“สร้างพื้นที่ปลอดบุหรี่ 100% ในสนามบิน” เพื่อปกป้อง คุ้มครอง สุขภาพประชาชน และผู้ใช้บริการสนามบินทุกคนอย่างเท่าเทียม



 

“สร้างพื้นที่ปลอดบุหรี่ 100% ในสนามบิน” เพื่อปกป้อง คุ้มครอง สุขภาพประชาชน และผู้ใช้บริการสนามบินทุกคนอย่างเท่าเทียม

วันนี้ 16 พ.ค. 2568 ที่ โรงแรมเอเชีย กรุงเทพฯ สถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ร่วมกับ ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ และมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ได้จัด การแถลงข่าว เรื่อง ‘สุวรรณภูมิ สนามบินสีเขียว : ความภาคภูมิใจของชาวไทย’ สร้างพื้นที่ปลอดบุหรี่ 100% ในสนามบิน เพื่อปกป้องคุ้มครองสุขภาพประชาชนและผู้ใช้บริการของสนามบินทุกคนอย่างเท่าเทียม

ดร.สุชีรา บรรลือสินธุ์ ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย กล่าวว่า ประเทศไทยได้ร่วมลงนามรับรองและเข้าเป็นภาคี ‘กรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก (WHO FCTC)’ ในปี 2546 ซึ่งตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ประเทศไทยมีความมุ่งมั่นในการควบคุมยาสูบ โดยให้ความสำคัญกับการคุ้มครองสุขภาพของประชาชน ซึ่งมีพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบที่มีมาตรการที่ครอบคลุมในการควบคุมยาสูบอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น มาตรการซองบุหรี่แบบเรียบ และนโยบายภาษีที่ก้าวหน้าของประเทศไทยสามารถลดการบริโภคยาสูบได้ ซึ่งความสำเร็จนี้ได้รับการยอมรับทั้งในระดับภูมิภาคและนานาชาติ

“ทั้งนี้ มาตรา 8 ของ WHO FCTC ซึ่งกล่าวถึงการปกป้องบุคคลและประชาชนจากการได้รับควันบุหรี่ มีหลักการพื้นฐานที่ว่าการปกป้องคุ้มครองผู้ที่ไม่สูบบุหรี่จากควันบุหรี่นั้นต้องจำกัดไม่ให้มีการสูบบุหรี่หรือเกิดควันบุหรี่ในพื้นที่นั้นๆ จึงจะสามารถสร้างพื้นที่ปลอดบุหรี่ 100% ได้ เนื่องจากหลักฐานวิชาการยืนยันว่าไม่มีระดับที่ปลอดภัยในการได้รับควันบุหรี่หรือบุหรี่มือสอง นอกจากนั้นแนวทางการจัดการอื่นๆ เช่น การไหลเวียนอากาศ การกรองอากาศ หรือพื้นที่สูบบุหรี่ ก็มีหลักฐานทางวิชาการยืนยันว่าไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการคุ้มครองประชาชนจากการได้รับควันบุหรี่ เทียบเท่ากับการทำให้เกิดพื้นที่ปลอดบุหรี่ 100%  ดังนั้นประเทศไทยจึงควรพิจารณาดำเนินมาตรการที่สอดคล้องกับมาตรา 8 โดยการสร้างพื้นที่ปลอดบุหรี่ 100% ในสนามบิน เพื่อปกป้องคุ้มครองสุขภาพประชาชนและผู้ใช้บริการของสนามบินทุกคนอย่างเท่าเทียม” ดร.สุชีรา กล่าว

