ศูนย์ข่าวปลอดควัน :
ข่าวสื่อมวลชน (Press Release)
“หมอประกิต” เผย สถิติสูบบุหรี่ในกลุ่มพระสงฆ์ยังสูง สูบลดลงน้อยสุดหากเทียบครู-แพทย์ “มจร.-สสส.-คลินิกฟ้าใส-มูลนิธิรณรงค์ไม่สูบบุหรี่” เดินหน้า 3 แนวทางรณรงค์ลด ละ เลิก วอนชาวพุทธ หยุดถวายบุหรี่ ดีเดย์เข้าพรรษานี้
ดร.ศรัณญา เบญจกุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยการสำรวจสถานการณ์ การบริโภค ยาสูบของคนไทยที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2534 – 2554) พบว่าอัตราการสูบ ลดลงจากร้อยละ 32.0 เหลือร้อยละ 21.4 โดยจำนวนผู้สูบบุหรี่รวมลดลงจาก 12.26 ล้านคน เป็น 11.51 ล้านคน แต่ในรอบ 5 ปีสุดท้าย (พ.ศ.2549 – 2554) ผลการสำรวจกลับพบการเปลี่ยนแปลงมีแนวโน้มลดลงช้ากว่าช่วงแรก โดยลดจากร้อยละ 21.9 ในปี 2549 เป็นร้อยละ 21.4 ในปี 2554
ดร.ศรัณญา เบญจกุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยการสำรวจสถานการณ์ การบริโภค ยาสูบของคนไทยที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2534 – 2554) พบว่าอัตราการสูบ ลดลงจากร้อยละ 32.0 เหลือร้อยละ 21.4 โดยจำนวนผู้สูบบุหรี่รวมลดลงจาก 12.26 ล้านคน เป็น 11.51 ล้านคน แต่ในรอบ 5 ปีสุดท้าย (พ.ศ.2549 – 2554) ผลการสำรวจกลับพบการเปลี่ยนแปลงมีแนวโน้มลดลงช้ากว่าช่วงแรก โดยลดจากร้อยละ 21.9 ในปี 2549 เป็นร้อยละ 21.4 ในปี 2554
กระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าว ประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2556 ว่าด้วยการบังคับให้พิมพ์ภาพคำเตือนขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ใช้พื้นที่ร้อยละ 85 บนซองบุหรี่ จำนวน 10 ภาพ ฉบับพิพาทกับบริษัทบุหรี่ข้ามชาติ ทั่วโลกจับตา มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป หลังศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งยกเลิกทุเลาการบังคับของศาลปกครองชั้นต้น ระบุ สธ.ทำถูกต้องทุกขั้นตอน ยึดการปกป้องสุขภาพประชาชนเป็นสำคัญ ส่งผลให้บุหรี่ทุกยี่ห้อที่นำเข้าไทย ต้องปฏิบัติตามกฎหมายฉบับนี้ตั้งแต่วันที่ 29 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นไป และให้ผู้ประกอบการเก็บบุหรี่รุ่นเก่าออกจากท้องตลาดให้หมดภายใน 23 ก.ย.57
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เรียกร้องในวันต่อต้านยาเสพติดโลก ให้ทุกฝ่ายในสังคมร่วมกันป้องกันเด็ก ๆ ไม่ให้ติดบุหรี่เพราะการเสพติดบุหรี่เป็นบันไดขั้นแรกที่นำไปสู่การติดยาเสพติดอื่น ๆ
