ควันบุหรี่มือสอง คร่าชีวิตคนไทยปีละกว่า 20,000 ราย งานวิจัยใหม่ยืนยันสูดควันบุหรี่มือสองเสี่ยงมะเร็งเต้านม



 

ควันบุหรี่มือสอง คร่าชีวิตคนไทยปีละกว่า 20,000 ราย
งานวิจัยใหม่ยืนยันสูดควันบุหรี่มือสองเสี่ยงมะเร็งเต้านม

     เมื่อ 5 พ.ย. 67 คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับมูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ และสำนักงานกองทุนสนนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ จัดเสวนาเรื่อง “ฆาตกรที่มองไม่เห็น: คนไทยตายปีละเท่าไรจากควันบุหรี่มือสอง” ที่โรงแรม VIC3 กรุงเทพฯ โดยมีการเปิดเผยข้อมูลสถานการณ์การได้รับควันบุหรี่มือสอง สถิติการเสียชีวิตจากควันบุหรี่มือสองในคนไทย และผลกระทบของควันบุหรี่ทั้งบุหรี่ธรรมดาและบุหรี่ไฟฟ้ามือสองต่อสุขภาพ

     รศ.พญ.เริงฤดี ปธานวนิช อาจารย์ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เผยว่า ควันบุหรี่มือสองเป็นภัยใกล้ตัวที่หลายคนอาจมองข้าม ทั้งที่เป็นปัญหาใหญ่เพราะปัจจุบันมีคนไทยจำนวนถึง 34 ล้านคนที่ไม่ได้สูบบุหรี่แต่ได้รับควันบุหรี่มือสองจากคนรอบตัวที่สูบบุหรี่ โดยเฉพาะที่บ้าน ซึ่งอัตราการได้รับควันบุหรี่มือสองของคนไทยเมื่อเทียบกับต่างประเทศแล้วอยู่ในระดับที่สูงมาก จากข้อมูลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 6 (พ.ศ.2562) พบคนไทยร้อยละ 70 ได้รับควันบุหรี่มือสอง ในขณะที่การสำรวจในปีเดียวของประเทศอังกฤษพบคนอังกฤษน้อยกว่าร้อยละ 30 นอกจากนี้พบว่า ผู้หญิงจะได้รับผลกระทบจากควันบุหรี่มือสองมากกว่าผู้ชาย โดยเมื่อเปรียบเทียบการได้รับควันบุหรี่มือสองที่บ้าน พบว่าผู้หญิงร้อยละ 68 ได้รับควันบุหรี่มือสองจากบ้าน ขณะที่ผู้ชายพบร้อยละ 47

     “เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ อีก 57 ประเทศ พบว่าผู้หญิงไทยอายุ 15-49 ปีได้รับควันบุหรี่มือสองสูงเป็นอันดับ 5 ของโลก ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง เพราะปัจจุบันมีหลักฐานงานวิจัยที่ยืนยันแล้วว่าการสูดควันบุหรี่มือสองเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมในผู้หญิงถึง 1.24 เท่า โดยความเสี่ยงจะเพิ่มตามปริมาณและระยะเวลาที่ได้รับควันบุหรี่มือสอง ซึ่งมะเร็งเต้านมก็เป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับหนึ่งของผู้หญิงไทย” รศ.พญ.เริงฤดี กล่าว

     ด้าน นายรักษพล สนิทยา นักวิจัยแผนงานพัฒนาดัชนีภาระโรคแห่งประเทศไทย มูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าในปี พ.ศ. 2562 คนไทยเสียชีวิตจากควันบุหรี่มือสองสูงถึง 20,668 ราย โดยพบโรคที่มีตัวเลขการเสียชีวิตมากที่สุดคือ โรคหลอดเลือดสมองที่พบสูงถึง 9,080 ราย (ร้อยละ 44) รองลงมาได้แก่ โรคหัวใจขาดเลือด 4,223 ราย (ร้อยละ 20) อันดับสามคือ มะเร็งปอดและหลอดลม 1,972 ราย (ร้อยละ 9) โดยที่เหลือเป็นโรคอื่น ๆ ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 2 โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง และมะเร็งเต้านม

     นายรักษพล สนิทยา กล่าวต่อว่า เมื่อคำนวณภาระโรคจากการได้รับควันบุหรี่มือสองของคนไทย โดยดูจากค่าการสูญเสียปีสุขภาวะ (DALY) หรือจำนวนปีที่เสียไปเพราะสุขภาพไม่ดี พิการ (YLD) และเสียชีวิตก่อนวัยอันควร (YLL) พบว่า การได้รับควันบุหรี่มือสองทำให้คนไทยสูญเสียปีสุขภาวะไปรวม 534,186 ปี ข้อมูลการศึกษาภาระโรคระดับโลก (Global Burden of Disease: GBD 2019) เปรียบเทียบการสูญเสียปีสุขภาวะทั่วโลก พบว่า ภาระโรคจากควันบุหรี่มือสองของไทยอยู่ในระดับที่สูงเมื่อเทียบกับหลายประเทศ เช่นออสเตรเลีย (117.1 ปีต่อแสนประชากร) ญี่ปุ่น (221.69 ปีต่อแสนประชากร) และอังกฤษ (154.48 ปีต่อแสนประชากร) เป็นต้น

