องค์การอนามัยโลกถวายโล่เกียรติยศแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
องค์การอนามัยโลกพิจารณาเห็นว่า ประเทศไทยประสบความคีบหน้าในการควบคุมยาสูบ เป็นแบบอย่างแก่ประเทศอื่นได้จึงจัดให้มีการจัดงานวันไม่สูบบุหรี่โลก พ.ศ.2543 ขึ้นที่กรุงเทพฯ เป็นกรณีพิเศษและทำพิธีถวายโล่เกียรติยศแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
วันพุธที่ 31 พฤษภาคม 2543 ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานวโรกาสให้ ดร.โกร ฮาร์เล็ม บรุนด์ลันด์ ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลกเข้าเข้าถวายโล่เกียรติยศ ณ วังสวนจิตรลดา เนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลกปี 2543
คำประกาศเกียรติคุณที่ปรากฏบนโล่
"ขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชแห่งประเทศไทย เพื่อเชิดชูพระเกียรติในฐานะที่ทรงเป็นผู้นำทางจิตใจที่มุ่งมั่นและกอปรด้วยพลัง ทรงเป็นแบบอย่างทางสาธารณสุข ได้ทรงสร้างแนวทางตลอดจนบริบททางวัฒนธรรม ที่สนับสนุนกิจกรรมต่อต้านบุหรี่ที่โดดเด่นที่สุดในเอเชีย อีกทั้งได้พระราชทานแรงบันดาลใจอันยิ่งใหญ่แก่ราษฎรของพระองค์ ประชาชนในภูมิภาคและในโลก"
คำกราบบังคมทูล ทราบฝ่าละอองธุลีระบาท
โดยผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก (แพทย์หญิงโกร ฮาร์เล็ม บรุนด์ลันด์)
ในวันพุธที่ 31 พฤษภาคม 2543
Thai Monarch and Tobacco Consumption Control
His Majesty King Bhumibol Adulyadej is the king who always pays attention and has concerns for all his subjects. His Majesty has strong desires to provide health for all to his people, works seriously and continuously on public health covering diseases control and health promotion, treatment and rehabilitation as well as tobacco consumption control, which is one of the major health problems. Thai people are highly appreciative of his royal kindness.
Obviously, the works of the first two awardees of the Prince Mahildol Award Foundation are related to tobacco control. The Prince Mahidol Award Foundation was instituted with the cabinet’s solution day 9 July 1991 to commemorate and publicize the honor of His Royal Highness Prince Mahidol of Songkhla, father of His Majesty the King. The Foundation has been embraced to be under the royal patronage since it was founded.
Sir William Richard Doll, an awardee in the field of medicine and a specialist in thoracic medicine, revealed in his research that smoking is associated with lung cancer; smokers more likely to suffer from many diseases like heart disease, pulmonary disease, to have high risk to death and in premature aging than the non-smokers. Moreover, Dr.Chen Minchang, an awardee in the field of public health and a specialist in the field of gastrointestinal, is the key figure in anti-smoking campaigns in the People's Republic of China.
The medical and health circle in Thailand has taken different measures in combating tobacco. It is recognized by the World Health Organization and various countries of having explicit concrete measure in controlling tobacco consumption. The success that Thailand has achieved despite being a developing country, facing budget restriction and having less power to deal with cigarette manufacturing countries which have vast capital is attributed to the management following in His Majesty's footsteps.
