กลุ่มเยาวชนแบกบุหรี่ยักษ์ ยาว3 เมตร ประณามนายทุนบุหรี่ข้ามชาติเข้ามาแทรกแซงกฏหมายไทย เรียกร้องรัฐไฟเขียวร่าง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ เพื่อปกป้องเด็กและเยาวชนจากภัยบุหรี่

กลุ่มเยาวชนแบกบุหรี่ยักษ์ ยาวเมตร ประณามนายทุนบุหรี่ข้ามชาติเข้ามาแทรกแซงกฏหมายไทย เรียกร้องรัฐไฟเขียวร่าง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ เพื่อปกป้องเด็กและเยาวชนจากภัยบุหรี่

 

วันนี้(8เมษายน 2558) เวลา13.00 น.ที่จุดรับเรื่องราวร้องทุกข์ สำนักงาน ก.พ. ข้างทำเนียบรัฐบาล นางสาวสุภาพรรณ์ โพธิอ่อง แกนนำกลุ่มเยาวชนลดปัจจัยเสี่ยง นำกลุ่มเด็กและเยาวชนจากหลากหลายสถาบันกว่า 50 คน ยืนหนังสือเพื่อทวงถามความคืบหน้าต่อนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี  ขอให้เร่งผ่านร่างพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ฉบับใหม่ เข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จากนั้นได้ร่วมกันแสดงกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ ด้วยการแบกบุหรี่ยักษ์ ประมาณ3เมตร ทับลงบนร่างเด็กและเยาวชน พร้อมทั้งตะโกนร้องขอความช่วยเหลือและชูป้ายห่วงลูกหลาน ขอรัฐบาลผ่าน พ.ร.บ.ควบคุมยาสูบ” จากนั้นอ่านแถลงการณ์ประณามบริษัทบุหรี่ข้ามชาติ เรียกร้องให้หยุดแทรกแซงกฎหมายของไทย ทั้งนี้มีนายสาธิต สุทธิเสริม  เจ้าหน้าที่ฝ่ายประสานมวลชนสำนักงาน ก.พ. เป็นผู้มารับเรื่องแทน

นางสาวสุภาพรรณ์ กล่าวว่า การรวมตัวของกลุ่มเยาวชนครั้งนี้ เพื่อต้องการส่งเสียงไปยังนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ให้เร่งผ่านร่างพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่ พื่อช่วยลดนักสูบหน้าใหม่ ปกป้องเด็กและเยาวชนจากภัยบุหรี่ ลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ เนื่องจากบุหรี่ฆ่าชีวิตคนไทยทุ10นาที หรือปีละกว่าหมื่นราย หากพ.ร.บ.ฉบับนี้มีผลบังคับใช้จะเป็นเครื่องมือสำคัญช่วยชีวิตคนไทย ลดจำนวนนักสูบหน้าใหม่ลง

รัฐบาลต้องจริงใจคุ้มครองสุขภาพประชาชน ปกป้องลูกหลานจากภัยบุหรี่ ด้วยการผ่านร่างกฎหมายฉบับนี้ เข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อปกป้องเด็ก เยาวชน และสังคมไทยจากภัยบุหรี่ และขอให้กำลังใจรัฐบาลในการสร้างสรรค์สิ่งดีๆเพื่อสังคมไทย รวมถึงการต่อสู้กับความพยายามแทรกแซงของอุตสาหกรรมบุหรี่ข้ามชาติ และขอประณามบริษัทบุหรี่ข้ามชาติที่มีความพยายามในการเข้ามาแทรกแซงการออกกฎหมายของประเทศไทยนางสาวสุภาพรรณ์  กล่าว

ทั้งนี้ เนื้อหาสาระของร่างพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่ มีประเด็นที่มีการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วย การปรับปรุงความหมายของผลิตภัณฑ์ยาสูบให้ครอบคลุมไปถึงผลิตภัณฑ์ที่มีสารนิโคตินเป็นส่วนประกอบและผลิตภัณฑ์ยาสูบรูปแบบใหม่ เช่น บาระกู่ บาระกู่ไฟฟ้า บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ มีการให้ความหมายของการสื่อสารการตลาด ครอบคลุมถึงการส่งเสริมการขาย การแสดงที่จุดขาย (Point of Sale)การขายโดยใช้พริตตี้ การสร้างภาพลักษณ์ โฆษณาทางอินเตอร์เน็ต กำหนดอายุขั้นต่ำผู้ซื้อผลิตภัณฑ์ยาสูบเพิ่มขึ้นจากเดิม18 ปีเป็น 20 ปี และห้ามขายบุหรี่แบบแบ่งซอง เพราะการสำรวจพบว่าเด็กอายุ15-17 ปี ที่สูบบุหรี่ร้อยละ70 ซื้อบุหรี่เป็นมวน เพื่อจะทำให้เยาวชนเข้าถึงบุหรี่ได้ยากขึ้น นอกจากนี้ ได้เพิ่มการห้ามขายด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ทางอินเทอร์เน็ต ห้ามแสดงราคาผลิตภัณฑ์ยาสูบ ณ จุดขายในลักษณะ จูงใจให้อยากสูบบุหรี่ เป็นต้น