ศ.พญ.สุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์ รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ ล่าวว่า สถานการณ์การได้รับควันบุหรี่มือสอง เป็นปัญหาใหญ่ที่ถูกมองข้าม องค์การอนามัยโลกรายงานว่าทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากบุหรี่ 8.7 ล้านคน ในจำนวนนี้เกิดจากบุหรี่มือสอง 1.3 ล้านคน โดยเป็นเด็กถึง 65,000 คน ปัจจุบันมีคนไทยอายุ 15 ปี ขึ้นไป ที่สูบบุหรี่ 9.9 ล้านคน แต่มีผู้ไม่สูบถึง 34.1 ล้านคน มีอัตราการได้รับควันบุหรี่มือสองอยู่ในระดับที่สูงมากเมื่อเทียบกับต่างประเทศ จากข้อมูลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 ปี 2562 พบคนไทยร้อยละ 70 ได้รับควันบุหรี่มือสองเทียบกับร้อยละ 30 ในอังกฤษ และสูงเป็นอันดับ 5 ของโลกเมื่อเปรียบเทียบกับอีก 57 ประเทศ ทั้งนี้ผู้หญิงและเด็กเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับบุหรี่มือสอง โดยเฉพาะเด็กเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากควันบุหรี่มือสองและสามมากกว่าผู้ใหญ่ถึง 50-100% ซึ่งควันของบุหรี่และไอของบุหรี่ไฟฟ้ามีสารเคมีกว่า 2,000 ชนิด ประกอบด้วยสารนิโคติน PM 2.5 โลหะหนัก และสารก่อมะเร็ง ดังนั้นบริเวณที่มีการสูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า จึงมีมลพิษทางอากาศที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งคนที่สูบและไม่ได้สูบ

“ซึ่งงานวิจัยในต่างประเทศ ระบุว่า การได้รับไอมือสองจากบุหรี่ไฟฟ้า เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะเพิ่มขึ้น 1.06 เท่า โรคหลอดลมอักเสบเพิ่มขึ้น 1.4 เท่า ภาวะหายใจลำบากเพิ่มขึ้น 1.53 เท่า และโรคหอบหืดที่ควบคุมไม่ได้เพิ่มขึ้น 1.88 เท่า ล่าสุดมีหลักฐานงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์จากวารสารมะเร็งของประเทศอังกฤษ (British Journal of Cancer) ปี 2567 ยืนยันแล้วว่าควันบุหรี่มือสองเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมในผู้หญิงถึง 1.24 เท่า รายงานภาระโรคจากปัจจัยเสี่ยงของประชากรไทย ปี 2562 พบว่า คนไทยเสียชีวิตจากควันบุหรี่มือสองสูงถึง 20,688 รายต่อปี โดยเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองมากที่สุดร้อยละ 44 โรคหัวใจขาดเลือดร้อยละ 20  มะเร็งปอดและหลอดลมร้อยละ 9 เมื่อคำนวณภาระโรค (Burden of Disease) พบการสูญเสียปีสุขภาวะ หรือจำนวนปีที่เสียไปเพราะสุขภาพไม่ดี พิการ หรือเสียชีวิตก่อนวัยจากควันบุหรี่มือสองของคนไทยถึง 534,186 ปีสุขภาพดี ภาระโรคระดับโลก (Global Burden of Disease: GBD 2019) รายงานบุหรี่มือสองของไทย 392.11 ก็สูงกว่าออสเตรเลีย 117.1 ญี่ปุ่น 221.69 และ อังกฤษ 154.48 ปีสุขภาวะต่อแสนประชากร” ศ.พญ.สุวรรณา กล่าว

รศ.ดร.เนาวรัตน์ เจริญค้า ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย กล่าวว่า การวัดประมาณนิโคตินทำได้ซับซ้อน ราคาสูง และใช้ระยะเวลานาน ในทางปฏิบัติจึงใช้การวัด PM 2.5 ซึ่งทำการตรวจได้ง่ายและรวดเร็วกว่าเป็นตัวแทนของการมีระดับสารนิโคติน ซึ่งงานวิจัยตรวจสอบระดับ PM 2.5 ในสนามบินหลักของประเทศไทย 4 แห่ง (สุวรรณภูมิ ดอนเมือง เชียงใหม่ และภูเก็ต) เมื่อปี 2556 พบว่า ภายในห้องสูบบุหรี่มีระดับ PM  2.5  สูงถึง 532.5 มคก./ลบ.ม. ซึ่งสูงเกินค่ามาตรฐานราย 24 ชั่วโมงขององค์การอนามัยโลก (15 มคก./ลบ.ม.) อย่างมาก  โดยค่า PM 2.5 ใกล้ประตูห้องสูบบุหรี่ สูงกว่าพื้นที่ปลอดบุหรี่ถึง 5 เท่า ประเทศไทยจึงมีกฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในอาคารสนามบิน เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2562 เพื่อปกป้องสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ และผู้ปฏิบัติงานในอาคารสนามบิน รวมถึงผู้สูบบุหรี่เองที่อาจมีอาการป่วยอยู่แล้ว จากการสัมผัสกับควันบุหรี่มือสองและสาม โดยหมายรวมถึงควันบุหรี่และไอที่เกิดจากบุหรี่ไฟฟ้าด้วย  

