ์แท้งบุตร และทำให้เกิดโรคหัวใจ

มากกว่าสองในสามของผู้สูบบุหรี่พิจารณา หรืออ่านฉลากคำเตือนด้านสุขภาพบนซองบุหรี่อย่างใกล้ชิดบ่อยหรือบ่อยมาก ในขณะที่การเคยหลีกเลี่ยงที่จะมองหรือคิดถึงฉลากคำเตือนมีประมาณสองในสาม มากกว่าครึ่งเคยเปลี่ยนใจไม่สูบบุหรี่เมื่อคิดถึงฉลากคำเตือน และมากกว่าครึ่งสนใจใช้บริการของสายด่วยเลิกบุหรี่ โดยเฉพาะผู้สูบบุหรี่ในเขตชนบท

ผู้เลิกสูบบุหรี่ที่เคยกลับไปสูบบุหรี่อีกมีไม่ถึงหนึ่งในสิบ และเกือบทุกคนมั่นใจว่า จะสามารถรักษาสถานภาพการเป็ นผู้ไม่สูบบุหรี่ต่อไป เกือบทุกคนรายงานว่าสุขภาพดีขึน้
หลังจากเลิกสูบบุหรี่

สปอตโฆษณาเรื่อง พ่อแม่จะเสียใจถ้าลูกสูบบุหรี่ เข้าถึงผู้สูบบุหรี่และผู้สูบบุหรี่อย่างกว้างขวาง ส่วนใหญ่บอกว่า สปอตโฆษณาเรื่องนี้นำไปสู่การพูดคุยกันในครอบครัวและในกลุ่มเพื่อน ผู้เลิกสูบบุหรี่ตอบสนองต่อสปอตโฆษณาเรื่องนีสู้งกว่าผู้สูบบุหรี่

ในช่วงการสำรวจทัง้ 5 รอบ ผู้สูบบุหรี่ตอบสนองต่อฉลากคำเตือนด้านสุขภาพบนซองบุหรี่มากขึ้น อย่างไรก็ตาม การเคยเห็นการวางโชว์บุหรี่ ณ จุดขายก็เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ ผู้สูบบุหรี่ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการจำกัดพืน้ ที่สูบบุหรี่ในที่สาธารณะ

ผลการสำรวจยังสะท้อนความแตกต่างของพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ความคิดเห็น และการตอบสนองต่อการนโยบายและการรณรงค์ต่างๆ ของผู้สูบบุหรี่ที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร ที่อยู่ในเขตเมืองอื่นๆ และที่อยู่ในเขตชนบท ชี้ให้เห็นว่า การรณรงค์ต่อต้านการสูบบุหรี่ควรคำนึงถึง
ความแตกต่างในบริบทของเขตที่อยู่อาศัยเป็นประเด็นสำคัญ

รายงานการวิจัยการติดตามผลกระทบจากนโยบายควบคุมการบริโภคยาสูบในประเทศไทย

 

 

 

โครงการสำรวจการบริโภคยาสูบในผู้ใหญ่ ระดับโลก ปี 2554

โครงการสำรวจการบริโภคยาสูบในผู้ใหญ่ ระดับโลก ปี 2554

 

 

โครงการสำรวจการบริโภคยาสูบในผู้ใหญ่ระดับโลก 2552

 

โครงการสำรวจการบริโภคยาสูบในผู้ใหญ่ระดับโลก

 

 

ข้อมูลการเสียชีวิต ภาระโรค และต้นทุนต่อสังคมจากแอลกอฮอล์ บุหรี่ และยาเสพติด 2552

ข้อมูลการเสียชีวิต ภาระโรค และต้นทุนต่อสังคมจากแอลกอฮอล์ บุหรี่ และยาเสพติด

 

 

สถิติสำคัญเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ของคนไทย วิเคราะห์และเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหา 2549

สถิติสำคัญเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ของคนไทย  วิเคราะห์และเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหา

 

 

ตัวเลขสำคัญที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ 2548

ตัวเลขสำคัญที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่

 

 

สถิติสำคัญเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ของคนไทย 2547

สถิติสำคัญเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ของคนไทย

 

 

การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประชากร พ.ศ. 2547

การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประชากร พ.ศ. 2547

 

 

พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของคนไทย พ.ศ.2544

พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของคนไทย พ.ศ.2544

 

 

 

การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป พ.ศ.2543 - 2549

การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป พ.ศ.2543 - 2549

 

 

พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของคนไทย พ.ศ.2542

พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของคนไทย พ.ศ.2542

 

 

 

 

 

สถิติการสูบบุหรี่ของคนไทย

สถิติการสูบบุหรี่ของคนไทย

 

 

ตัวเลขเตือนภัยบุหรี่

ตัวเลขเตือนภัยบุหรี่