เครือข่ายวิชาชีพแพทย์ในการควบคุมการบริโภคยาสูบ
เครือข่ายวิชาชีพแพทย์ในการควบคุมการบริโภคยาสูบ
เครือข่ายวิชาชีพแพทย์ในการควบคุมการบริโภคยาสูบ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วิทยาลัยแพทย ศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จัดการอบรมพัฒนาศักยภาพแกนนำรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ภายใต้โครงการมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีร่วมใจต้านภัยบุหรี่ และโครงการนำร่องจังหวัดอุบล ราชธานีปลอดบุหรี่ โดยได้รับเกียรติจากนายแพทย์วัฒนา พรรณพานิช รองคณบดีฝ่ายแผนและงบประมาณเป็นประธานเปิดการอบรม ที่วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข เมื่อเร็ว ๆ นี้
ปิดตำนาน! “เอริก ลอว์สัน” นายแบบโฆษณาบุหรี่ดัง “มาร์ลโบโร่” ตายอนาถ หลังป่วยเรื้อรังเพราะสูบหนักวันละ 3 ซอง
หนุ่มๆหลายคนหาทางออกให้กับความเครียดด้วยการสูบบุหรี่ จากเริ่มทีละมวน จนเพิ่มปริมาณมากขึ้นทุกวัน ซึ่งคุณอาจจะลืมคำนึงถึงว่าบุหรี่ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อรูปลักษณ์ภายนอกอย่างกลิ่นตัว ฟันเหลือง เล็บเหลืองเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสุขภายภายในที่ค่อยๆทำร้ายตัวคุณเองมากขึ้นทุกวันที่หยิบบุหรี่ขึ้นมาสูบ การคลายเครียดด้วยการสูบบุหรี่จึงไม่ใช่ทางออกของปัญหาที่แท้จริง เพราะฉะนั้น นี่ก็ปีใหม่แล้ว ลองมอบของขวัญดีๆให้กับตัวคุณและคนที่คุณรักด้วยการเลิกสูบบุหรี่กันดีมั้ย
นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เป็นเรื่องจริงที่เหลือเชื่อ ที่บริษัทบุหรี่เอารัดเอาเปรียบอย่างสุดสุดกับรัฐบาลประเทศลาว ข้อเท็จจริงคือ บริษัทบุหรี่ต่างชาติสองบริษัท หนึ่งคือบริษัท คอรัลมา อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศฝรั่งเศส และบริษัท เอส 3 ที แอลทีดีจากประเทศสิงคโปร์ ได้ทำสัญญากับรัฐบาลลาวเมื่อปี พ.ศ.2544 ในการร่วมลงทุนตั้งบริษัท ยาสูบลาว แอลทีดี เพื่อผลิตยาสูบจำหน่ายในลาว โดยรัฐบาลลาวถือหุ้น 47% บริษัทคอรัลมา 34% และบริษัทเอส 3 ที 19% อายุของสัญญาลงทุนนี้มีกำหนด 25 ปี โดยสิทธิประโยชน์ในการลงทุนคือ บริษัทยาสูบลาวแอลทีดีไม่ต้องเสียภาษีจากผลกำไรใน 5 ปีแรก และเสียภาษีสรรพสามิตยาสูบในอัตรา 15% ถ้าต้นทุนผลิตต่ำกว่า 1,500 กีบต่อซองที่บรรจุบุหรี่ 20 มวน แต่ถ้าต้นทุนสูงกว่า 1,500 กีบ ภาษีสรรพสามิตยาสูบจะเท่ากับ 30% ซึ่งต้นทุนการผลิตรวมถึงค่าใบยาสูบ วัสดุอื่นๆ และค่าใช้จ่ายในการผลิตรวมถึงแรงงานในการผลิตตลอดระยะเวลา 25 ปี ของสัญญาร่วมลงทุน