“จากรายงานของสำนักงานแพทย์ใหญ่สหรัฐอเมริกา ปี 2567 ระบุว่า ไม่มีระดับที่ปลอดภัยในการได้รับควันบุหรี่ วิธีเดียวที่มีประสิทธิผลในการปกป้องสิทธิของทุกคนในการหายใจอากาศบริสุทธิ์ในสถานที่สาธารณะและที่ทำงาน คือการบังคับใช้กฎหมายปลอดควันบุหรี่ 100% โดยการสร้างสภาพแวดล้อมปลอดควันบุหรี่ งานวิจัยยืนยันว่าไม่ว่าวิธีการจัดให้มีห้องสูบบุหรี่ หรือระบบระบายอากาศที่มีราคาแพง ก็ไม่สามารถปกป้องผู้คนจากอันตรายของควันบุหรี่มือสองได้ ซึ่งจากการสำรวจซ้ำในสนามบินนานาชาติ 4 แห่งเดิมของประเทศไทย เมื่อกุมภาพันธ์ 2568 พบว่า ผู้สูบบุหรี่ส่วนใหญ่กว่า 99.7% สามารถปฏิบัติตามข้อห้ามสูบบุหรี่ภายในอาคารได้โดยสมัครใจ โดยมีเพียง 0.3% เท่านั้นที่ฝ่าฝืนกฎ ซึ่งสะท้อนว่าการไม่มีห้องสูบบุหรี่ภายในอาคารสนามบินในทางปฏิบัติก็สามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งในหมู่ผู้ใช้บริการ ดังนั้นการมีห้องสูบบุหรี่ภายในสนามบินจึงถือเป็นอุปสรรคสำคัญในการเป็นพื้นที่ปลอดควันบุหรี่อย่างแท้จริง ข้อมูลเชิงประจักษ์จากต่างประเทศและไทยล้วนยืนยันว่า การยกเลิกห้องสูบบุหรี่ในสนามบินไม่ก่อให้เกิดปัญหาด้านการควบคุมหรือบังคับใช้กฎหมายแต่อย่างใด ซึ่งแสดงให้เห็นว่านี่คือแนวทางที่ควรได้รับการสนับสนุน เพื่อมุ่งสู่การเป็นสนามบินสีเขียวที่สะอาด ปลอดภัย และเป็นมิตรกับทุกคน”  รศ.ดร.เนาวรัตน์ กล่าว

ศ.ดร.นิทัศน์ ศิริโชติรัตน์ นักวิชาการสถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย กล่าวว่า เนื่องจากอัตราการสูบบุหรี่ในประชากรโลกลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา ด้วยการรณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อม จึงเกิดนโยบายท่าอากาศยานปลอดห้องสูบบุหรี่ในประเทศต่างๆ ส่งผลให้ท่าอากาศยานนานาชาติขนาดใหญ่ต่างยกเลิกห้องสูบบุหรี่ในสนามบินมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โดยท่าอากาศยานที่มีอากาศยานขึ้น/ลงมากที่สุดในประเทศสหรัฐอเมริกา จำนวน 32 จาก 35 แห่ง เป็นสนามบินปลอดบุหรี่ และท่าอากาศยานนานาชาติขนาดใหญ่ที่ยกเลิกห้องสูบบุหรี่ในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีเพิ่มขึ้นดังต่อไปนี้ 1) ท่าอากาศยานนานาชาตินครหลวง ปักกิ่ง 2) ท่าอากาศยานนครชิคาโก โอแฮร์
(ปี 2567) 3) ท่าอากาศยานนครลอนดอน ฮีทโรว์ 4) ท่าอากาศยานนานาชาตินคร ลอสแองเจลิส (มกราคม 2568) และ 5) ท่าอากาศยานนานาชาตินคร เซี่ยงไฮ้ ปูดง รวมทั้งท่าอากาศยานต่างๆ ในประเทศไทยเป็นสนามบินปลอดห้องสูบบุหรี่ 100% ตั้งแต่ปี 2562 ตามสังคมโลกที่ต้องการลดมลภาวะและสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี ปลอดภัยต่อสุขภาพ