คำกราบบังคมทูล ทราบฝ่าละอองธุลีระบาท
โดยผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก (แพทย์หญิงโกร ฮาร์เล็ม บรุนด์ลันด์)
ในวันพุธที่ 31 พฤษภาคม 2543
ราชวงศ์ไทยกับการควบคุมการสูบบุหรี่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงสนพระหัยและทรง ห่วงใยในทุกๆ เรื่อง พระองค์ท่านมีพระประสงค์ที่จะให้พสกนิกรทุกคนมีสุขภาพพลานามัยที่เข้มแข็งสมบูรณ์จึงทรงทุ่มเททำงานหนักอย่างต่อเนื่องในด้านสาธารณสุขทั้งการควบคุมโรคการส่งเสริมสุขภาพ การให้บริการรักษาและดูแลผู้ป่วย รวมไปจนถึงการควบคุมการบริโภคยาสูบ ซึ่งเป็นหนึ่งในปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ พสกนิกรต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านเป็นล้นพ้น
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2534 ให้ก่อตั้งมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลเพี่อเผยแพร่พระเกียรติคุณของกรมหลวงสงขลานครินทร์พระราชบิดาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ มูลนิธิดังกล่าวได้รับพระราชกรุณาโปรดเกล้าให้อยู่ภายใต้พระบรมราชูปถัมภ์ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง ซึ่งก็เป็นที่เห็นได้ชัดว่าผู้ที่ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลสองคนแรกเป็นผู้ที่มีผลงานเกี่ยวข้องกับการควบคุมการสูบบุหรี่
เซอร์ วิลเลี่ยม ริชาร์ต ดอล ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลคนแรกและเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรคทรวงอก ได้เปิดเผยผลงานวิจัยว่า การสูบบุหรี่มีผลต่อการเป็นมะเร็งปอด ผู้ที่สูบบุหรี่มีโอกาสที่จะเป็นโรคหัวใจและโรคปอด และมีความเลี่ยงที่จะเสียชีวิตตั้งแต่อายุยังน้อยกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ ส่วนนายแพทย์ เฉิน หมิงจาง ผู้ที่ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลในสาขาสาธารณสุขและเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบบทางเดินอาหาร ก็เป็นบุคคลสำคัญในการรณรงค์ต่อต้านการสูบบุหรี่ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน
วงการแพทย์ในประเทศไทยได้มีมาตรการหลายมาตรการในการรณรงค์ต่อต้านการสูบบุหรี่การดำเนินการดังกล่าว เป็นที่ยอมรันขององค์การอนามัยโลกและประเทศต่างๆ ที่มีมาตรการควบคุมการสูบบุหรี่ แม้ว่าประเทศไทยจะเป็นประเทศกำลังพัฒนาซึ่งมีข้อจำถัดด้านงบประมาณและมีพลังต่อรองน้อยกับอุตสาหกรรมบุหรี่ที่มีทุนสูง แต่ประเทศไทยก็ประสบความสำเร็จในการเจริญรอยตามเบื้องพระ ยุคลบาทในเรื่องนี้
Many private Organizations which are public benefit and embraced to be under the royal patronage such as The Medical Association of Thailand, The Anti - Tuberculosis Association of Thailand, Thai Cancer Society all have significant roles in Anti-smoking movement from the beginning. They provide information about the dangers of cigarettes to health for the government and public, calling the government for measures to prevent the youths from starting cigarettes, the mass media and state Organization to give health education about harms of smoking and to advise means of prevention danger from smoking during the meeting to set a good example for the people.
Consequences of the campaigns carried out by Organizations under the royal patronage subsequently alerted the government to the fact that it was necessary to employ legislative measure along with measure of health education. Therefore, two laws were proposed to the Naional Legislative Assembly. Then in 1992 His Majesty the King graciously ordered the legislation of Non-Smokers' Health Protection Act B.E.2535 and Tobacco Production control Act B.E.2535. This encourages Thailand to be widely recognized by many countries as a country that has legislative measure for strengthening the tobacco control action.
The Smoking Cessation Project in order to celebrate the Fifty Anniversary (Golden jubilee) of His Majesty's Accession to the Throne, which was one of the major projects of the Public Health Ministry specially organized for Thai People across the country to express thir loyalty, and receiving good cooperation from all organizations both public and private sectors, is regarded as the project in response to His Majesty's address on Better Quality of life of the people, and of the government's policy, And on the World No-Tobacco Day of that year (1996), the Thai government had defined a campaigning slogan "Sports and the Arts without Tobacco : Play It Tobacco Free" in order to correspond with this greatest auspicious event. Furthermore, on the occasion of His Majesty the King's Sixth Cycle Birthday Anniversary 5th December 1999, the Ministry of Public Health was granted a permission to convey the emblem of the event to be printed on the T-shirt for campaigning clean air, smoke free and for distributing to the public throughout the country.