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เปิดเผยข่าวที่รัฐบาลสิงคโปร์ไม่อนุญาตให้จัดงานแสดงสินค้ายาสูบโลกเอเชีย (World Tobacco Asia 2014) ที่สมาคมผู้ค้ายาสูบโลกเตรียมจัดให้มีขึ้นระหว่างวันที่ 12-14 พฤศจิกายนนี้ ที่โรงแรมมาริน่าเบย์สิงคโปร์ โดยแถลงการณ์ของผู้จัดการประชุมระบุว่า “กลายเป็นเรื่องยากมากที่จะจัดงานแสดงสินค้ายาสูบโลกในเอเชีย เพราะเราไม่สามารถให้ความแน่ใจผู้ที่จะเข้าร่วมการแสดงสินค้าว่าการจัดงานจะไม่ถูกขัดขวางด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายเพราะตลาดมีความต้องการที่จะให้มีการจัดอีเว้นท์ยาสูบขึ้นในเอเชีย เราจะพยายามหาสถานที่จัดที่จะไม่ถูกแทรกแซงให้ยกเลิกโดยรัฐบาล” ทั้งนี้การจัดงานแสดงสินค้ายาสูบโลกเอเชียสำหรับปีนี้ แต่เดิมกำหนดจะจัดที่บาหลี อินโดนีเซีย เดือนกุมภาพันธ์ แต่ได้รับการประท้วงจากฝ่ายต่าง ๆ จนนายกเทศมนตรีบาหลีประกาศยกเลิกการแสดงสินค้าดังกล่าว บริษัทบุหรี่จึงพยายามที่จะจัดที่สิงคโปร์แทน โดยให้เหตุผลว่าการจัดงานเอ็กซ์โปในสิงคโปร์ไม่ต้องมีการขอใบอนุญาตเชื่อว่าจะไม่ถูกแทรกแซงโดยท้องที่ที่จะจัดงาน แต่ก็ถูกปฏิเสธจากรัฐบาลสิงคโปร์ในที่สุด
วันนี้ (16 พฤษภาคม 2557) มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ จัดการแถลงข่าว เรื่อง “บุหรี่: ภาษียิ่งเพิ่ม คนตายยิ่งลด” เพื่อชูประเด็นและให้เกิดกระแสของการรณรงค์อย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น เนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลก 31 พฤษภาคม 2557 ที่จะถึงนี้
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ชี้การที่บริษัทฟิลลิป มอร์ริส ขึ้นราคาบุหรี่จะทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นปีละ ห้าร้อยล้านบาท ในขณะที่พยายามคัดค้านการขึ้นภาษีสรรพสามิต โดยบริษัทฟิลลิป มอร์ริสได้ประกาศขึ้นราคาบุหรี่ L&M จากซองละ 66 เป็น 67 บาท และ Marlboro จากซองละ 90 เป็น 92 บาท ซึ่งจากยอดจำหน่ายของบุหรี่สองยี่ห้อนี้ในประเทศไทยสี่ร้อยล้านซองต่อปี จะทำให้ฟิลลิป มอร์ริสประเทศไทยมีกำไรเพิ่มขึ้นอย่างน้อยห้าร้อยล้านบาทต่อปี เพิ่มเติมจากกำไรเดิมสองพันเก้าร้อยล้านบาทเป็นอย่างต่ำ ที่ประเมินอย่างไม่เป็นทางการโดยนักวิชาการไทยร่วมกับนักวิชาการองค์การอนามัยโลก ตามยอดจำหน่ายบุหรี่ของบริษัทฟิลลิป มอร์ริส ในประเทศไทย พ.ศ.2555
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เปิดเผยผลการศึกษาของโกลบอล ฮาร์ท ที่ทำการวิเคราะห์สาเหตุการเสียชีวิตของประชากรโลกหรือที่เรียกว่าภาระโรคของโลก (จีบีดี) พบว่าโรคลมปัจจุบันที่เกิดจากเส้นเลือดสมองตีบเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต 3 ล้านคนในปี พ.ศ.2553 จากจำนวนผู้ป่วยโรคเส้นเลือดสมอง 11.5 ล้านคนในปีเดียวกัน โดยร้อยละ 57 ของคนที่ป่วยด้วยโรคนี้อยู่ในประเทศรายได้ต่ำและปานกลาง และร้อยละ 50 ของผู้ป่วยโรคเส้นเลือดสมองทั้งหมดอยู่ในประเทศจีน อินเดีย และรัสเซีย โดยการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของโรคเส้นเลือดสมองตีบร้อยละ 29 ในประเทศจีน ร้อยละ 12 ในรัสเซีย และร้อยละ 11 ในอินเดีย