ศ.ดร.นิทัศน์ กล่าวต่อว่า นับเป็นความภาคภูมิใจเมื่ออาคารเทียบเครื่องบินรอง (SAT-1) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ได้รับรางวัลจากองค์การ UNESCO ให้เป็น 1 ใน 6 สนามบินที่สวยที่สุดในโลกประจำปี 2567 ด้วยการออกแบบสถาปัตยกรรมผสมผสานศิลปะและวัฒนธรรมที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ทางด้านความงาม ทั้งภายนอกและภายในอาคาร และในระยะยาวสนามบินสุวรรณภูมิมุ่งสู่การเป็นท่าอากาศยานสีเขียว (Green Airport) ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยจะผลิตเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel) และมีแผนการใช้พลังงานสะอาดโดยติดตั้งแผงพลังงานจากดวงอาทิตย์ (Solar cell) ภายในท่าอากาศยาน

“การเสนอขอทำห้องสูบบุหรี่ในอาคารสนามบินสุวรรณภูมิ นับเป็นการทำให้สนามบินหนี่งในหกที่สวยที่สุดในโลกแปดเปื้อน ทำลายความภาคภูมิใจต่อรางวัลที่ได้รับการออกแบบทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น เป็นอุปสรรคต่อการมุ่งสู่ท่าอากาศยานสีเขียว และเป็นการเจตนาจงใจที่จะทำลายสิ่งแวดล้อมและอัตรายต่อประชาชนไทยและต่างประเทศ โดยอ้างว่ามีผู้โดยสาร 165 คนจากจำนวน 48 ล้านคน ระหว่างปี 2561-2567 เรียกร้องให้มีห้องสูบบุหรี่ในสนามบิน ดังนั้นเมื่อพิจารณาข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างรอบคอบถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และผลกระทบต่อสุขภาพแล้ว จึงขอเรียกร้องให้คงความภาคภูมิใจของคนไทยต่อความเป็นสนามบินสีเขียวของสนามบินสุวรรณภูมิ โดยต้องไม่สร้างห้องสูบบุหรี่ภายในอาคารสนามบินซึ่งจะสร้างมลภาวะต่อทั้งผู้สูบเองและผลกระทบจากบุหรี่มือสองและมือสามต่อผู้โดยสารและผู้ใช้บริการของสนามบินที่ไม่สูบบุหรี่ รวมทั้งเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ทำความสะอาด อีกทั้งเป็นการทำลายภาพลักษณ์ของประเทศไทยในการมุ่งสู่การเป็นสนามบินสีเขียวที่ไม่ใส่ใจสุขภาพสิ่งแวดล้อมของผู้โดยสารทั่วโลกอีกด้วย” ศ.ดร.นิทัศน์ กล่าวสรุป

 

 

 

 

รายละเอียดติดต่อ:  รศ.ดร.เนาวรัตน์ เจริญค้า สถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ  โทร. 081-563-7532

 