In the appreciation of His Majesty's kind contribution to tobacco control activities which breeds fruitful success to the country's offorts in combating tobacco consumption up to the level that is globally accepted, Dr. Gro Harlem Brundtland, The World Majesty the King on the World No- Tobacco Day 31 May 2000 since the achievement in Thailand represents the success of the World Health Organization too.
องค์กรเอกชนที่เป็นองค์กรเพี่อประชาชนและอยู่ภายใต้พระบรมราชูปถัมภ์หลายองค์กร อาทิ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย สมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคมต่อต้าน มะเร็งในพระบรมราชูปถัมภ์ ล้วนแต่มีบทบาทสนับสนุนการเคลื่อนไหวรณรงค์ต่อต้านการสูบบุหรี่ตั้งแต่ต้น องค์กรเหล่านี้ได้เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับอันตรายของการสูบบุหรี่ให้ภาครัฐและสาธารณชนทราบ เรียกร้องให้รัฐบาลมีมาตรการป้องกันไม่ให้เยาวชนถูกชักชวนจากโฆษณาบุหรี่ให้เริ่มสูบบุหรี่ และเรียกร้องให้องค์กรภาครัฐเผยแพร่ให้ความรู้เกี่ยวกับพิษภัยจากการสูบบุหรี่ ตลอดจนช่วยเสนอแนะมาตรการป้องถันอันตราย จากการสูบบุหรี่ในเวทีต่าง ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน
ผลจากการประชาสัมพันธ์ขององค์กรภายใต้พระบรมราชูปถัมภ์เหล่านี้ ทำให้รัฐบาลตระหนักว่าควรจะออกกฎหมายควบคู่ไปพร้อมกับเผยแพร่ความรู้ด้านสุขภาพ ต่อมาได้มีการเสนอกฎหมาย 2 ฉบับเข้าสู่สภา และในปี 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535 อันมีผลส่งเสริมให้ประเทศไทยได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในบรรดานานาประเทศว่ามีมาตรการควบคุมการสูบบุหรี่ที่เข้มงวด
ในโอกาสเฉลิมฉลอง 50 ปีการครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำโครงการเลิกสูบบุหรี่เพี่อในหลวง เพี่อให้ประชาชนคนไทยทั่วทั้งประเทศร่วมถวายความจงรักภักดี ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดีจากองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน นับเป็นโครงการซึ่งสนองตอบต่อพระราชดำรัสให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี สนองตอบต่อนโยบายรัฐบาลและวันงดสูบบุหรี่โลกในปี 2539
รัฐบาลไทยได้ประชาสัมพันธ์ศิลปะและกีฬาไม่พึ่งพาบุหรี่เพี่อประชาสัมพันธ์โครงการดังกล่าวนอกจากนี้ ในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบรอบ 72 พรรษา เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2542 กระทรวงสาธารณสุข ได้อนุญาตให้พิมพ์ตราสัญลักษณ์บนเสื้อยืดเพี่อประชาสัมพันธ์ อากาศสดใสไร้ควันบุหรี่ และแจกจ่ายไปยังประชาชนทั่วประเทศ
เพี่อเป็นการแสดงความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีกิจกรรมต่างๆ ซึ่งส่งเสริมการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ อันทำให้ประเทศไทยได้รับการยอมรับไปทั่วโลก และความสำเร็จของประเทศไทยก็นับเป็นความสำเร็จขององค์การอนามัยโลกด้วย ดร.โกร ฮาร์เล็ม บรุนด์ลันด์ จึงได้กราบบังคมทลถวายให้ทรงเป็นองค์ราชันของวันงดสบบุหรี่โลก เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2543