เมื่อวันที่ 24 มกราคม ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เปิดเผยว่า จากรายงานของนายแพทย์ใหญ่กระทรวงสาธารณสุขสหรัฐอเมริกา ปี 2557 รับรองว่ามีโรค จากการสูบบุหรี่หรือการได้รับควันบุหรี่ที่ผู้อื่นสูบเป็นสาเหตุสำคัญ ทั้งนี้ รายงานฉบับล่าสุดระบุโรคใหม่ๆ ที่มีหลักฐานชัดเจนว่าเกิดจากการสูบบุหรี่ ได้แก่ มะเร็งตับ และมะเร็งลำไส้ มีความเสี่ยงที่จะเกิดวัณโรคเพิ่มขึ้น มีโอกาสเสียชีวิตจากวัณโรคเพิ่มขึ้น และทำให้วัณโรคกลับเป็นใหม่มากขึ้น
รายงานของนายแพทย์ใหญ่กระทรวงสาธารณสุขสหรัฐอเมริกา พ.ศ.2557 ซึ่งเป็นฉบับล่าสุดรับรอง 9 โรคใหม่ที่เกิดจากการสูบบุหรี่
อเมริกันชนยามนี้ไม่เพียงจะต้องเผชิญกับความหนาวเหน็บจากคลื่นความเย็นที่เย็นยะเยือกสาหัสสากรรจ์เป็นประวัติการณ์เท่านั้น แต่กำลังตื่นตัวกับการย้อนรำลึกถึงคืนวันของการรณรงค์ต่อต้านการสูบบุหรี่ที่ผ่านกาลเวลามายาวนานถึง 50 ปี
ปีนี้มี 2 รายงานเกี่ยวกับบุหรี่ ที่น่าสนใจมาก ประชาชน ทั่วโลกน่าที่จะได้รับทราบ รายงานแรกมาจาก Marie Ng และคณะในวารสารทางการแพทย์ JAMA 2014 ; 311(2) : 183-192 เรื่อง "Smoking Prevalence and Cigarette Consumption in 187 Countries, 1980-2012 " ซึ่งพบว่าความชุกของการสูบบุหรี่ทั่วโลกแต่ละวันในประชาชนที่มีอายุเกิน 15 ปี ลดลงจาก 41.2% ใน ค.ศ.1980 เป็น 31.1% ใน ค.ศ.2012 สำหรับผู้ชาย และจาก 10.6% เป็น 6.2% สำหรับผู้หญิง แต่เนื่องจากมีการเพิ่มของประชากรโลก จำนวนผู้สูบบุหรี่ต่อวัน จึงเพิ่มจาก 721 ล้านคน ใน ค.ศ.1980 เป็น 967 ล้านคน ในปี ค.ศ.2012 (เพิ่มขึ้น 41% ในชาย และ 7% ในหญิง) หรือมีผู้สูบบุหรี่ประมาณ 1 ใน 7 ของประชากรทั้งโลก
บุปผา ศิริรัศมี หัวหน้าโครงการติดตามผลกระทบจากนโยบายควบคุมการบริโภคยาสูบ เปิดเผยข้อมูลการสำรวจพบว่า บ้านที่วัยรุ่นอาศัยอยู่มีกติกาห้ามสูบบุหรี่ในบ้านเพิ่มขึ้น จาก 27% ในปี 2548 เป็น68% ในปี 2554 ส่วนวัยรุ่นจากครอบครัวที่ห้ามสูบบุหรี่ในบ้านระบุว่าจะไม่สูบบุหรี่แน่นอนในอนาคต79% และอนาคตจะสูบแน่นอน 2%ส่วนวัยรุ่นจากครอบครัวที่บ้านไม่มีข้อห้ามในการสูบบุหรี่ในบ้านจะไม่สูบบุหรี่ในอนาคตเพียง 40% และสูบแน่นอน 9%
สาเหตุใหญ่ที่ทำให้เด็กและเยาวชนทดลองสูบบุหรี่จนเสพติด มาจากพฤติกรรมอยากทดลอง และคำชักชวนจากเพื่อนๆ เพราะอยากเท่และอยากให้ดูเป็นผู้ใหญ่ โดยหารู้ไม่ว่าหากเสพติดไปแล้วก็จะเป็นจุดเริ่มต้นพัฒนาให้ทดลองยาเสพติดอื่นๆ ที่รุนแรงกว่า รวมทั้งยังสร้างโรคภัยไข้เจ็บในอนาคต และสถานที่ซึ่งเป็นจุดบ่มให้เกิดพฤติกรรมเหล่านี้ได้ ก็ไม่พ้นโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษานั่นเอง
นักวิทยาศาสตร์ประกาศว่า ถ้าทุกชาติทั่วโลกพร้อมใจกันขึ้นภาษีสรรพสามิตของบุหรี่ จากอัตราปัจจุบันนี้อีก 3 เท่า จะสามารถช่วยผู้คนไม่ให้เป็นมะเร็งปอดตายก่อนวัยอันควร ภายในศตวรรษนี้ ได้มากถึง 200 ล้านชีวิต
