บุหรี่ไฟฟ้า...อันตรายมากกว่าที่คุณคิด



คอลัมน์จับกระแส : SMART Online 

บุหรี่ไฟฟ้า ...อันตรายมากกว่าที่คุณคิด

มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ จัดเสวนาสื่อมวลชนเรื่อง "บุหรี่ไฟฟ้า...อันตรายมากกว่าที่คุณคิด" เพื่อนำเสนอข้อมูลและข้อเท็จจริงที่เป็นข้อถกเถียงในสังคมปัจจุบันเรื่องอันตรายจากบุหรี่ไฟฟ้าว่ามันอันตรายจริงหรือสามารถช่วยทำให้เลิกบุหรี่ได้จริง หรืออย่างไร? รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการต่างๆในการควบคุมป้องกันและปกป้องเยาวชนจากบุหรี่ไฟฟ้า ณ ห้องประชุมกรมประชาสัมพันธ์ ถ.พระราม 6 กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2560 "บุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้เป็นสารทดแทนในการเลิกสูบบุหรี่ แต่เป็นตัวตั้งต้นการเสพติดบุหรี่และสารเสพติดชนิดอื่นๆ"

รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดเผยข้อมูลจากเอกสาร THE FACTS on E-Cigarette Use Among Youth and Young Adults ของกระทรวงสาธารณสุขสหรัฐอเมริกา พบว่า บุหรี่ไฟฟ้าหรือ E-Cigarettes เป็นอุปกรณ์รูแบบใหม่ที่จะส่งผ่านสารนิโคตินเข้าสู่ร่างกายในรูปแบบละอองฝอยโดยไม่ต้องมีการเผาไหม้หรือการลุกไหม้ ด้วยบรรจุภัณฑ์ที่สวยหรู ดึงดูดใจและทันสมัย ในรายงานได้มีการติดตามอย่างใกล้ชิด ถึงการได้รับสารนิโคตินของวัยรุ่นที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้า ผลคือ ทำให้เสพติดได้ง่ายดายและส่งผลทำลายสมองส่วนคิดชั้นสูงของวัยรุ่น และสารต่างๆ ยังมีผลต่อระบบทางเดินหายใจอีกด้วย การขายออนไลน์ การโฆษณาชวนเชื่อและมีโปรโมชั่นลดแลกแจกแถมผ่านทางเว็บไซต์ ด้วยรูปลักษณ์และองค์ประกอบและสร้างความยั่วยวนใจวัยรุ่นทำให้เกิดกระแสเป็นแฟชั่นวงกว้างในหมู่วัยรุ่นได้อย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้นเยาวชนควรต้องรู้เท่าทันกลยุทธ์ของบริษัทผู้ผลิต จึงขอฝากถึงภาครัฐและผู้ที่เกี่ยวข้องให้พิจารณาออกกฎหมายเพื่อบังคับใช้และปกป้องประชาชน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนซึ่งเป็นอนาคตของชาติ บริษัทยาสูบข้ามชาติ 4 บริษัทยักษ์ใหญ่ ได้ลงทุนทำธุรกิจบุหรี่ไฟฟ้า และทำการตลาดสร้างวาทกรรมว่า "บุหรี่ไฟฟ้าเป็นบุหรี่ที่มีอันตรายน้อย"

ผศ.ดร.ลักขณา เติมศิริกุลชัย ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านการควบคุมยาสูบ บริษัทยาสูบข้ามชาติ 4 บริษัทยักษ์ใหญ๋ ที่ลงทุนในธุรกิจบุหรี่ไฟฟ้า และทำการตลาดบุหรี่ไฟฟ้าในหลายประเทศ โดยสร้างวาทกรรมว่าเป็นบุหรี่ที่มีอันตรายน้อย มีการโฆษณาชวนเชื่อว่าบุหรี่ไฟฟ้าเป็นบุหรี่ทางเลือกที่ปลอดภัยกว่า และจัดเป็นผลิตภัณฑ์ช่วยเลิกบุหรี่ โดยมีองค์กรล็อบบี้ยิสต์ คือ Factasia.org และนักวิจัยตะวันตกหลายคนได้สนับสนุนให้มีการใช้บุหรี่ไฟฟ้า องค์การอนามัยโลกและรายงานของ The US Surgeon มีข้อมูลที่เหมือนกันว่า บุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้ปลอดภัยจากสารพิษ และมีอันตรายต่อสุขภาพไม่ต่างจากบุหรี่ซิกาแรตเลย ในเด็กและเยาวชนงานวิจัยจากมหาวิทยาลัย Southern California ยังพบอีกว่า วัยรุ่นที่ลองสูบบุหรี่ไฟฟ้า จะกลายเป็นผู้สูบบุหรี่ประจำในที่สุด 2557 หากมีการฝ่าฝืนจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับเป็นเงิน 5 เท่าของราคาสินค้า หรือทั้งจำทั้งปรับ รัฐบาลชุดปัจจุบัน มีนโยบายให้กระทรวงพาณิชย์ออกประกาศกำหนดให้ บารากู่ บารากู่ไฟฟ้า และบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม

พญ.ปานทิพย์ โชติเบญจมาภรณ์ ผู้อำนวยการสำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยถึง ผลสำรวจการบริโภคยาสูบของเยาวชนไทยล่าสุด อายุ 13-15 ปี ในปี 2558 พบว่า เยาวชนชายสูบบุหรี่ไฟฟ้าถึงร้อยละ 4.7 และเยาวชนหญิงสูบบุหรี่ไฟฟ้าถึงร้อยละ 1.9 ซึ่งมีแนวโน้มที่สูงขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับประกาศของรัฐบาล สำนักคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) จึงมีคำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ฉบับที่ 9/2558 ห้ามขาย และห้ามให้บริการบารากู่ บารากู่ไฟฟ้า บุหรี่ไฟฟ้าและตัวยาสำหรับเติมบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2558 นอกจากนี้ประเทศไทยซึ่งได้ร่วมลงนามในกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ (FCTC) ซึ่งเป็นกฎหมายโลก ได้ร่วมกันเรียกร้องให้ประเทศภาคี 180 ประเทศให้ความสำคัญและดำเนินการออกกฎเกณฑ์มาตรการเพื่อควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าโดยเร็ว

ดังนั้น คำกล่าวอ้างใดๆ ของบริษัทบุหรี่จึงเป็นเพียงการดิ้นอีกเฮือกของบริษัทบุหรี่ ที่ต้องการให้การค้ากำไรบนความตายของผู้บริโภคยังคงอยู่ต่อไปในสังคมไทย พวกเรามาร่วมกันภาวนาให้ ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่ ผ่านการพิจารณาของกรรมาธิการฯ และสนช. ในรัฐบาลชุดนี้เถิด เพื่อเยาวชนและลูกหลานไทยจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของบริษัทบุหรี่และยาเสพติดต่อไป

ข้อมูลโดย กองบรรณาธิการ

topic

  • วารสาร SMART อ่านได้บน Online
  • บุหรี่ไฟฟ้า...อันตรายมากกว่าที่คุณคิด
  • ร่วมกันทำ
  • เฝ้าระวังและเปิดโปงกลยุทธ์บริษัทบุหรี่ ในภูมิภาคอาเซียน
  • หนังดีมาก ที่สูบบุหรี่กันทั้งเรื่อง
  • ปัจจัยเสี่ยง ที่หลีกเลี่ยงได้
  • ชีวิตดีบางทีต้องมีแผน?
  • แรลลี่วัดนครนายกปลอดบุหรี่
  • กับดักบริษัทบุหรี่่
  • นักฆ่าบุหรี่ ไมค์ พิรัชต์ นิธิไพศาลกุล
  • ขึ้นภาษีบุหรี่ช่วยได้ 200 ล้านชีวิต
  • กำหนด 9 มาตรการ รร.ปลอดควันบุหรี่
  • สูบบุหรี่ในบ้านทำเด็กเสี่ยงติด
  • ภัยจากบุหรี่-มากกว่าที่เคยรู้
  • ภัยบุหรี่ยังเป็นต่อพลังรณรงค์ต่อต้าน 50ปีผ่านไปยอดคนป่วย-ตายยังสูงลิ่ว
  • ระวัง!9โรคใหม่จากการสูบบุหรี่
  • วิจัยชี้'บุหรี่'ต้นเหตุโรคมะเร็ง
  • เมื่อบริษัทบุหรี่ 'ปล้นกลางแดด'ประเทศลาว
  • ได้เวลา...บอกลาสิงห์อมควัน
  • ปิดตำนาน! “เอริก ลอว์สัน” นายแบบโฆษณาบุหรี่ดัง
  • ใต้ฟ้ากรุงเทพฯ : งดสูบบุหรี่
  • สร้างพลังเยาวชนอาสา
  • เลิกบุหรี่เถอะพ่อของขวัญปีใหม่เด็กน้อยอยากได้
  • โทรโข่งขยายข่าว : บุหรี่ยิ่งสูบยิ่งจน
  • งานวิจัยตีพิมพ์พบบุหรี่ยิ่งสูบ-ยิ่งจน ห่วงครอบครัวรายได้น้อย-สูญ 7.6 พันล้าน/ ปี
  • ภาพยนตร์ฝีมือเยาวชนสะกิดให้ฉุกคิดถึงภัยบุหรี่
  • ฟ้อง 'ฟิลลิปมอร์ริส' เลี่ยงภาษี 2 หมื่นล. ผิดโดนหนักปรับ 4 เท่า'แคลิฟอร์เนีย ว้าว'จุก ปปง. ไล่บี้อายัด 88 ล้าน
  • ข่าวสยองของท่านชาย!ผลวิจัยชี้...สูบบุหรี่เซ็กซ์เสื่อมแถมทำให้ "น้องชายหดสั้น"
  • สื่อศิลปะแบบปลอดบุหรี่
  • TUM แอปพลิเคชันใหม่เพื่อท้องถิ่นปลอดบุหรี่
  • กลิ่นปากเหม็นแก้ยังไง ...5 วิธีระงับกลิ่นปาก
  • กรมการแพทย์แนะป้องกันหลอดเลือดสมอง ออกกำลังกาย-งดบุหรี่ สุรา สามารถควบคุมได้
  • 8 กลุ่มเสี่ยง ที่อาจมีอาการรุนแรงหากติดโควิด-19
  • เตือนบุหรี่ต้นทางสู่ยาเสพติดชนิดอื่น
  • ศาลเนปาลยกฟ้อง บ.บุหรี่
  • การแถลงข่าว เรื่อง “บ้านเราปลอดบุหรี่ ลดความเสี่ยงการติดบุหรี่ของลูก” ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.)
  • ยาสูบคร่าชีวิตคนอเมริกา 20 ล้านคนในครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา
  • test
  • test
  • test
  • test
  • School Tour บ้านเด็กเล็กปลอดควันบุหรี่สัญจร
  • “เจาะลึก……เบื้องหลังบุหรี่ไฟฟ้าระบาดหนักในเด็กไทย”