กระแสพระราชดำรัสทรงห่วงใยการสูบบุหรี่ของเยาวชนไทย
4 ธันวาคม 2547 เป็นดั่งน้ำทิพย์ชโลมใจประชาคมที่ทำงานรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ ทำให้เกิดพลังใจที่จะทำงานให้ดี ยิ่งขึ้น เพี่อคุ้มครองเด็กไทยจากการสูบบุหรี่เพี่อถวายเป็นพระราชสักการะ
ข้อความบางส่วนในพระราชดำรัส
"คนที่สูบบุหรี่ สมองก็ทึบ ทำไปทำมาก็ทึบขึ้นทุกที เพราะว่าเส้นเลือดในสมองมันตีบ มันเล็ก คิดอะไรไม่ออก ตอนแรกนึกว่าคิดออก แต่ทีหลังมันก็คิดไม่ออก ทีแรกนึกว่าคนเราสูบบุหรี่ทำให้กระฉับกระเฉง ตรงข้ามไม่กระฉับกระเฉง ทำให้รู้สึกว่าทึบ สมองมันทึบ สมองมันตัน ก็เลยเห็นว่าเลิกสูบบุหรี่ดีกว่า เห็นมีการรณรงค์ให้เลิกสูบบุหรี่ แล้วก็ห้ามขายบุหรี่ แก่เด็กอายุต่ำกว่า 18 ที่จริงเด็กอายุ 50 ก็ควรจะห้าม"
ภายหลังจากมีกระแสพระราชดำรัสพระเจ้าอยู่หัว มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ได้จัดสัมมนา "ปัญหาการสูบบุหรี่ของเยาวชน : สังคม ไทยควรทำอะไร" วันที่ 19 มกราคม 2548 นำข้อสรุปจากที่ประชุมทำเป็นเอกสารเผยแพร่ทางสื่อมวลชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ข้อเสนอแนะในการป้องกันเด็กไทยไม่ให้สูบบุหรี่จากที่ประชุม
1.ขอให้คนที่สูบบุหรี่ทุกคนเลิกสูบเพี่อสุขภาพของตัวเองจะได้ดีขึ้นตามที่พระองค์ท่านทรงชี้แนะ
2.ผู้ที่เป็นพ่อแม่ ควรจะเลิกสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่ของพ่อ-แม่ มีอิทธิพลสูงมาก เทียบเท่ากับการสอนลูกให้สูบบุหรี่
3.ผู้นำในสังคมของทุกวงการ ครู ศิลปิน-ดารา นักการเมือง แพทย์และบุคลากรสาธารณสุข รวมทั้งพระภิกษุสงฆ์ ควรจะเป็นแบบอย่างที่ดีของเด็กๆ โดยการไม่สูบบุหรี่ หรือหากยังเลิกสูบไม่ได้ก็ไม่ควรสูบในที่สาธารณะ โดยเฉพาะในที่ที่กฎหมายห้ามสูบ
4.โรงเรียนและทุกสถานที่ที่เยาวชนเข้าไปใช้บริการ ต้องปลอดบุหรี่ตามที่กฎหมายกำหนด
5.ผู้ขายบุหรี่ซึ่งมีอยู่ 5 แสนราย ต้องแสดงความรับผิดชอบในการปฏิบัติตามกฎหมาย โดยไม่ขาย
บุหรี่แก่เด็กและไม่แยกขายบุหรี่เป็นมวนๆ
6.รัฐบาลต้องแสดงความจริงใจในการที่จะป้องกันไม่ให้เด็กไทยติดบุหรี่เพิ่มขึ้นด้วย โดย
• ต้องบังคับใช้กฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะอย่างจริงจัง โดยผู้นำในวงการเมืองต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย เพี่อเป็นแบบอย่างสำหรับประชาชนทั่วไป
• ขึ้นภาษีบุหรี่ เพี่อทำให้ราคาบุหรี่แพงขึ้น อันจะมีผลต่อการป้องกันเด็กและเยาวชนจาก การซื้อบุหรี่ ที่สำคัญรัฐบาลไม่ได้มีการขึ้นภาษีมา 3 ปีแล้ว ทำให้ราคาบุหรี่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น
• กรมสรรพสามิตควรออกระเบียบห้ามขายบุหรี่เป็นมวนๆ เพราะจะทำให้เด็กและเยาวชน ซื้อได้ง่าย และควรจำกัดจุดขายปลีกบุหรี่ที่มีอยู่แล้วเกือบ 5 แสนกว่าจุดให้น้อยลง
ใครพูดทำอะไร หลังทรงมีกระแสพระราชดำรัส
