"ทำบ้านและมัสยิดให้ปลอดบุหรี่ และเลิกบุหรี่ในช่วงรอมฎอนนี้"
คอลัมน์ : เก็บมาฝาก
โครงการ "เลิกสูบก็เจอสุข : ปฏิบัติการ ลดพื้นที่สูบ เพิ่มพื้นที่สุข"
เครือข่ายชุมชน ท้องถิ่นน่าอยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส มีแผนการดำเนินการดังนั้
1.สร้างให้เกิด "บ้านไร้ควัน" จำนวน 990 ครัวเรือน เพื่อเป็นต้นแบบ ลด ละ เลิกคนสูบ และป้องกันคนในครอบครัวจากการได้รับควันบบุหรี่มือสอง และมือสาม
2.สร้างให้เกิด "ศาสนสถานปลอดบุหรี่ ต้นแบบ" จำนวน 66 แห่ง โดยการบังคับใช้กฎหมายในพื้นที่อย่างเคร่งครัด และการใช้กลไกทางศาสนา ที่ทางชุมชนเป็นตัวกำหนดมาตรการร่วม เพื่อให้เกิดการควบคุมพื้นที่อย่างจริงจัง
3.สร้าง "คลินิกช่วยเลิกบุหรี่ต้นแบบ โดยชุมชน" จำนวน 23 แห่ง ที่ดำเนินการโดยชุมชน เพื่อเป็นกลไกในการหนุนเสริมให้ผู้สูบบุหรี่สามารถลด ละ เลิกบุหรี่ เพื่อให้มีบทเรียนและต้นแบบการดำเนินงานในการควบคุมการบริโภคยาสูบโดยชุมชน
นางสาวดวงพร เฮงบุณยพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน สำนัก 3 ของ สสส. ได้ให้ข้อมูลว่า "ในพื่นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้สูบบุหรี่มีอัตราสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั้งประเทศถึง 25% ทำให้อายุขัยเฉลี่ยต่ำกว่าปกติ นำไปสู่โรคเรื้อรัง เช่น ถุงลมโป่งพอง โรคทางเดินหายใจ ซึ่งจะใช้วันที่ 17 พฤษภาคมนี้ เป็นวันดีเดย์โครงการฯ ที่ ตำบลมะรือโบตก จ.นราธิวาส และจะถือโอกาสนี้เป็นการรณรงค์พร้อมกันทุกพื้นที่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะใกล้เวลากับการถือศีลอดในเดือนรอมฎอนของพี่น้องชาวมุสลิม ที่จะได้ถือเอาโอกาสนี้เลิกบุหรี่ไปด้วย" ศาสนาอิสลาม "สิ่งเสพติดทั้งหลายรวมถึงกาแฟอีนนั้น บัญญัติอยู่ในอัลกุรอ่านมานานแล้ว ฉะนั้นสิ่งเหล่านี้ถ้าเสพเข้าไปแล้วจะเลิกนั้นยาก และศาสนาอิสลามเองก็ได้ปฏิบัติตามกันอยู่แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม เราก็ต้องรณรงค์กันต่อไปเพื่อให้เด็กรุ่นใหม่ได้เห็นถึงโทษของบุหรี่" บ้านปลอดบุหรี่ จะทำให้สำเร็จ ต้องอาศัยมาตรการกดดันจากคนในครอบครัวจะเป็นพลังสำคัญอย่างมาก ส่วนมัสยิดหรือศาสนสถานจะปลอดบุหรี่ ตามหลักคำสอนระบุว่า บุหรี่เป็นสิ่งที่ต้องห้ามทางศาสนา ดังนั้นผู้นำศาสนา ต้องเป็นต้นแบบและตัวขับเคลื่อนที่สำคัญถึงจะสำเร็จได้ เช่นกัน
ข้อมูลโดย : กองบรรณาธิการ