ที่สำคัญคือสถิติโรคเส้นเลือดสมองตีบมีแนวโน้มลดลงในสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ที่มีอัตราการสูบบุหรี่ลดลง แต่เพิ่มขึ้นในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง จากการที่สถิติการสูบบุหรี่ของประเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับสูงและประชากรที่สูบบุหรี่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ซึ่งหากลดอัตราการสูบบุหรี่ลงได้แม้เพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ จะสามารถลดคนที่จะป่วยและเสียชีวิตจากโรคนี้ได้เป็นจำนวนมาก
มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เปิดเผยรายงานการวิจัยโดย เซอร์ริชาร์ด ปีโต จากมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ดว่า หากมีการขึ้นภาษียาสูบอีก 3 เท่าตัวทั่วโลก จะลดคนที่จะตายจากการสูบบุหรี่ได้กว่า 200 ล้านคน โดยการขึ้นภาษีดังกล่าวต้องเก็บภาษีตามสภาพน้ำหนักหรือต่อมวนบุหรี่ ที่จะทำให้บุหรี่ชนิดราคาถูกมีราคาเพิ่มขึ้นด้วย เพื่อป้องกันการหันไปสูบบุหรี่ราคาถูกเมื่อมีการขึ้นภาษี ทั้งนี้หากขึ้นภาษียาสูบไปสามเท่า จะลดการสูบบุหรี่ทั้งโลกได้หนึ่งในสาม ในขณะที่แม้การขึ้นภาษีสามเท่าจะทำให้การสูบบุหรี่ลดลง แต่รัฐบาลทั่วโลกจะเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้นจาก 300 พันล้านดอลลาร์ เป็น 400 พันล้านดอลลาร์ต่อปี หรือเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งในสาม เซอร์ริชาร์ด ปีโต เปิดเผยต่อไปว่า บริษัทบุหรี่ข้ามชาติมีกำไรสุทธิ 50,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี สำหรับคนสูบบุหรี่ที่เสียชีวิตปีละ 5 ล้านคน เท่ากับว่าบริษัทบุหรี่มีกำไร 10,000 ดอลลาร์ (320,000 บาท) ต่อทุกคนสูบบุหรี่ที่เสียชีวิต
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ขอให้โรงงานยาสูบและบริษัทฟิลลิป มอร์ริส อธิบายการเสียชีวิตของคนไทย 24,006 คนต่อปีจากการสูบบุหรี่ของสองบริษัทนี้ โดยการวิเคราะห์จากคนไทยที่สูบบุหรี่ ประมาณครึ่งหนึ่งสูบบุหรี่ซิกาแรตที่ผลิตจากโรงงาน ที่เหลือสูบบุหรี่ยาเส้น หากคำนวณจำนวนคนไทยที่เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ 50,710 คนต่อปี ดังนั้น กล่าวได้ว่า คนไทยเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ซิกาแรตที่ผลิตจากโรงงาน 25,355 คนต่อปี โรงงานยาสูบมีส่วนแบ่งตลาด 70% บริษัทฟิลลิป มอร์ริส 25% ที่เหลือเป็นบุหรี่ของบริษัทอื่น ๆ
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เปิดเผยว่าตามที่นายอมาล พูสป์ ผู้แทนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภาคีอนุสัญญาควบคุมยาสูบ องค์การอนามัยโลก สอบถามความเห็นถึงตนกรณีที่อินเตอร์โพล (ตำรวจสากล) ยื่นข้อจำนงขอสมัครเข้าเป็นองค์กรผู้เข้าร่วมประชุม ในที่ประชุมใหญ่ภาคีอนุสัญญาควบคุมยาสูบ ที่จะมีขึ้นเดือนตุลาคมนี้ที่มอสโค ประเทศรัสเซีย ซึ่งมีวาระเกี่ยวกับพิธีสารเพื่อขจัดยาสูบที่ผิดกฎหมาย ตนได้เสนอให้กำหนดเงื่อนไขให้อินเตอร์โพลรับรองว่า จะไม่รับทุนสนับสนุนการดำเนินงานจากบริษัทบุหรี่อีกต่อไป หากต้องการได้รับสถานะเป็นองค์กรผู้เข้าร่วมประชุมรัฐภาคี