สูดดมควันบุหรี่เสี่ยงอายุสั้น 7-10 ปี "โรคมะเร็งปอด" ถือเป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 1 ในโลกและในประเทศไทย โดยตัวการสำคัญอันดับหนึ่งของโรคนี้ก็หนีไม่พ้นการสูบบุหรี่ ซึ่งคนส่วนใหญ่แม้จะรู้โทษภัยของการสูบบุหรี่ว่าเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอด ในประเทศไทยก็ยังมีแนวโน้มของการสูบบุหรี่ขยายตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และพบว่าผู้ที่สูบบุหรี่จัด 1 ซองต่อวัน หรือผู้ที่สูดดมควันบุหรี่เข้าไปมากๆ จะเสี่ยงมีอายุสั้นกว่าคนปกติถึง 7-10 ปี อีกทั้งยังเสี่ยงที่จะเกิดโรคไข้หวัดใหญ่และโรคปอดเรื้อรังอื่นๆ แทรกซ้อนรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ศ.เกียรติคุณ น.พ.สว่าง แสงหิรัญวัฒนา ผู้อำนวยการศูนย์โรคปอด โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า อุบัติการณ์ของโรคมะเร็งปอดนั้นสามารถพบได้ทั้งชายและหญิง ไม่ว่าจะสูบบุหรี่หรือไม่สูบก็ตาม นอกจากนี้ ยังมีข้อสงสัยว่า มีผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดที่ไม่ได้สูบบุหรี่ และไม่มีประวัติคนในครอบครัวสูบบุหรี่อยู่ด้วย ซึ่งอาจจะได้รับควันบุหรี่จากการเดินผ่าน ซึ่งถือเป็นนักสูบมือ 3 นั่นเอง โดยผู้ป่วยมะเร็งปอดประมาณร้อยละ 85-90 จะมีประวัติสูบบุหรี่ ส่วนหนึ่งของผู้ป่วยจะไม่มีประวัติการสูบบุหรี่เลยโดยเฉพาะที่พบในผู้หญิง การสูบบุหรี่ 1 ซองต่อวัน 30 ปีจะเพิ่มโอกาสเป็นมะเร็ง 20-60 เท่าในผู้ชาย และ 14-20 เท่าในผู้หญิง การสูดควันบุหรี่จากบุคคลใกล้ชิดที่สูบก็เพิ่มความเสี่ยง แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณที่สูดเข้าไป โอกาสเสี่ยงต่อมะเร็งปอดจะลดลงหลังจากการหยุดบุหรี่ การศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า โอกาสเกิดโรคมะเร็งหลังจากหยุดบุหรี่ 5 ปี จะสูงกว่ากลุ่มไม่สูบบุหรี่ 16 เท่า หลังจากนั้นจะลดลงเหลือ 8 เท่าใน 5 ปีต่อมา และลดลงเหลือ 2 เท่าหลังหยุด 30 ปี ในอดีตผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดจะมาพบแพทย์ในระยะสุดท้ายของตัวโรค ซึ่งเป็นช่วงแสดงอาการจากการที่มะเร็งลุกลามไปยังอวัยวะต่างๆ อาการขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่มะเร็งลุกลามไป หากมะเร็งกระจายไปที่สมอง ผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงเฉพาะที่ อาการชัก สับสน เดินเซ มองภาพไม่ชัดหรือเห็นภาพซ้อน เป็นต้น "มีผู้ป่วยน้อยรายที่จะมาพบแพทย์ในช่วงระยะเริ่มแรกของโรค เพราะโรคมะเร็งปอดระยะเริ่มแรก ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่มีอาการใดๆ เลย อาจตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจสุขภาพประจำปี หรือจากการทำเอกซเรย์ทรวงอกเนื่องจากอาการของโรคอื่น ก้อนมะเร็งที่ยังมีขนาดเล็กอาจไม่กดเบียดส่วนที่สำคัญจึงไม่ปรากฏอาการจนกว่าก้อนจะมีขนาดใหญ่" ผู้อำนวยการศูนย์โรคปอด