     ศ.พญ.สุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์ รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบกล่าวว่า เด็กเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากควันบุหรี่มือสองมากกว่าผู้ใหญ่ ในประเทศไทยพบว่า เด็กอายุ 1- 5 ปี พักอยู่อาศัยในบ้านที่มีคนสูบบุหรี่สูงถึงร้อยละ 55 โดยในกรุงเทพมหานครพบมากที่สุดถึงร้อยละ 62 ซึ่งงานวิจัยในประเทศไทยที่ศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ หอบหืดและหลอดลมหรือปอดอักเสบพบว่า เด็กที่อาศัยในบ้านที่มีคนสูบบุหรี่เสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคระบบหายใจส่วนล่างสูงขึ้นถึง 4 เท่า นอกจากนี้มีการนำเส้นผมของเด็กที่พักอาศัยในบ้านที่มีการสูบบุหรี่มาตรวจ พบว่ามีปริมาณสารนิโคตินซึ่งเป็นสารพิษในบุหรี่สูงกว่าค่ามาตรฐาน

     ศ.พญ.สุวรรณา กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันมีการแพร่ระบาดของบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น แต่หลายคนยังเข้าใจผิดว่า ไอระเหยของบุหรี่ไฟฟ้าไม่มีอันตรายเพราะมีกลิ่นหอม และไม่มีควันจากการเผาไหม้ ซึ่งอันที่จริงแล้วอันตรายจากการได้รับควันมือสองจากบุหรี่ไฟฟ้าก็มีอันตรายต่อสุขภาพ โดยในไอระเหยของบุหรี่ไฟฟ้าประกอบไปด้วยสารนิโคติน PM2.5 โลหะหนัก และสารก่อมะเร็ง ดังนั้นบริเวณที่มีการสูบบุหรี่ไฟฟ้าจึงถือเป็นมลพิษทางอากาศที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งคนที่สูบและไม่ได้สูบ งานวิจัยในต่างประเทศระบุว่า การได้รับควันมือสองจากบุหรี่ไฟฟ้า เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะเพิ่มขึ้น 1.06 เท่า โรคหลอดลมอักเสบเพิ่มขึ้น 1.4 เท่า ภาวะหายใจลำบากเพิ่มขึ้น 1.53 เท่า โรคหอบหืดที่ควบคุมไม่ได้เพิ่มขึ้น 1.88 เท่า และภาวะเจ็บป่วยทางจิตเพิ่มขึ้น 1.43 เท่า

     ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบแห่งชาติ กล่าวสรุปว่า ผลกระทบจากควันบุหรี่มือสองทั้งบุหรี่ธรรมดาและบุหรี่ไฟฟ้าต่อผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ เห็นผลได้ภายในระยะเวลาสั้น ๆ ทั้งต่อระบบหายใจและหัวใจ เช่น เกิดการระคายเคืองและความเสียหายของเยื่อบุทางเดินหายใจ นำไปสู่อาการหืดจับและมีอาการรุนแรงในคนที่เป็นโรคหืดอยู่แล้ว หลอดเลือดเปราะบาง ยืดหยุ่นไม่ดี ทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจช้า มีโอกาสเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน

     “แม้ว่าประเทศไทยจะมีกฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ แต่การบังคับใช้กฎหมายของเรายังทำได้ไม่ดี โดยคะแนนที่องค์การอนามัยโลกประเมินเราอยู่ที่ 6 จากคะแนนเต็ม 10 โดยเฉพาะปัจจุบันที่มีการแพร่ระบาดของบุหรี่ไฟฟ้า และมีการนำมาสูบในที่สาธารณะหรือออกสื่อทั้งที่ผิดกฎหมาย จึงอยากสื่อสารให้รัฐบาลเอาจริงกับเรื่องนี้ เพราะมีบทเรียนจากต่างประเทศแล้วว่าประเทศที่บังคับใช้กฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะอย่างจริงจัง สามารถลดความเสี่ยงต่อการได้รับควันบุหรี่มือสองในคนไม่สูบลงได้ ลดความเสี่ยงของประชากรโดยเฉพาะเด็กต่ออันตรายจากควันบุหรี่”

 

