กฎหมายห้ามสูบบุหรี่ ลดการอยู่โรงพยาบาลของเด็กที่เป็นหืด

มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่                    

ACTION  ON  SMOKING  AND  HEALTH  FOUNDATION

                                                                                                          คำอธิบาย: logo-smoke

Press Release

ศูนย์ข่าว มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่

วันที่  21 พฤศจิกายน 2556

วันที่ข่าวตีพิมพ์  สามารถเผยแพร่ได้ทันที

กฎหมายห้ามสูบบุหรี่ ลดการอยู่โรงพยาบาลของเด็กที่เป็นหืด

ทีมนักวิจัยจากอิมพีเรียล คอลเลจ ประเทศอังกฤษ ทำการศึกษาจำนวนเด็กที่เป็นโรคหืด ที่ถูกรับเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ก่อนและหลังการบังคับใช้กฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะทุกแห่งในประเทศอังกฤษ

ผลการศึกษาพบว่า อัตราการเข้าอยู่โรงพยาบาลของเด็กที่ป่วยเป็นโรคหืดลดลงปีละ 3.4% ต่อปี ระหว่าง พ.ศ. 2553 - 2555 คิดเป็นจำนวนการอยู่โรงพยาบาลที่ลดลง 6,802 คน หรือเฉลี่ยลดลง 2,267 คนต่อปี  สรุปว่าการห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ ลดจำนวนเด็กที่ป่วยเป็นโรคหืดที่ต้องเข้าอยู่โรงพยาบาล

ศ.นพ.ประกิต  วาทีสาธกกิจ  เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่  กล่าวว่า  โรคหืดเป็นโรคที่หลอดลมไวต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ ที่ถูกหายใจเข้าสู่หลอดลม ไม่ว่าจะเป็นฝุ่นละออง เกสรดอกไม้  ไร  สารเคมี หรือควันบุหรี่โดยเฉพาะควันบุหรี่ ซึ่งมีสารเคมีนับพันชนิด และมีสารพิษกว่า 250 ชนิด เมื่อถูกหายใจเข้าสู่หลอดลม จะทำให้เกิดการระคายเคืองเยื่อบุหลอดลม ทำให้เกิดการหดเกร็งของหลอดลม ทำให้เกิดอาการหืดจับ ถ้ามีอาการรุนแรง ก็ต้องถูกรับตัวเข้ารักษาในโรงพยาบาล

ในสังคมที่ยังมีการสูบบุหรี่ ผู้ป่วยโรคหืดมีโอกาสได้รับควันบุหรี่ที่ผู้อื่นสูบหรือควันบุหรี่มือสอง จากสถานที่สาธารณะหรือจากในบ้าน กฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะจะลดโอกาสที่ผู้คนทั่วไป รวมถึงคนที่เป็นหืดจะได้รับควันบุหรี่ เมื่อไม่ได้รับควันบุหรี่ โอกาสที่จะเกิดอาการหืดจับก็จะมีน้อยลง

ในส่วนของการสูบบุหรี่ในบ้าน ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้คนที่เป็นหืดในบ้านเดียวกัน เกิดอาการหืดจับได้เช่นกัน แม้จะไม่มีกฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในบ้าน ผู้สูบบุหรี่ก็ไม่ควรสูบในบ้านเป็นโรคหืด โรคภูมิแพ้ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคถุงลมปอดพอง เพราะคนที่เป็นโรคเหล่านี้ อาการจะกำเริบขึ้นได้ หากได้รับควันบุหรี่ 

ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ :

ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่                         

โทร. 0-2278-1828 / 08-1822-9799