topic

  • ผลศึกษาขึ้นภาษีบุหรี่ลดตาย200ล.ทั่วโลก
  • เตือนภัย'บุหรี่ไฟฟ้า' ยาเสพติดแปลงกาย
  • รุกพื้นที่ชุมชนเพื่อช่วยขจัดสิงห์รมควันให้ลด หรือหมดไป
  • บุหรี่ : ภาษีเพิ่มคนตายลด ป้องกันเด็ก - นักสูบหน้าใหม่
  • เจอไม้งามเมื่อขวานจวนบิ่น
  • 'ตั้ม-วราวุธ'ชวน ลด ละ เลิก รณรงค์วันงดสูบบุหรี่โลก ปี 2557
  • บุหรี่ 1 มวนอายุสั้น 7 นาที สูบบ่อยตายเร็วขึ้น 12 ปี
  • องค์กรโลกแนะใช้กฎเดียวคุมอุตฯ'บุหรี่-อาหาร'
  • เรียงคนเป็นข่าว: รณรงค์ (บุหรี่)
  • ขึ้นภาษีบุหรี่และยาเส้นภารกิจกอบกู้ชีวิตคนไทย
  • จี้โรงงานยาสูบยุติภาพยนตร์โฆษณาแสดงความรับผิดชอบสังคม
  • สูดลมหายใจให้ไร้มะเร็งปอด
  • 'ฟลุค'พรีเซ็นเตอร์วันงดสูบบุหรี่โลกร่วมต้าน'สิงห์อมควัน'
  • บุหรี่เทียมก่อมลพิษ
  • คณะสงฆ์ - ร่วมรณรงค์มหาสารคาม'เมืองปลอดบุหรี่'
  • เขตปลอดบุหรี่
  • หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ วันที่ 29-31 พ.ค.57
  • Tobacco : A Threat To Development "บุหรี่ภัยคุกคามต่อการพัฒนา"
  • "บุหรี่ : ภัยคุกคามต่อการพัฒนา (2) หลักฐานจากประเทศไทย"
  • หมอประเวศเตือน'ประยุทธ์'คิดถึงเด็กมากกว่าธุรกิจบุหรี่
  • "เนย- เนโกะจัมพ์" คว้าพรีเซ็นเตอร์วันงดสูบบุหรี่โลก ร่วมต้าน "ผู้สูบหน้าใหม่"
  • คอลัมน์ เลขที่ ๑ ซอยปลื้มมณี
  • 'ธุรกิจบุหรี่' ไม่ใช่สัมมาชีพ
  • กฎหมายบุหรี่ใหม่...เพื่อคุณภาพชีวิตคนไทย
  • บุหรี่ความตายอันดับสองของประเทศ
  • อึ้งไทยมีขี้ยาเด็กเพิ่มปีละแสนคน
  • กฎหมายบุหรี่รัฐบาลจะเสียเชิงล็อบบี้ยิสต์หรือไม่
  • Tobacco : A Threat To Development
  • "ทำบ้านและมัสยิดให้ปลอดบุหรี่ และเลิกบุหรี่ในช่วงรอมฎอนนี้"
  • ชวนดูหนัง "ฉลาดเกมส์โกง" หนังวัยรุ่นที่ไม่มีฉากบุหรี่
  • 2 หนุ่ม พรีเซนเตอร์วันงดสูบบุหรี่
  • คนไทย 1 ล้านคนป่วยจากการสูบบุหรี่
  • เปิดตัวโครงการ 'Gen-Z ไม่สูบ' สกัดคนรุ่นใหม่ก้าวสู่ทาสบุหรี่
  • 3 สาว'มะเหมี่ยว-เกรซ-มิ้ว'จากเวทีมิสทีน ไทยแลนด์เปิดโครงการเลิกบุหรี่ 'เป็นดอกไม้ใจแทนดอกไม้จันทน์'
  • สธ. เร่งสื่อสารประเด็นที่เกษตรกรชาวไร่ยาสูบเข้าใจคลาดเคลื่อนในร่าง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่ พร้อมศึกษาผลที่อาจกระทบและมาตรการช่วยเหลือ
  • สหรัฐห้ามขายบุหรี่ไฟฟ้าให้วัยรุ่น
  • บริษัทบุหรี่นอกศัตรูชาวไร่ยาสูบไทยตัวจริง
  • วอน'กาชาด'ไม่รับ'ซีเอสอาร์'บ.บุหรี่
  • เสนอบรรจุยาอดบุหรี่เข้าบัญชียาหลักชาติสิทธิประโยชน์บัตรทอง
  • 'แซนดี้'พรีเซนเตอร์วันงดสูบบุหรี่โลก
  • 'จันจิ'ปลื้ม !! ได้รับเลือกเป็นพรีเซ็นเตอร์วันงดสูบบุหรี่โลก
  • "สกาย" วงศ์รวี นทีทร ไม่แคร์ข่าวโซเชียลติง ไม่เหมาะสมเป็นพรีเซ็นเตอร์ "Gen-Z ไม่สูบ" ลั่นไม่เคยสูบบุหรี่
  • เครือข่ายยุวทัศน์'รณรงค์GenZไม่สูบบุหรี่
  • 'ศิลปินแกรมมี่'เชิญชวนร่วมรณรงค์เลิกบุหรี่
  • ...อย่าสูบบุหรี่นะลูก
  • เยาวชนอินโดฯ เสี่ยงล้มป่วยจากไร่ยาสูบ
  • โลกดับบุหรี่