 

topic

  • อดีตแพทย์ชนบทค้านรื้อ กม. สสส.
  • แม่สูบบุหรี่-กินเหล้า ลูกเสี่ยงปากแหว่งฯ
  • มหาสารคามร่วมมือ สสส.จับมือดึงนักศึกษาเลิกบุหรี่เพื่อคนที่คุณรัก เพื่อสุขภาพฉลอง 150 ปี สู่ประชาคมอาเซียน
  • คณะสงฆ์มหาสารคาม รณรงค์เมืองปลอดบุหรี่
  • บทพิสูจน์
  • ชี้แก้ พ.ร.บ. สสส. ไม่ตอบโจทย์ปัญหานักวิชาการแนะยกเครื่องปรับระเบียบ
  • มอบใบประกาศเชิดชูเกียรติปวารณา งดเหล้า/บุหรี่ ครบพรรษา
  • ลดเหล้า-บุหรี่ หนีต้อเนื้อ
  • ตำบลปลอดบุหรี่
  • ภาคีบุหรี่หนุนกม.ยาเสพติด
  • คดีฟิลลิปมอร์ริสกับอธิปไตยของชาติ
  • สั่งร.ร.ปลอด'เหล้า-บุหรี่'
  • คณะสงฆ์รณรงค์ปลอดบุหรี่
  • สสส. หนุน โคราชโมเดล "ปลอดบุหรี่โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน" โชว์นวัตกรรมดีเด่น ช่วยคนเลิกบุหรี่
  • สบส. ขยายเวลาโครงการ "1 อสม. ขอ 1 คนเลิกบุหรี่" ตลอดปี 59 คาดลดนักสูบหน้าใหม่ ร้อยละ 80
  • 'ฮู'หนุนกม.ยาสูบฉบับใหม่ห่วง'บ.ข้ามชาติ'แทรกแซง
  • อช.เขาพนมเบญจา ทำบันทึกข้อตกลง MoU ปลอดบุหรี่ สู่ทิศทางท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพปลอดบุหรี่ วิถี New Normal
  • GenZ โคราช เรียนรู้กฎหมายควบคุมยาสูบ เพิ่มทักษะการปล่อยของ
  • อบรมพัฒนาศักยภาพแกนนำ Gen Z อุบลฯ จากรุ่น สู่รุ่น
  • มาทำความรู้จักกับโรคปอดรั่ว
  • รองโฆษกรัฐบาลห่วงเด็กไทยติดบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น หนุนคนรุ่นใหม่ไม่สูบบุหรี่-บุหรี่ไฟฟ้า
  • สร้างสื่อการเรียนรู้ สำหรับเด็กประถมวัย 22-23 พ.ย.2565
  • มาทำความรู้จักกับโรคปอดรั่ว
  • อช.เขาพนมเบญจา ทำบันทึกข้อตกลง MoU ปลอดบุหรี่ สู่ทิศทางท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพปลอดบุหรี่ วิถี New Normal
  • ชายหาดบางแสน เป็นพืิ้นที่ท่องเที่ยวต้นแบบ ที่ปลอดภัยด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
  • “ชงรัฐบาล” เร่งปราบเว็บไซต์พนันออนไลน์และเว็บไซต์จำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า
  • เกาหลีเหนือ ผ่านกฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในสถานที่สาธารณะ
  • อันตรายของบุหรี่ต่อร่างกายของผู้หญิง เพิ่มความเสี่ยงโรคมากมาย
  • คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ในอาคารชุด
  • "เลิกเพื่อลูก" ต๊ะ BoyScout กับเส้นทางสูบบุหรี่ 30 ปี
  • อบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรโรงเรียนพระปริยัติธรรมปลอดบุหรี่
  • มอบโล่ ชู นวัตกรรมดีเด่น เพื่อป้องกันนักเรียนติดบุหรี่ เครือข่ายครูเพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่ 4 ภาค 81 โรง
  • กฎหมายห้ามสูบบุหรี่ ลดการอยู่โรงพยาบาลของเด็กที่เป็นหืด
  • อินโดนีเซียเข้าร่วมสัญญาควบคุมยาสูบ
  • สพฐ.จับมือเครือข่ายครู และกระทรวงสาธารณสุข ขยายผลสร้างโรงเรียนปลอดบุหรี่ทั่วประเทศ
  • มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ จัดเวทีสรุปบทเรียน เนื่องในโอกาสก้าวสู่ปีที่ 38 ของการควบคุมการบริโภคยาสูบไทย
  • ควันบุหรี่มือสอง คร่าชีวิตคนไทยปีละกว่า 20,000 ราย งานวิจัยใหม่ยืนยันสูดควันบุหรี่มือสองเสี่ยงมะเร็งเต้านม
  • แกนนำเครือข่ายเยาวชน 9 องค์กร เรียกร้องรัฐบาลให้บุหรี่ไฟฟ้ายังคงเป็นสิ่งผิดกฎหมาย เพื่อปกป้องเด็กและเยาวชนไทยจากบุหรี่ไฟฟ้า
  • สื่อในสังกัดสำนักประชาสัมพันธ์ภาคใต้เขต 5 และ 6 ขานรับนโยบาย กรมประชาสัมพันธ์ ร่วมสื่อสารข้อมูล เพื่อปกป้องเด็กและเยาวชนจากบุหรี่ไฟฟ้า
  • บทเรียน ยกเลิกการห้ามขายและประเทศที่ให้ขายได้แต่ควบคุมมาตรฐานบุหรี่ไฟฟ้า และการแทรกแซงนโยบายควบคุมยาสูบโดยบริษัทบุหรี่