ศ.เกียรติคุณ นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เชิญชวนทุกฝ่ายร่วมลงชื่อสนับสนุนจดหมายเปิดผนึกเพื่อยับยั้งแคมเปญ “Be Marlboro” ที่ท้าทายให้เยาวชนสูบบุหรี่มาร์ลโบโร
เผยวัยรุ่นติดบุหรี่เพราะสมองพัฒนายังไม่เต็มที่
ชวนคนเหนือเลิกบุหรี่
เพื่อลดอันตรายช่วงหมอกควันไฟป่า
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เสนอในวันสิทธิผู้บริโภคสากล วันที่ 15 มีนาคม ว่า ให้ครอบครัวผู้ที่ป่วยและเสียชีวิตจากการใช้สินค้ายาสูบ ใช้สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและเรียกค่าชดเชยความเสียหาย โดยการฟ้องบริษัทบุหรี่ ซึ่งนอกจากจะสอดคล้องกับสิทธิผู้บริโภคสากลแล้ว ยังสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 61 ด้วย และหากพิจารณาจากสิทธิผู้บริโภคสากล ยาสูบน่าจะถูกจัดเป็นสินค้าที่ผิดกฎหมาย โดยยาสูบขัดกับสิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้า จากการที่ยาสูบทำให้ครึ่งหนึ่งของผู้สูบบุหรี่ในระยะยาวเสียชีวิตจากโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่
มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ จับมือสื่อมวลชนภาคเหนือร่วมรณรงค์ติดสติ๊กเกอร์เขตปลอดบุหรี่
ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.)
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เชิญชวนผู้สูบบุหรี่ไม่สูบบุหรี่ในรถขณะที่ลูกนั่งอยู่ด้วย เพื่อมอบความรักให้แก่ครอบครัวในวันวาเลนไทน์ โดยจากหลักฐานงานวิจัยจากประเทศต่าง ๆ พบว่า หากมีการสูบบุหรี่ในรถ ระดับควันบุหรี่ในรถจะสูงกว่าระดับควันบุหรี่ในบ้านที่มีการสูบบุหรี่ถึงสิบเท่า ซึ่งเป็นระดับควันบุหรี่ มือสองที่สูงที่สุดที่เด็กจะมีโอกาสได้รับและเด็กไม่มีทางหนี เนื่องจากพื้นที่ภายในรถมีขนาดเล็กและอากาศหมุนเวียนอยู่ในที่แคบ ๆ ระดับสารพิษจากควันบุหรี่ที่สูงมากจะเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อเด็กที่นั่งอยู่ในรถ และแม้ผู้สูบบุหรี่บางคนจะเปิดกระจกสูบบุหรี่ในรถก็ลดระดับสารพิษลงไม่ได้หมด
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เตือนหญิงไทยวัยมีบุตรทุกคน โดยเฉพาะวัยรุ่นหญิงอายุระหว่าง 15 ถึง 24 ปี หกหมื่นคนที่สูบบุหรี่ให้เลิกสูบบุหรี่ เพราะหากยิ่งสูบนานจะยิ่งเลิกยาก โดยแม้ว่าจะตั้งครรภ์หญิงที่สูบบุหรี่จำนวนมากก็ไม่สามารถที่จะเลิกสูบได้ ซึ่งรายงานล่าสุด ยืนยันว่าการสูบบุหรี่ของแม่ระหว่างตั้งครรภ์เป็นสาเหตุของเด็กที่เกิดมาพิการแต่กำเนิดโดยมีริมฝีปากและเพดานปากแหว่ง