กล่าวว่า หากเป็นมะเร็งในระยะที่ 1-2 ถือเป็นระยะเริ่มแรก การผ่าตัด เป็นวิธีการรักษาที่ได้ผลดี ถ้าผู้ป่วยได้รับการตรวจพบมะเร็งตั้งแต่ก้อนมีขนาดเล็ก ไม่มีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง หรืออวัยวะอื่น ในผู้ป่วยที่มีสุขภาพพื้นฐานดี ระยะฟื้นตัวหลังผ่าตัดไม่แตกต่างจากการผ่าตัดปอดที่มีสาเหตุมาจากโรคอื่น รศ.นพ.ประเสริฐ เลิศสงวนสินชัย แพทย์รังสีรักษา โรงพยาบาลวัฒโนสถ เสริมว่า การรักษามะเร็งปอดปัจจุบันมีการรักษาหลักคือ การผ่าตัด, การฉายรังสี, การใช้เคมีบำบัดและ/หรือยามุ่งเป้า (targeted therapy), การรักษาแบบประคับประคองอาการ การจะเลือกใช้วิธีการรักษาใดนั้นขึ้นกับระยะของโรค สภาพร่างกาย และปัญหาทางอายุรกรรมของผู้ป่วย ส่วนใหญ่การรักษาผู้ป่วยมะเร็งปอดมักจะต้องใช้การรักษาแบบผสมผสานร่วมกันหลายวิธี เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีที่สุด และผู้ป่วยสามารถอยู่อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี ในที่นี้จะกล่าวถึงการใช้รังสีรักษาในผู้ป่วยมะเร็งปอด ว่ามีข้อบ่งชี้และความ ก้าวหน้าพัฒนาการด้านรังสีรักษา การรักษามะเร็งปอดระยะที่ 1 และระยะที่ 2 การรักษาหลักคือการผ่าตัด แต่ สำหรับในผู้ป่วยสูงอายุ หรือผู้ป่วยที่มีภาวะไม่เหมาะ สมต่อการทำผ่าตัดจะเลือกใช้การรักษาด้วยรังสี รักษา มะเร็งปอดในระยะที่ 3 ถ้าสามารถ ผ่าตัดได้จะใช้การผ่าตัด และตามด้วยการให้เคมีบำบัด และ/หรือร่วมกับการฉายรังสี สำหรับผู้ป่วยที่ผ่าตัดไม่ได้จะใช้วิธีการรักษาด้วยการฉายรังสีร่วมกับเคมีบำบัด มะเร็งปอดระยะที่ 4 คือ ระยะที่มีโรคแพร่กระจายไปอวัยวะอื่นแล้ว การรักษาหลักคือ การใช้เคมีบำบัด หรือยามุ่งเป้าร่วมกับการรักษาแบบประคับประคอง รังสีรักษาจะมีบทบาทช่วยบรรเทาอาการทุกข์ทรมาน เช่น อาการปวดจากมะเร็งแพร่กระจายไปที่กระดูก เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้น เทคนิคการฉายรังสีในผู้ป่วยมะเร็งปอด แต่เดิมการฉายรังสีมะเร็งปอดใช้วิธีการฉายรังสีแบบ 2 มิติ ซึ่งแม้ว่าจะสามารถควบคุมโรคได้ แต่มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงต่อเนื้อเยื่อ หรืออวัยวะปกติข้างเคียงสูง ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอาจไม่ดีมากนัก ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีของการสร้างภาพที่ก้าวหน้ามากขึ้น เช่น การใช้เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan), การใช้เพท-ซีทีสแกน (PETCT Scan) ทำให้สามารถบอกตำแหน่งรอยโรคได้ถูกต้องแม่นยำขึ้น สามารถสร้างภาพเป็นระบบ 3 มิติ ประกอบกับเครื่องมือฉายรังสีที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องใช้เทคโนโลยีชั้นสูง