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
"ยีนยันว่ารัฐบาลจะน้อมนำกระแสพระราช ดำรัสมาปฏิบัติ"
นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รมว.สาธารณสุข
"จะผลักดันให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย ห้ามขายบุหรี่และสุราแก่เด็ก"
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
เห็นชอบตามข้อเสนอของ รมต.สธ. คุณสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ที่ขอให้กรมประชาสัมพันธ์งดการสนับสนุนรายการของโรงงานยาสูบ ด้วยการลงท้ายต่าง ๆ ว่า
"ด้วยความปรารถนาดีจากโรงงานยาสูบ" "ด้วยความห่วงใยจากโรงงานยาสูบ"
ประกาศกรมประชาสัมพันธ์
เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และมาตรการเพื่อลดการบริโภคยาสูบ ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงและ วิทยุโทรทัศน์
"ห้ามแสดงหรือโฆษณา การได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายใดๆ จากบริษัทผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้แทน จำหน่ายซึ่งยาสูบ รวมทั้งองค์กรของรัฐ ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายซึ่งยาสูบ การแสดงหรือโฆษณาดังกล่าวให้รวมถึง ชื่อบริษัทหรือองค์กรของรัฐ ให้รวมถึงสัญลักษณ์หรืออักษรย่อใด ๆ ที่สาธารณชนสามารถเข้าใจได้ว่าเป็นการ สนับสนุนจากบริษัทผู้ผลิตและนำเข้าและผู้แทนจำหน่ายซึ่งยาสูบ"
ประกาศ ณ วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ.2548
(นายดุษฎี สินเจิมสิริ)
อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์
ลม เปลี่ยนทิศ
"ในหลวงให้รณรงค์ต่อต้านบุหรี่ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่คนไทย ส่วนใหญ่และพ่อแม่ผู้ปกครองเรียกร้องมานานแล้ว แต่กระทรวงที่รับผิดชอบกลับปล่อยปละละเลย ร้อนถึงเบื้องพระยุคลบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต้องทรงมี รับสั่งขอร้องนายกรัฐมนตรีต่อหน้าพสกนิกรทั่วประเทศให้ เร่งแก้ไขเรื่องนี้"
มหาเถรสมาคม
"มีมติสนองพระราชดำรัสพระเจ้าอยู่หัว ให้เจ้า คณะผู้ปกครองสงฆ์ ดูแลให้พระภิกษุสงฆ์ รวมถึงชาวบ้านในชุมชนให้เลิกบุหรี่ และทำวัดให้ปลอดบุหรี่ ด้วยการมีป้ายประชาสัมพันธ์ รวมทั้งสื่อรณรงค์"
อภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ
"ได้มอบนโยบายพร้อมกำชับข้าราชการและเจ้าหน้าที่ที่ดูแลสวนสาธารณะและสนามกีฬาทุก แห่งของ กทม.ในการสอดส่องดูแลและห้ามมิให้มีการสูบบุหรี่ โดย กทม.จะติดป้ายประชาสัมพันธ์ พร้อมทั้งออกเสียงตามสาย รณรงค์ห้ามสูบบุหรี่ในสวนสาธารณะทั้ง 14 แห่ง สนามกีฬาทุกแห่งรวม ทั้งสถานที่สาธารณะทุกแห่งที่กฎหมายห้ามสูบ"
เราขอให้ทุกฝ่ายได้ทำตามที่ได้พูดไว้ด้วยเถิด
**** ต้นฉบับจากไฟล์ไม่ชัด ****
ภายหลังจากการเผยแพร่ข้อเสนอจากการสัมมนา ทีมงานมูลนิธิรณรงค์ฯ รู้สึกตื้นตันและดีใจมากๆ เมื่อได้รับหนังสือจากสำนักราชเลขาธิการ ดังสำเนาหนังสือนี้ ทีมงานเราตั้งปณิธานว่า “พวกเราจะทำงานให้ดีที่สุดเพื่อสนองพระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว”