อนามัยโลกหนุนไทยปกป้องเด็กไม่ให้ติดบุหรี่ ชี้ผู้ชายไทย ยังสูบมากเกินไป เป็นภาระต่อเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว
ข่าวเผยแพร่
ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.)
วันที่ 27 กรกฎาคม 2558 : วันที่ข่าวตีพิมพ์สามารถเผยแพร่ได้ทันที
อนามัยโลกหนุนไทยปกป้องเด็กไม่ให้ติดบุหรี่ ชี้ผู้ชายไทย ยังสูบมากเกินไป
เป็นภาระต่อเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว
วันนี้ (27 ก.ค. 2558) ที่ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ โดย ศ.น.พ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.ริชาร์ด บราวน์ ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย , ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ และ ผศ.ดร.ปกป้อง ศรีสนิท อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกันแถลงข่าวภายหลังเปิดการประชุมวิชาการ “บุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติ” ครั้งที่ 14 เรื่อง “หนุนกฎหมายบุหรี่ใหม่ เพื่อคุณภาพชีวิตคนไทย” จัดโดย ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมการยาสูบ (ศจย.) ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายควบคุมยาสูบ สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ศ.น.พ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า นางมาร์กาเรต ชาน ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ได้ส่งสารมาถึงการประชุมวิชาการแห่งชาติเรื่องบุหรี่และสุขภาพ แสดงความยินดี ที่ประเทศไทยได้ดำเนินการเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องและเข้มแข็ง จนมีผลให้อัตราการ สูบบุหรี่ของคนไทยลดลงอย่าง ต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ได้แสดงความเป็นห่วง เพราะจำนวนคนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ชาย ที่สูบบุหรี่ยังมีอยู่เป็น จำนวนมากถึง 11.4 ล้านคน
“การที่ชายไทยถึงร้อยละ 40 หรือ 4 ใน10 คนยังสูบบุหรี่ ขณะที่มีเยาวชนนักสูบหน้าใหม่ เข้ามาติดบุหรี่ ในปีที่แล้วสองแสนคน เด็กเหล่านี้เมื่อก้าวเข้าสู่การเสพติดบุหรี่ ร้อยละ 70 จะไม่สามารถเลิกได้ และต้องสูบไปจน กว่าจะป่วยหรือเสียชีวิต รัฐบาลจึงต้องปรับปรุงกฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบให้ทันกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อลดจำนวนนักสูบหน้าใหม่” น.พ.รัชตะ กล่าว
ขณะนี้ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาโดยคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งในขั้นตอนนี้ ก็ได้มีการเชิญผู้แทนกระทรวงต่างๆ มาให้ความเห็น รวมทั้งเชิญเครือข่าย ผู้ประกอบการยาสูบมา แสดงความเห็นด้วย ซึ่งเขาก็ได้ส่งนักกฎหมายเข้ามาแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ในส่วนที่เขาเห็นต่าง
“ผมเชื่อว่า ในปัจจุบันไม่มีใครไม่ทราบว่าบุหรี่ คือ สินค้าอันตรายที่ฆ่าผู้บริโภคของตัวเอง ดังนั้น บุหรี่ไม่ใช่ สินค้าปกติเหมือนสินค้าอื่นทั่วไป มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีกฎหมายที่รัดกุมและเข้มแข็ง มิเช่นนั้น เราจะไม่ สามารถตัดวงจรของการเสพติดบุหรี่ได้ ลูกหลานของเราจะต้องไม่เดินเข้าสู่การเป็นนักสูบหน้าใหม่ ขณะที่สังคม จะต้องช่วยกันสนับสนุนและเป็นกำลังใจให้คนที่ติดแล้วให้เลิกให้ได้”
ผศ.ดร.ปกป้อง ศรีสนิท อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นทีมใน การยกร่างกฎหมายฉบับนี้ กล่าวว่า ได้มีความพยายามจากเครือข่ายของอุตสาหกรรมบุหรี่ ให้ข้อมูลแก่ สังคมว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้จำกัดสิทธิเกินความจำเป็น ไม่มีความสมดุลของการคุ้มครองสุขภาพกับสิทธิเสรี ภาพของผู้ประกอบการยาสูบ ตนขอให้ข้อมูลว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกำหนดหลักการว่า รัฐสามารถ ออกมาตรการคุ้มครองสุขภาพของประชาชนได้ ถ้าเป็นมาตรการจำกัดสิทธิที่จำเป็น ซึ่งมาตรการในร่าง พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ล้วนแต่เป็นมาตรการที่จำเป็น และไม่เกินกว่าสัดส่วนความเสียหายที่สินค้ายาสูบก่อให้ เกิดขึ้นกับสังคมไทย
"บุหรี่เป็นสินค้าที่อันตรายมาก การออกมาตรการต่างๆ จะช่วยให้รัฐสามารถลดค่าใช้จ่ายในการรักษา พยาบาลผู้ที่เกิดโรคร้ายจากการใช้ยาสูบ ทั้งผู้สูบและผู้ได้รับควันบุหรี่มือสอง รวมทั้งยังช่วยลดปริมาณ ผู้เสพติดยาสูบและป้องกันมิให้เด็กและเยาวชนเสพยาสูบ เพื่อทำให้ประเทศชาติและประชาชน รวมทั้ง อนาคตของชาติมีพลังในการพัฒนาประเทศโดยไม่ต้องเจ็บป่วยและตายจากพิษภัยยาสูบก่อนวัยอันควร ในขณะที่ผู้ประกอบการยาสูบก็ยังได้รับการคุ้มครองสิทธิต่างๆ ตามกฎหมายและยังคงทำกำไรในการประกอบธุรกิจ ในประเทศไทย ผมเชื่อว่า หากมองจากด้านของประชาชน ที่ต้องเสียลูกหลานไปสู่วงจรการเสพติดบุหรี่ หรือเสีย ผู้นำครอบครัวที่ตายก่อนวัยอันควรด้วยโรคจากการสูบบุหรี่ กฎหมายนี้ขาดความสมดุลย์ด้วยซ้ำไป เพราะยังคง ยอมให้ธุรกิจนี้ดำเนินต่อไป ทั้งๆ ที่มีหลักฐานชัดเจนว่าบุหรี่ก่อโรคกว่า 25 ชนิด และทำให้ผู้บริโภคครึ่งหนึ่งเสียชีวิต ก่อนเวลาอันควร แต่เนื่องจากบุหรี่ยังเป็นสินค้าที่ถูกกฎหมาย สิ่งที่รัฐบาลทำได้และจำเป็นต้องทำ ก็คือ ออกกฎ หมายที่รัดกุมและมีประสิทธิภาพ"
บทบัญญัติต่างๆ ในร่างพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบที่เพิ่มขึ้นจากกฎหมายมี่ใช้อยู่เดิม ได้แก่ การห้ามแสดงผลิตภัณฑ์ยาสูบ ณ สถานที่ขายปลีก การห้ามแบ่งขายบุหรี่เป็นมวน การกำหนดให้มีภาพคำเตือน พิษภัยบนซองบุหรี่ การกำหนดให้มีการบังคับใช้กฎหมายควบคุมยาสูบได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น โดยการตั้ง คณะกรรมการระดับจังหวัด การห้ามผู้ประกอบอุตสาหกรรมยาสูบให้การอุปถัมป์สนับสนุนบุคคลในลักษณะ แทรกแซงนโยบายควบคุมยาสูบ การกำหนดให้อุตสาหกรรมยาสูบต้องมีการแจ้งข้อมูลกับภาครัฐเพื่อการ ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ การกำหนดให้การติดต่อราชการระหว่างอุตสาหกรรมยาสูบกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ต้องโปร่งใส