ร่วมกับพัฒนาการด้านการวางแผนการรักษาทางรังสีด้วยคอมพิวเตอร์ ทำให้ทำการรักษาด้วยรังสีเจาะจงเฉพาะตำแหน่งเป้าหมายที่ต้องการรักษา และหลีกเลี่ยงให้รังสีกระทบต่ออวัยวะปกติรอบข้างให้น้อยที่สุด แต่สำหรับผู้ป่วยมะเร็งปอดในระยะ 3-4 แพทย์จะรักษาด้วยการให้ยาเคมีบำบัดและ/หรือยามุ่งเป้า เป็นการรักษาโดยการให้ยาเพื่อทำลายหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ใช้ร่วมกับรังสีรักษาเพื่อควบคุมโรคให้ดีขึ้น หรือใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีโรคแพร่กระจายแล้ว สามารถเพิ่มระยะเวลาที่มีชีวิตและมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย อย่างไรก็ตาม ศ.เกียรติคุณ น.พ.สว่าง แนะว่า ปัจจุบันมีวิทยาการอันทันสมัยที่จะช่วยให้การรักษาได้ผลดีขึ้น หากตรวจพบว่าเป็นมะเร็งปอด อย่ามัวตกใจหรือเครียดจนกินไมได้นอนไม่หลับ เพราะมีแต่จะซ้ำเติมอาการให้แย่ลง ควรศึกษาหาข้อมูลและปรึกษาแพทย์ถึงแนวทางการรักษาที่เหมาะสม
สธ.แก้กม.คุม'บารากู่'เสี่ยงมะเร็ง-ดูดควันเท่าบุหรี่100มวน สาธารณสุข : โจ๋ฮิตสูบบารากู่เสี่ยงระดับคาร์บอนมอนนอกไซด์สูง พ่วงสารก่อมะเร็ง องค์การอนามัยโลกระบุสูดควันเท่าสูบบุหรี่ 100 มวน สธ.แก้ กม.ยาสูบเพิ่มควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบที่มีนิโคติน นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวถึงการรณรงค์โรค ถุงลมโป่งพองโลก (World COPD Day) ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 20 พ.ย.ว่า โรคถุงลมโป่งพองหรือโรคซีโอพีดี (COPD : Chronic Obstructive Pulmonary Disease) เกิดจากการสูดหายใจเอามลพิษ ในรูปของก๊าซหรือฝุ่น ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกระบุว่า มีผู้ป่วยทั่วโลกเป็นโรคนี้กว่า 80 ล้านคน เสียชีวิตปีละ 3 ล้านคน เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 4 รองจากโรคมะเร็ง โรคหัวใจขาดเลือด และโรคเส้นเลือดในสมอง คาดว่าในอีก 7 ปี หรือในปี 2563 จำนวน ผู้ป่วยจะเพิ่มอีกร้อยละ 30 "ที่น่าห่วงขณะนี้พบว่าวัยรุ่นไทยหันมาสูบบารากู่กันอย่างแพร่หลาย ส่วนใหญ่เข้าใจว่าไม่มีอันตรายหรือมีอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ซิกาแรต เนื่องจากเป็นการเผาไหม้กากผลไม้ ควันมีกลิ่นหอม และควันผ่านกระเปาะน้ำก่อนสูดเข้าสู่ร่าง-กาย แต่จริงๆแล้วข้อมูลขององค์การอนามัย โลกระบุว่า ควันที่ผ่านน้ำลงไปยังคงมีสาร พิษในระดับสูงทั้งคาร์บอนมอนอกไซด์ โลหะหนัก และสารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็ง การสูบบารากู่แต่ละครั้งมักจะใช้เวลาสูบนาน ผู้สูบอาจสูดควันมากกว่าผู้สูบบุหรี่ทั่วไปถึง 100 มวน" นพ.โสภณกล่าว นพ.โสภณกล่าวอีกว่า ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) อยู่ระหว่างแก้ไข พ.ร.บ.ควบคุมการบริโภคยาสูบฉบับ ใหม่ และเพิ่มการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ที่มีสารนิโคตินเป็นส่วนประกอบ โดยผ่าน ขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนแล้ว อยู่ระหว่างการปรับแก้ข้อความ ตามข้อคิดเห็นของประชาชน คาดว่าจะเสนอสภาผู้แทนราษฎรได้ในปี 2557
ไม่สูบบุหรี่ลดการกำเริบเด็กเป็นหืด
แจ้งจับบริษัทหลอกขายบุหรี่ปลอม
ทัพเรือภาคที่3สนธิกำลังร่วมศุลกากร!จับบุหรี่เถื่อนรายใหญ่ในทะเลอันดามัน
สธ.เผยไทยป่วยถุงลมปอดโป่งพอง กว่าร้อยละ90เกิดจากการสูบบุหรี่ นายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า โรคถุงลมปอดโป่งพองหรือโรคซีโอพีดี (COPD : Chronic Obstructive Pulmonary Disease) เกิดจากการสูดหายใจเอามลพิษในรูปของก๊าซหรือฝุ่น เช่น ควันบุหรี่ และควันจากการเผาไหม้เข้าไป สารพิษจากควันดังกล่าวจะไปทำลายระบบทางเดินหายใจ ทำให้เนื้อเยื่อปอดเสื่อมสภาพ เกิดอาการอักเสบ เป็นโรคที่มีความทุกข์ทรมานและรุนแรงมากที่สุด มักพบในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป เมื่อเป็นโรคแล้วจะรักษาไม่หายขาด มีอาการคือหายใจยากลำบาก หอบง่าย ไอเรื้อรัง มีเสมหะมาก องค์การอนามัยโลกระบุว่ามีผู้ป่วยทั่วโลกเป็นโรคนี้กว่า 80 ล้านคน เสียชีวิตปีละ 3 ล้านคน เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 4 รองจากโรคมะเร็ง โรคหัวใจขาดเลือด และโรคเส้นเลือดในสมอง คาดว่าในอีก 7 ปี หรือในปี 2563 จำนวนผู้ป่วยจะเพิ่มอีกร้อยละ 30 ส่วนประเทศไทย สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค รายงานมีผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และถุงลมปอดโป่งพองเข้ารับการรักษาที่ผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลทุกระดับของกระทรวงสาธารณสุข จาก 46 จังหวัด ระหว่างปี 2550-2554 จำนวนสะสม 99,433 คน สาเหตุร้อยละ 90 เกิดมาจากการสูบบุหรี่ และ ที่น่าสังเกตพบว่าผู้ป่วยมีอายุน้อยกว่า 40 ปี จำนวนเกือบ 5,000 คน จึงกล่าวได้ว่าผู้ที่สูบบุหรี่จะมีโอกาสเป็นโรคถุงลมโป่งพองได้ทุกคน ช้าหรือเร็วขึ้นกับจำนวน ระยะเวลาของการสูบบุหรี่ ในการแก้ไขและป้องกันปัญหาดังกล่าว กระทรวงสาธารณสุขมุ่งเน้นยุทธศาสตร์ 3 ลด 3 เพิ่ม ในปี 2555 ถึง 2557 โดย 3 ลดประกอบด้วย 1.ลดนักสูบรายใหม่ 2.ลดนักสูบรายเก่าในเขตชนบท โดยเฉพาะผู้สูบยาเส้น 3.ลดควันบุหรี่มือสองในที่ทำงาน ที่สาธารณะ และบ้าน ส่วน 3 เพิ่มได้แก่1.เพิ่มกลไกการป้องกันอุตสาหกรรมยาสูบแทรกแซงนโยบายควบคุมยาสูบของรัฐ 2.เพิ่มผู้ขับเคลื่อนการควบคุมยาสูบในระดับพื้นที่ จังหวัด และท้องถิ่น และ 3.เพิ่มนวัตกรรมการควบคุมยาสูบ นอกจากนี้ ยังมีศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ หมายเลข 1600