  • ป้องกันคนGen Z จากภัยบุหรี่
  • 'มหิดล'รุก 7 จังหวัดตั้งเป้าเลิกบุหรี่ 50%
  • 4 ศิลปินรุ่นใหม่ คว้าพรีเซ็นเตอร์วันงดสูบบุหรี่โลก
  • 31 พฤษภาคม
  • 'ปั๊บ'เชิญชวนแฟนรณรงค์เลิกบุหรี่ในวันงดสูบบุหรี่
  • วันงดสูบบุหรี่โลกเลิกสูบ..ก็เจอสุข
  • ห่างไกลบุหรี่ ห่างไกลมะเร็ง
  • 31 พฤษภาคม วันงดสูบบุหรี่โลก ปกป้องสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากภัยยาสูบ : บุหรี่ทำลายสิ่งแวดล้อม
  • อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี ประกาศเป็นอุทยานฯปลอดบุหรี่ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี ประกาศเป็นอุทยานฯปลอดบุหรี่ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • 31 พฤษภาคม วันงดสูบบุหรี่โลก ปกป้องสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากภัยยาสูบ : บุหรี่ทำลายสิ่งแวดล้อม
  • 5 ตลาด ต้องไม่พลาดไปเชคอิน
  • ‘คนสูบบุหรี่’ เสี่ยงติดโควิด ‘ปอดไม่ดี’ เป็นทุนเดิม
  • เพลง “อยากดูแลเธอ” ร่วมรณรงค์วันงดสูบบุหรี่โลก ปี 2564
  • 31 พฤษภาคมวันงดสูบบุหรี่โลก องค์การอนามัยโลก เชิญชวนให้ผู้สูบบุหรี่ตัดสินใจมุ่งมั่นที่จะเลิกสูบ
  • โอกาสทองของคนติดบุหรี่ “เลิกสูบลดเสี่ยง” เนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลก ประจำปี 2563
  • วู๊ดดี้ Live เลิกบุหรี่ ได้ เป็นพลังไปต่อได้ในชีวิต
  • "ติดบุหรี่ ติดโควิด เสี่ยงตายสูง" 31 พฤษภาคม 2563
  • สถาบันยุวทัศน์ฯ สานพลัง สสส. จัดเสวนาคุยเรื่องบุหรี่ไฟฟ้ากับคนรุ่นใหม่ เนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลก
  • แถลงการณ์จุดยืน “ขอให้ภาคอุตสาหกรรม ภาคพาณิชย์ และผู้กำหนดนโยบาย ยุติการสนับสนุนอุตสาหกรรมบุหรี่ไฟฟ้า ที่มุ่งเป้าล่าเหยื่อเด็กและเยาวชนให้เป็นนักสูบหน้าใหม่”
  • ชูเป้าหมายขับเคลื่อน “พหุภาคีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปลอดบุหรี่อย่างยั่งยืน”
  • เข้าพบท่าน พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  • บุหรี่ไฟฟ้าระบาดหนัก ผู้นำเยาวชน และผู้แทนจากประเทศอาเซียน ทั้งรัฐและเอกชน ร่วมผลักดันมาตรการต่างๆ เพื่อปกป้องเด็กและเยาวชนจากกลยุทธ์บริษัทบุหรี่
  • Gen Z 4 ภาค ประกาศ “ร่วมปกป้องเด็กและเยาวชนจากบุหรี่ไฟฟ้า”
  • ร่วมปกป้องเด็กและเยาวชนจากบุหรี่ไฟฟ้า
  • มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่  เป็นผู้แทนร่วมแสดงความยินดีเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนากรมประชาสัมพันธ์ ปีที่ 92
  • “สร้างพื้นที่ปลอดบุหรี่ 100% ในสนามบิน” เพื่อปกป้อง คุ้มครอง สุขภาพประชาชน และผู้ใช้บริการสนามบินทุกคนอย่างเท่าเทียม
  • เครือข่ายควบคุมยาสูบภาคใต้รวมพลัง “คนใต้ไม่เอาบุหรี่ไฟฟ้า” สร้างกระแสวันงดสูบบุหรี่โลก ชู “นิโคติน เสพติด จน ตาย”
  • เครือข่ายควบคุมยาสูบภาคเหนือรวมพลัง “คนเหนือไม่เอาบุหรี่ไฟฟ้า” สร้างกระแสวันงดสูบบุหรี่โลก ชู “นิโคติน เสพติด จน ตาย”