ผศ.ดร.ปกป้อง กล่าวว่า "มาตรการต่างๆ เหล่านี้ ล้วนเป็นมาตรการที่ดำเนินการตามพันธกรณีของกรอบ อนุสัญญาควบคุมการบริโภคยาสูบ ที่ประเทศไทยเป็นภาคี ทั้งนี้กรอบอนุสัญญาควบคุมยาสูบ (FCTC) เป็นสนธิ สัญญาระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันให้รัฐภาคี (ซึ่งรวมทั้งประเทศไทย) ต้องปฏิบัติตาม ส่วนการออกมาตรการ ต่างๆ นั้น รัฐสามารถเลือกกำหนดได้ตามแนวทาง (guideline) ที่กรอบอนุสัญญากำหนด ร่างพระราชบัญญัติ ฉบับนี้ ได้อนุวัตรตามบทบัญญัติของ FCTC โดยพิจารณาอย่างละเอียดถึงบริบทของประเทศไทย เพื่อคุ้มครอง สุขภาพประชาชน"
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุ ของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนเวลาที่สำคัญลำดับที่สองของคนไทย โดยประมาณ หนึ่งในหกของชายไทย และหนึ่งในยี่สิบห้าของหญิงไทยที่เสียชีวิตมีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่ โดยแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่กว่า 50,000 คน ในจำนวนนี้ 30% หรือกว่า 15,000 คน เสียชีวิตก่อนอายุ 60 ปี
“ผู้สูบบุหรี่ต้องป่วยหนักจนสูญเสียคุณภาพชีวิตโดยเฉลี่ยคนละ 2.5 ปีก่อนตาย นอกจากผู้ป่วยต้องทน ทุกข์ทรมานและเป็นภาระแก่ครอบครัวแล้ว ยังเป็นการเพิ่มภาระแก่ระบบบริการของโรงพยาบาล และภาระงบ ประมาณของโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ทั้ง ๆ ที่โรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ การ ศึกษาในปี พ.ศ. 2552 พบว่า มูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการป่วยและเสียชีวิตก่อนเวลาจากการสูบบุหรี่ เท่ากับ 74,884 ล้านบาท คิดเป็น 0.78% ของ GDP ขณะที่ในปีเดียวกันกระทรวงการคลังเก็บภาษีสรรพสามิต ยาสูบ ได้เท่ากับ 44,167 ล้านบาท และกำไรโรงงานยาสูบที่นำส่งกระทรวงการคลังเท่ากับ 4,642 ล้านบาท นั่นคือ ภาษียาสูบที่รัฐบาลเก็บได้รวมกับกำไรของโรงงานยาสูบ มีสัดส่วนน้อยกว่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เกิดจาก การสูบบุหรี่”
ศ.นพ.ประกิต กล่าวว่า จากการวิเคราะห์แนวโน้มการลดลงของผู้สูบบุหรี่ไทยที่ผ่านมาและคาดการณ์ ต่อไปในอนาคต พบว่า ในปีอีกสิบปีจากนี้ หรือใน พ.ศ. 2568 จำนวนผู้สูบบุหรี่จะลดลงเล็กน้อยจาก 11.4 ล้านคน เหลือประมาณ 10.5 ล้านคน เพราะจำนวนประชากรวัย 15 ปีขึ้นไป จะเพิ่มจาก 55 ล้านคน เป็น 60 ล้านคน “การปรับปรุง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น หากจะส่งผลกระทบต่อฝ่ายที่อยู่ในห่วงโซ่ ธุรกิจยาสูบ ตามที่บางคนกังวล ก็จะเป็นผลกระทบที่จะเกิดขึ้นช้ามาก โดยร้านค้าปลีกยาสูบ และชาวไร่ยาสูบ จะได้รับผลกระทบน้อยมาก เพราะหากดูยอดจำหน่ายบุหรี่ซิกาแรตในช่วงยี่สิบกว่าปีที่ผ่านมา จะพบว่ามีการ เปลี่ยนแปลงน้อยมาก โดยยอดจำหน่ายเท่ากับ 1,942 ล้านซอง (พ.ศ.2534) และ 1,990 ล้านซอง (พ.ศ.2557) ส่วนผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์ยาสูบที่อาจจะมีกำไรลดลงบ้าง โดยในขณะนี้อุตสาหกรรมบุหรี่ได้กำไรจาก การขายบุหรี่ในประเทศไทยปีละ 10,000 ล้านบาท ผมจึงไม่แปลกใจที่บริษัทบุหรี่ได้พยายามทุกวิถีทางในการ ทำให้กฎหมายฉบับนี้อ่อนลง”
ประสานงาน: หริสร์ ทวีพัฒนา โทรศัพท์ 0-2354-5346 , 0-89662-7917 E-mail: beer_manububu@windowslive.com